เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก บอกอะไรเกี่ยวกับเราบ้าง?
.
เคยสงสัยกันไหมว่า...เจ้าชุดตัวเลข 13 ตัวบนบัตรประชาชนที่ติดตัวเราทุกคนมาตั้งแต่เกิด เลขที่จำขึ้นใจ เพราะต้องใช้ติดต่องาน ติดต่อราชการ สมัครสอบ กรอกเอกสารมาตลอดชีวิต
.
ทำไมถึงต้องเป็นเลขนี้ แล้วเลข 13 ตัวนี้ บอกอะไรเกี่ยวกับเราบ้าง? วันนี้ mangozero จะมาไขรหัสเลขประจำตัวประชาชนนี้มาให้ดูกัน...
.
ก่อนอื่นขอพูดถึงที่มาของเลขประจำตัวบัตรประชาชน 13 หลักนี้ เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 โดยกรมการปกครอง หน่วยงานผู้รับผิดชอบทะเบียนราษฎร
.
ประกาศกำหนดให้บุคคลภายในประเทศไทย ต้องมีเลขประจำตัวประชาชน ปรากฏในทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนด้วยกัน 13 หลัก โดยแต่ละหลัก มีความหมายแตกต่างกันไป โดยแต่ละหลักมีความหมายดังนี้
.
📝 หลักที่ 1 : ประเภทของบุคคล แบ่งเป็นเลขดังนี้
#เลข1 = คนไทย/สัญชาติไทย แจ้งเกิดใน 15 วัน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2527 เป็นต้นไป)
#เลข2 = คนไทย/สัญชาติไทย แจ้งเกิดเกินกำหนด 15 วัน (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2527 เป็นต้นไป)
#เลข3 = คนไทย/ต่างด้าว ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่สมัยเริ่มแรก (ระหว่าง 1 ม.ค. - 31 พ.ค. 2527)
#เลข4 = คนไทย/ต่างด้าว ที่ย้ายเข้าในทะเบียนบ้านโดยยังไม่มีเลขบัตรปชช. ในสมัยเริ่มแรก (ระหว่าง 1 ม.ค. - 31 พ.ค. 2527)
.
#เลข5 = คนไทย/ต่างด้าว ที่ได้อนุมัติให้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ในกรณีตกสำรวจหรืออื่นๆ
#เลข6 = ต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น ชาวต่างชาติแต่งงานกับคนไทย และ ต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย แต่อนุมัติให้อยู่ได้ เช่น ชนกลุ่มน้อยชายแดน-ชาวเขา
#เลข7 = บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ที่เกิดในไทย
#เลข8 = ต่างด้าวที่ได้รับสัญชาติไทย
.
#เลข0 = ผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
#เลข00 = แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียน (ตั้งแต่พ.ศ. 2547)