12 มี.ค. 2020 เวลา 04:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"ฝนเหล็ก” Iron Rain มีจริง ☔
เก็บภาพได้ครั้งแรกจากดาวเคราะห์ราศีมีน “WASP-76b” เผยแพร่ครั้งแรก 11 มีนาคม 2020
คุณเคยคิดไหมคะ ว่าจะมีโอกาสเห็นฝนที่ตกเป็น “เหล็ก”???
ปรากฏการณ์ “ฝนเหล็ก” หรือ Iron Rain
ไม่ใช่สิ่งที่เกิดบนดาวโลกของเรานะคะ
แต่เป็นสิ่งที่เพิ่งถ่ายภาพได้บนดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
และเผยแพร่ทั่วโลกเมื่อวานนี้ค่ะ
(วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2020)
บนดาว “WASP-76b” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่ดวงหนึ่งในกลุ่มดาวราศีมีน ที่ถูกห้อมล้อมด้วยกลุ่มแก๊สปริมาณมาก
และเป็นดาวเคราะห์ที่ขนาดใหญ่มาก คือ ขนาดเส้นรอบวงเป็น 2 เท่าของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เลยค่ะ
“WASP-76b” โคจรหมุนรอบดาวดวงอื่น
(เหมือนที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 1 ปีหรือ 365 วัน)
แต่ ดาวที่ “WASP-76b” หมุนรอบมีอุณหภูมิร้อนแรงกว่า
และตำแหน่งอยู่ในระยะใกล้กว่า
จึงทำให้ความร้อนบนดาว “WASP-76b” พุ่งสูงมากตามไปด้วย
คือ ในช่วงกลางวัน อุณหภูมิจะสูงราว 2,400 องศาเซลเซียส หรือ 4,350 องศาฟาเรนไฮน์
(แค่ตัวเราอุณหภูมิ 39 องศา 40 นี่คือถึงเป็นไข้สูงแล้วนะคะ และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราในห้องแอร์ 25-26 องศา ยังรู้สึกร้อนเลย!!!)😅
ถ้าพวกเราไปอยู่บนดาว “WASP-76b” นี้ คงละลายแน่นอน
แต่ “การหลอมละลาย” นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับสิ่งมีชีวิต (หากถูกจับวางบนดาวนี้) เท่านั้นนะคะ
แม้แต่โลหะหนักอย่าง “ธาตุเหล็ก”
ที่อยู่บนผิวของดาว “WASP-76b” ก็ยังหลอมละลาย🔥
แปรสภาพจากของแข็งกลายเป็นไอ💢
ขึ้นไปอยู่ข้างบนในบรรยากาศของดาวดวงนี้ค่ะ
แล้วเกี่ยวอย่างไรกับ “ฝนเหล็ก”❓❓❓
.
.
ก็ในช่วงที่ดาว “WASP-76b” หันอีกด้านออกในขณะหมุนรอบวงโคจร 🌎
จะมีด้านที่ได้รับพลังงานความร้อนน้อยลง อุณหภูมิก็จะลดลง
ประจวบกับมีกระแสลมแรงในช่วงเวลานี้
ซึ่งนับว่าเป็นการข้ามผ่านจากกลางวันไปกลางคืน
โดยลมที่ว่า มีความแรงสูงมากกว่า 11,000 mph (ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือ 18,000 kph (กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
[1 ไมล์ เท่ากับ 1.60934 กิโลเมตร]
ซึ่งพลานุภาพแรงกว่าพายุเฮอร์ริเคน ที่กระแสลมหมุนแรงจัด 200 ไมล์ต่อชั่วโมง ถึง 55 เท่า 🌀🌀
ด้วยปัจจัยที่ประจวบเหมาะ
จึงทำให้ “ไอเหล็ก” เกิดการควบตัว⚡
กลายเป็นของเหลว หรือ “ฝน” ตกลงมาที่พื้นค่ะ
จึงเป็นที่มาของภาพในคลิปนี้
ซึ่งเก็บได้จากกล้องโทรทรรศน์พิเศษ VLT (Very Large Teloscope)
ที่ถ่ายจากสถานีในทะเลทรายของประเทศชิลี (Chile) ค่ะ
วิทยาการที่ก้าวไกลเผยให้เราได้ชมสิ่งพิเศษบนดาวเคราะห์สุดร้อนแรง
ที่อยู่ห่างจากโลก 390 ปีแสง (เทียบกับระยะทางที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่ 150 ปีแสง)
นับว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นทั้งในวงการดาราศาสตร์
และสร้างความประหลาดใจให้พวกเราได้เช่นกันนะคะ
โชคดีว่า เหตุการณ์นี้ ไม่เกิดบนดาว “โลก” ของเรา
เพราะตอนนั้น คงไม่รู้จะ “หลบฝน” กันที่ไหน
จะต้องหาวัสดุอะไรมาทำที่กำบัง..ก็คงสุดปัญญา
ที่สำคัญ
เราๆท่านๆ ก็คงละลายกลายเป็นอณูไปหมด
กลายเป็นธาตุสี่ โบกมือบ๊ายบายกันได้เลย
เป็นเรื่องราวอัพเดตใหม่ ๆ ที่นกรีบนำมาฝากกันก่อนเที่ยงวันนี้นะคะ
และต้องจบด้วยข้อคิดดีๆสไตล์ไดโนสคูลเช่นเคย
.
.
ฝนตก เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ☔
เปียกปอนแต่ภายนอก แล้วก็..ซาและหยุดไป
แต่ฝนที่ตกในใจ💔
.
.
ชวนให้อารมณ์หม่นหมอง
.
.
อย่าปล่อยให้ใจดำดิ่ง จมในหนองแห่งน้ำตา
.
.
เพราะชีวิตคุณยังมีค่าต่อคนที่รักคุณนะคะ
นกไดโนสคูล
โฆษณา