12 มี.ค. 2020 เวลา 16:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
70 ล้านปีที่แล้ว 1 วัน มีเวลาแค่ 23 ชั่วโมงครึ่ง💢
หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ สัตว์ตระกูลหอย Torreites sanchezi 🐚
ต่อไปนี้.. ถ้าใครบอกว่า ทำอะไรไม่ทัน เพราะโลกเราหมุนเร็วขึ้น คงต้อง “แย้ง” กันด้วยหลักฐานทางธรณีวิทยาแล้วค่ะ 😌
เพราะนักวิจัยพบหลักฐานที่ยืนยันชัดเจน
วิเคราะห์อย่างละเอียดจากซากดึกดำบรรพ์ของ mollusk 🐚
สัตว์ตระกูลเดียวกับหอย สปีชีส์ Torreites sanchezi
mollusk หรือ Mollusca เป็นสัตว์ทะเลในโลกโบราณยุค 70 ล้านปีที่แล้ว 🐚
ที่นักธรณีวิทยาได้ขุดพบและเก็บรักษาไว้ในรูปแบบของก้อนให้สมบูรณ์ที่สุด (เท่าที่จะทำได้) เรียกว่า รูดิส “Rudist”
Rudist ขนาดใหญ่ที่มีซากกระดูกหรือเปลือกของสิ่งมีชีวิตยุคเก่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์
มักพบจมอยู่ใต้พื้นที่ที่อดีตเคยเป็นแหล่งน้ำที่อุดม
ภายหลังมานับร้อยล้านปี จึงมีการค้นพบและรักษารวบรวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติ
เช่น ที่เก็บ Rudist ของสัตว์ตระกูลหอย Torreites sanchezi ก็มาจากประเทศโอมานค่ะ
โอมานเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคโซนร้อน
ในระดับเส้นแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เหนือกว่าจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่สูงสุดของเมืองไทยไม่มากนัก
คือ เชียงราย มีละติจูด (เส้นรุ้ง) ที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ
ส่วนโอมาน อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดกับคาบสมุทรอาหรับ
ตำแหน่งของเส้นละติจูดของ “มัสกัต” เมืองหลวง จะที่ 23 องศา 36 ลิปดาเหนือ
จะเห็นได้ว่าสภาพอากาศโดยรวมไม่ได้แตกต่างกับไทยมากนัก
กุญแจไขความลับสู่มิติแห่งกาลเวลา..
เริ่มต้นขึ้นแล้ว
.
.
โดยนักธรณีวิทยาใช้เทคนิคสุดละเอียดอ่อน คือ
การเจาะรูบนซากเปลือกหอยด้วยเลเซอร์
ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับขนาดของเซลล์เม็ดเลือดแดง💢
หรือ เท่ากับ 10 ใน 1000 มิลลิเมตร (หรือ 10 ไมโครเมตร)
ก่อนจะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบในเปลือก Mollusca
🔺ความพิเศษของเปลือกหอย Mollusca ก็คือ
การเจริญของชั้นภายในเปลือกหอย จะมีลักษณะของการเติบโตขึ้นเป็นวงซ้อนไปเรื่อยๆ
คล้ายกับวงปีของต้นไม้ 🌳🌲
ที่เวลาที่เราตัดไม้ยืนต้นแล้วจะปรากฏเป็นลายวงๆสีเข้มบ้างอ่อนบ้างสลับกันไม่แน่นอน
ซึ่งแต่ละวงปี บ่งบอกได้ถึงสภาพภูมิอากาศ ความแห้งแล้ง-สมบูรณ์ของพื้นที่ที่มันเติบโต
การที่ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติในลักษณะนี้
ไม่ได้จำกัดแค่ต้นไม้
จึงเป็นช่องทางสำคัญให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ตรวจหาความลับที่ซุกซ่อนอยู่ใต้เปลือกหอยได้ 💢
ทั้งด้านอุณหภูมิและชนิดของสารต่างๆที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ที่ Mollusca ได้รับอิทธิพลเมื่อครั้ง 70 ล้านปีที่แล้ว ขณะยังมีชีวิต
และคำตอบที่ได้ก็คือ
.
.
Mollusca ที่เคยมีจำนวนมากมายบริเวณโขดหินชายฝั่ง 🐚🐚
เทียบได้กับแหล่งปะการังที่สมบูรณ์ไม่ถูกทำให้ระบบนิเวศเสียหาย มีการเติบโตที่เกี่ยวกับ...
1. ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
อันเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงจันทร์
วันหนึ่งๆ จะมีน้ำขึ้น 2 รอบ น้ำลง 2 รอบ สลับและห่างกันรอบละ 6 ชั่วโมง โดยประมาณ
2. ช่วง day-night rhythm
พบว่าช่วงกลางวัน Mollusca มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าช่วงกลางคืน
จึงเรียกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวก photosymbionts
คือ เติบโตได้โดยพึ่งพาอาศัยแสงแดดจากดวงอาทิตย์
และเมื่อได้ผลการวิเคราะห์มาคำนวณอย่างละเอียด
ก็ยืนยันได้ชัดเจนกว่าการศึกษาที่ผ่านมาว่า
เมื่อ 70 ล้านปีที่แล้วในโลกยุคครีเตเชียส (Cretaceous)
ใน 1 วัน มีเวลาเพียง 23 ชั่วโมง กับอีกประมาณ 30 นาทีเท่านั้นค่ะ 📌
🔺นกขอเสริมเล็กน้อยว่า
ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เป็นช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ครองโลกรุ่นสุดท้าย (145-66 ล้านปีที่แล้ว)
ก่อนที่ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปมากกว่า 94%
รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ที่สูญพันธุ์ราว 70% ของสปีชีส์
จากการสันนิษฐานว่าเป็นเพราะดาวหางพุ่งชนโลก ที่บริเวณคาบสมุทรยูคาทานในอ่าวเม็กซิโก🌠🌠🌠
หรือที่เรียกว่า "K-T Boundary" อันหมายถึงรอยต่อระหว่างยุคเครเทเชียสและยุคเทอเชียรี (Tertiary)
และหลังจากนั้น ก็เกิดการสะสมของแก๊สกำมะถันที่มีความเป็นพิษ
และเกิดการเคลื่อนตัวของผิวเปลือกโลก กลายเป็นทวีปต่างๆตามมาในอีกหลายสิบล้านปีต่อมา
ปัจจุบัน โลกเรา หมุนรอบดวงอาทิตย์ ใช้เวลา 365 วันโดยเฉลี่ย🌛🌍
แต่เมื่อคำนวณจาก 23 ชั่วโมง 30 นาที ต่อวัน ในยุคครีเตเชียส
ก็จะเท่ากับโลกยุคนั้น 1 ปี มีจำนวนวันมากกว่าปัจจุบัน 1 สัปดาห์ (คือ 372 วัน)
ซึ่งประเด็นนี้ เป็นเพราะกฏแห่งแรงโน้มถ่วงตามหลักฟิสิกส์ ที่ว่าด้วยแรงโน้มถ่วงที่กระทำระหว่างโลกและดวงจันทร์ มีค่าไม่เท่ากันในแต่ละระยะห่างบนพื้นผิว
ซึ่งยังเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่น ๆ อีก เช่น
ดวงจันทร์มีการถอยห่างจากโลกออกไปเรื่อยๆ ปีละ 3.82 cm หรือประมาณ 1 นิ้วครึ่ง
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็น Dynamic หรือ “ความไม่เที่ยง” ของระยะทางระหว่างโลกและดวงจันทร์
ซึ่งอาจมีผลต่อ “เวลา” ในโลกอนาคต อีกหลายสิบล้านปีข้างหน้าด้วย
นกเชื่อว่า ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่เคยชมการ์ตูนเรื่องมนุษย์หินฟลินท์สโตน👪
ที่มีมนุษย์หินน่ารัก 2 ครอบครัว และมีไดโนเสาร์น่ารักคู่ใจไปไหนมาไหนด้วย
ที่จริงแล้ว ช่วงเวลาที่ใกล้กับปัจจุบันที่สุด ที่ยังมีไดโนเสาร์ คือราว 66 ล้านปีที่แล้ว
แต่มนุษย์ที่ถูกระบุสปีชีส์ในปัจจุบัน (เราๆท่านๆ) ว่า homo sapiens รุ่นบรรพบุรุษของเรา มีอายุเมื่อ 2 แสนปี ที่แล้วนี่เอง😯
โดยมนุษย์ สกุลโฮโม “homo” ที่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นคนที่ใช้เครื่องมือยุคหินครั้งแรก
คือ homo habilis มีอายุเมื่อ 2.3 ล้านปีที่แล้วค่ะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น นกก็ไม่ปฏิเสธว่าจินตนาการที่คนกับไดโนเสาร์ได้ร่วมสมัยในยุคเดียวกัน
เป็นเรื่องที่น่าสนใจลุ้นระทึก😖
และในรูปแบบการ์ตูนสำหรับเด็กเล็กๆ ก็มักน่ารักน่าชัง โดยเฉพาะการ์ตูนเรื่อง ก๊อง...ง (GONG)😊
(ตัวนี้ความชอบส่วนตัวค่ะ ทั้งเรื่องทุกตอน พูดคำเดียวว่า ก๊อง...ง กับกินเก่งเป็นที่สุด)
สมมติ เรานั่งไทม์แมชชีนของโดราเอมอนไปอยู่ในยุค 70 ล้านปีที่แล้ว
ในตอนนั้น วันหนึ่งที่มี 23 ชั่วโมงครึ่ง คุณจะทำอะไรบ้าง
🕑
🕒
🕞
และถ้าเทียบกับขณะนี้
วันหนึ่ง 24 ชั่วโมง คุณทำอะไรได้บ้าง❓
ดูเหมือนปัจจุบัน ศักยภาพของเรา "เหลือเฟือ" และสิ่งอำนวยความสะดวกก็ “อิ่มจนล้น”
แสดงว่าเราได้กำไรทั้งเรื่องของ “ระยะเวลา” และ “เครื่องทุ่นแรง” ❕❕❕
ขาดเพียงการจัดสรรเวลาที่คุณมีอยู่ให้แก่ตัวเอง
และให้เวลาที่มีค่าแก่คนที่สำคัญต่อชีวิตคุณ
ในเมื่อเรามีกำไรมากกว่าสิ่งมีชีวิตเมื่อ 70 ล้านปีที่แล้ว ถึงวันละ 30 นาที หรือ 1800 วินาที
คุณคิดว่า จะเอา 30 นาทีนี้ ไปทำอะไรดีคะ❓
นกไดโนสคูล
รูปภาพ Google Bing
โฆษณา