14 มี.ค. 2020 เวลา 09:53 • ประวัติศาสตร์
• ตระกูลภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ณ บริเวณดินแดนเอเชียอาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ประกอบไปด้วยตระกูลภาษาที่สำคัญทั้งหมด 4 ตระกูลด้วยกันได้แก่
1) ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai-Kadai)
ภาษาไทยและภาษาลาว เป็นภาษาในตระกูลไท-กะได
เป็นตระกูลภาษาของภาษาไทยและภาษาลาว นอกจากนี้ตระกูลภาษาไทกะได ยังมีการใช้ในบริเวณทางตอนใต้ของจีน, ตอนเหนือของเวียดนาม บริเวณดินแดนอาหม (Ahom) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย รวมถึงดินแดนของกลุ่มชาวไทยใหญ่ในเมียนมาร์ เป็นต้น
แผนที่แสดงเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลไท-กะได
2) ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan)
ภาษาพม่าเป็นภาษาตระกูลเดียวกันกับภาษาจีน รวมไปถึงทิเบต
เป็นตระกูลภาษาของภาษาพม่า นอกจากนี้ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ยังเกี่ยวข้องกับหนึ่งในภาษาที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ซึ่งก็คือ ภาษาจีนหรือภาษาแมนดาริน (Chinese Mandarin) นั้นเอง
1
ภาษาจีน เป็นภาษาที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก
3) ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก (Austro-Asiatic)
ภาษาเขมร (ซ้าย) และภาษาเวียดนาม (ขวา) เป็นภาษาในตระกูลเดียวกัน
เป็นตระกูลภาษาของภาษาเขมร (Khmer) ของกัมพูชา และภาษาเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งภาษาสำคัญของตระกูลภาษานี้ คือ ภาษามอญ (Monic) ซึ่งมีการใช้งานในเมียนมาร์ตอนใต้ และบางส่วนในประเทศไทย
2
ภาษามอญ แม้ว่าจะดูเหมือนกับภาษาพม่า แต่จริงๆ แล้วมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษาเขมร
4) ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน (Austronesian)
ภาษาบาฮาซา เป็นภาษาที่มีการใช้งานมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นตระกูลภาษาของภาษามาเลย์ (Malay) หรือภาษาบาฮาซา มาเลเซีย (Bahasa Malaysia) ซึ่งใช้งานในมาเลเซีย, สิงคโปร์ และบรูไน ภาษาอินโดนีเซีย หรือ ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) รวมไปถึงภาษาตากาล็อก (Tagalog) ของฟิลิปปินส์
สำหรับในประเทศสิงคโปร์นั้น นอกจากจะมีการใช้ภาษามาเลย์ในการติดต่อสื่อสารแล้ว สิงคโปร์ยังมีใช้ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน รวมไปถึงภาษาทมิฬ (Tamil) อีกด้วย
1
สิงคโปร์ นอกจากจะใช้ภาษามาเลย์แล้ว ยังใช้ทั้งภาษาจีน, ภาษาอังกฤษ รวมไปถึงภาษาทมิฬด้วย
*** ขอบคุณแหล่งข้อมูล
#HistofunDeluxe
โฆษณา