15 มี.ค. 2020 เวลา 02:30 • ประวัติศาสตร์
#ตามรอยจักวาลในเปลือกนัทตอนที่1
#มหัศจรรย์พลังชีวิต
#มองอวกาศในมิติใหม่
#แรงบันดาลใจหล่อเลี้ยงชีวิต
ย้อนอดีต ครบรอบ 2 ปีการจากไปของ สตีเฟ่น ฮอว์กิ้น นักฟิสิกส์ทฤษฎี และจักรวาลวิทยาชื่อดังก้องโลก กับจินตนาการของมนุษย์ธรรมดาที่สุดขอบจักรวาลของเขา
ชีวิตของสตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง มีเรื่องราวมากมายที่น่าทึ่ง ถึงมหัศจรรย์ของพลังชีวิต ที่ "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" อย่างแท้จริง เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่คนๆหนึ่ง ที่มีร่างกายเป็นเพียง "ซากชีวิต" กลับมีแรงบันดาลใจอันไร้ที่สิ้นสุดที่จะไขคำตอบ ในสิ่งที่พระเจ้าได้ทิ้งไว้ให้เรา ถึงปริศนาแห่งจุดกำเนิดโลก และมนุษย์
สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง เกิดวันที่ 8 มกราคม 1942 ณ เมือง
อ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ ในวันที่มีการเฉลิมฉลองครบรอบ 300 ปีวันเสียชีวิตของนักฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ของโลก กาลิเลโอ กาลิเลอิ ราวนิมิตรหมายจากสวรรค์
ฮอว์กิ้ง เกิดมาในครอบครัวนักวิชาการ มีพ่อเป็นนักศึกษาแพทย์ เชี่ยวชาญด้านชีววิทยา แม่ก็เป็นผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันการแพทย์ และเป็นเด็ก Oxford ทั้งคู่ ทำให้ในบ้านอบอวลไปด้วยกลิ่นไอของงานเอกสารวิชาการ ที่เขาคลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก
1
ฮอว์กิ้น ไม่ได้มีร่างกายอ่อนแอ หรือพิการมาตั้งแต่เกิด แถมเป็นเด็กที่มีความร่าเริง ชอบเรียนรู้เรื่องราวรอบตัว มีความสนใจวิชาคณิตศาสตร์ และ ดาราศาสตร์มาก จนเลือกเข้าเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในสาขาฟิสิกส์ และ จักรวาลวิทยา ทั้งๆที่พ่อแนะนำให้เรียนหมอจะดีกว่า เพราะมองว่านักคณิตศาสตร์นั้นไส้แห้ง และหางานยากกว่าเรียนแพทย์
แต่ฮอว์กิ้งไม่เปลี่ยนใจ แถมยังย้ายค่ายไปต่อปริญญาเอก ด้านจักรวาลวิทยาที่ตนสนใจต่อ ที่มหาวิทยาเคมบริดจ์ในปี 1962
แต่พอถึงปี 1963 โลกทั้งใบของฮอว์กิ้งก็พังทลายลงตรงหน้า เมื่อร่างกายเกิดอาการผิดปกติ และพบว่าตัวเองเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis)
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลส์ประสาทสั่งการกล้ามเนื้อ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะสูญเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อไปเรื่อยๆ เริ่มต้นที่แขน ขา กล้ามเนื้ออวัยวะภายนอก ไปจนถึงอวัยวะภายใน จนสุดท้ายจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ แม้แต่หายใจได้ด้วยตนเอง โรคชนิดนี้พบได้น้อยมาก ในยุโรปจะพบผู้ป่วยโรคนี้ 2 คนต่อประชากร 100,000 คน และไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่นาน
แพทย์ประจำตัวฮอว์กิ้น วินิจฉัยว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปีหลังจากนี้
ในชีวิตตลอด 21 ปีที่ผ่านมา เขาไม่เคยจริงจังกับชีวิตเลยสักครั้ง ออกจากเบื่อๆด้วยซ้ำ แต่หลังจากที่เขารู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคร้าย สิ่งที่เขากังวลมีเพียงอย่างเดียวคือ กลัวมีชีวิตไม่ทันได้เรียนจบปริญญาเอก!!!
ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ ทุ่มเทให้กับการค้นคว้าอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน
1
แต่เรื่องมหัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น อาการของฮอว์กิ้งไม่ได้ทรุดหนักลงอย่างรวดเร็วอย่างที่แพทย์ประจำตัววินิจฉัย ทำให้เขาสามารถเรียนจบปริญญาเอกได้สำเร็จ และตัดสินใจแต่งงานกับ เจน ไวลด์ นักศึกษาด้านภาษาศาสตร์ ในปี 1965
ถึงแม้ว่าอาการจะไม่ได้ทรุดหนัก แต่ฮอว์กิ้งก็สูญเสียการควบคุมร่างกายไปเรื่อยๆอย่างช้าๆ จนถึงปี 1969 ฮอว์กิ้งไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเองอีกต่อไป จะไปไหนต้องนั่งรถเข็น และต้องนั่งไปตลอดชีวิต จะลุกจากเตียง หรือกินอาหารเองยังลำบาก จำเป็นต้องใช้ผู้ช่วย
แต่ศักยภาพที่ถดถอยด้านร่างกายหาใช่อุปสรรคในงานวิชาการที่เขาชอบ ฮอว์กิ้งดึงลูกศิษย์ของเขาที่เคมบริดจ์มาเป็นผู้ช่วยส่วนตัว และทำงานอย่างหนักทั้งด้านการสอนที่เคมบริดจ์ และงานค้นคว้า
1
จนถึงปี 1974 ชื่อเสียงของสตีเฟ่น ฮอว์กิ้น ก็เริ่มโด่งดังในวงการ เมื่อเขาได้ตีพิมพ์งานวิชาการชิ้นแรก คือ The Large Scale Structure of Space and Time
และทฤษฎีสร้างชื่อของฮอว์กิ้ง คือผลงานที่ทำงานร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส ที่อธิบาย ปรากฏการณ์หลุมดำ จุดกำเนิดของจักรวาล และสิ่งที่ทั้งคู่เรียกว่า "Singularity"
ก่อนหน้านั้น นักดาราศาสตร์เชื่อว่าหลุมดำ เป็นดาวขนาดใหญ่ที่มีแรงโน้มถ่วงสูงที่ดูดมวลทุกอย่างในจักรวาล และถ้าสิ่งใดถูกดูดเข้าหลุมดำแล้ว จะออกมาไม่ได้
แต่ฮอว์กิ้ง-เพนโรส ได้ศึกษาทฤษฎีหลุมดำแล้วบอกว่า หลุมดำน่าจะมีลักษณะเป็นกรวย ทุกสิ่งที่หลุมดำดูดไปจะควบแน่นกลายเป็นอนุภาคเล็กๆที่เรียกว่า Singularity เมื่ออนุภาคของมันหนาแน่นมากๆเข้า มันจะปล่อยรังสีที่สามารถเล็ดรอดหลุมดำออกมาได้ ซึ่งเจ้ารังสีที่ว่านี้ถูกตั้งชื่อว่า Hawking Radiation
2
มวลทุกอย่างในจักรวาลสามารถบีบอัดอยู่ใน Singularity แม้แต่ตัวหลุมดำเอง ก็จะย่อส่วนรวมอยู่ในเจ้า Singularity นี้ จนหายไปกลายเป็นความไม่มี (Nothingness) สุดท้ายมันก็จะระเบิดตัวออกอย่างรุนแรง (Big Bang) และก่อกำเนิดเป็นระบบกาแล็กซี่ และดวงดาวขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ทฤษฎี Penrose–Hawking Singularity เป็นที่อภิปรายอย่างกว้างขวาง ชื่อเสียงของฮอว์กิ้งเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง จนได้รับรางวัล Albert Einstein Award และถูกบรรจุให้เป็นสมาชิก The Royal Society หรือราชสมาคมแห่งลอนดอน (หนึ่งในสมาคมนักปราชญ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ก่อตั้งในสมัยพระเจ้าชาล์สที่ 2 ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์) และฮอว์กิ้งนั้นเป็นสมาชิกที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมาใน The Royal Society ทีเดียว
แต่ชื่อเสียง และเกียรติยศที่เฉิดฉายของฮอว์กิ้งนั้น ผกผันตรงข้ามกับสภาพร่างกายของเขาอย่างสิ้นเชิง จนมาถึงจุดที่เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อีกต่อไปแม้เรื่องส่วนตัวในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องมีผู้ช่วยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และเริ่มมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร....
และนี่คือการเดินทางเพียงครึ่งแรกของชีวิตของสตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์ทฤษฎีอัจฉริยะระดับโลก เรื่องราวอันมหัศจรรย์ในชีวิตของเขายังมีอีกมาก แต่จะมีอะไรบ้างนั้น โปรดติดตามต่อในตอนที่ 2 ค่า 😀
อ้างอิง
สารนุกรม Wikipedia
โฆษณา