17 มี.ค. 2020 เวลา 06:35 • ประวัติศาสตร์
คำว่า "บ่าว" ทำไมแต่ละภาคถึงมีความหมายไม่เหมือนกัน
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมคำว่า “บ่าว” ในภาษาถิ่นของภาคอื่น ๆ หมายถึง “ผู้ชาย” แล้วทำไม “บ่าว” ในภาคกลางจึงหมายถึง “คนรับใช้” ล่ะ วันนี้เราจะไปหาคำตอบกัน
เรื่องมันมีอยู่ว่า ในอดีตเนี่ยไทยเราใช้คำว่า “บ่าว” ที่หมายถึง “ผู้ชาย” มาตั้งเนิ่นนานแล้ว ซึ่งเราจะเห็นได้จากเอกสารหรือวรรณคดีเก่า ๆ เช่น
แต่เรื่องราวได้มาพลิกผันเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้จัดระบบการปกครองใหม่ คือ “จตุสดมภ์” ดังนั้น ผู้ชายไทยก็ต้องเข้าสังกัดมูลนายทุกคน ผู้ชายในสมัยนั้นจึงถูกเรียกว่า “บ่าวไพร่” คือไพร่ผู้ชาย (ไพร่ หมายถึง คนรับใช้)
และเมื่อระยะเวลาผ่านไปคำว่า “บ่าวไพร่” ได้มีความหมายเปลี่ยนไปเป็น “คนรับใช้มูลนาย” ประกอบกับมีคำว่า “ผู้ชาย” มาใช้แทนคำว่า “บ่าว” จึงทำให้คนรุ่นต่อ ๆ มาที่ใช้คำว่า “ผู้ชาย” จนชิน เข้าใจว่า “บ่าว” หมายถึง คนรับใช้ เหมือนกับคำว่าว่า "บ่าวไพร่" ไปโดยปริยายนั่นเอง
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เล่ามา ส่งผลให้ภาษาไทยมาตรฐานของไทยเราเลิกใช้คำว่า “บ่าว” ที่หมายถึง “ผู้ชาย” แต่เปลี่ยนมาหมายถึง “คนรับใช้” แทน เหลือเพียงแค่คำว่า “เจ้าบ่าวเจ้าสาว” เท่านั้นที่ยังคงมีความหมายเดิมอยู่ คือ “ผู้ชายผู้หญิง”
ส่วนคำว่า “บ่าว” ในภาคเหนือ อีสาน และใต้ก็ยังคงใช้ความหมายว่า “ผู้ชาย” แบบเดิมอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของภาษาถิ่นที่จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำต่าง ๆ เหมือนกับภาษาไทยมาตรฐานที่อยู่ในภาคกลาง
อ้างอิงข้อมูลมาจาก
หนังสือวิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย ผู้แต่ง : ธวัช ปุณโณทก
โฆษณา