Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระ
•
ติดตาม
17 มี.ค. 2020 เวลา 08:46 • การศึกษา
เผยที่มาของเกรด A-F ทำไมถึงไม่มีเกรด E ในใบรายงานผลการศึกษา
5
เป็นที่ทราบกันดีว่าเกรดของการศึกษาในปัจจุบันทั้งมหาวิทยาลัยหรือระดับมัธยมศึกษาในบางสถาบัน
ใช้อักษรแทนตัววัดเกรดโดยมีตั้งแต่เกรด A, B, C, D, หรือ F
หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมถึงมีการข้ามตัวอักษร E ไปล่ะ
วันนี้เราจะมาเฉลยข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้มานานกัน
เพื่อให้ทุกคนเข้าใจเรามาเริ่มอธิบายในข้อที่ควรรู้กันก่อน
แน่นอนว่า F ย่อมากจากคำว่า “Fail” ซึ่งแปลตรงตัวว่าล้มเหลวหรือหมายความว่าสอบตกนั่นเอง
ส่วนเกรดอีกสี่ตัวที่เหลือหมายถึงสอบผ่านตามลำดับขั้น ในบางสถาบันในอเมริกามีการใช้ D แทนความหมายว่าสอบตกด้วย
ย้อนไปเมื่อยุคแรกเริ่มของการศึกษา มหาวิทยาลัยแรกในอเมริกาที่ใช้ระบบให้เกรดที่คล้ายในแบบที่เราใช้งานกันทุกวันนี้คือมหาวิทยาลัยเมาท์โฮลี่โอค
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหญิงล้วนในแมสซาชูเซตส์
ก่อนหน้านั้นมีการใช้ระบบจัดอันดับแบบอื่นในมหาวิทยาลัยเยลในปี 1785
โดย “optimi” หมายถึงอันดับสูงสุด ตามมาด้วย optimi, inferiore (“ต่ำกว่า”) และ pejores (“แย่”)
มหาวิทยาลัยวิลเลี่ยมและแมรี่จัดอันดับนักเรียนด้วยตัวเลข โดยอันดับ 1 คือที่หนึ่งของชั้นเรียน และที่ 2 คือ “เป็นไปตามคำสั่ง ถูกต้องและใส่ใจ”
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเคยใช้ระบบการให้เกรดแบบตัวเลข ซึ่งนักเรียนจะถูกแบ่งเกรดตั้งแต่ 1-200 (ยกเว้นชั้นเรียนคณิตศาสตร์และปรัชญา ซึ่งใช้เกรด 1-100)
มหาวิทยาลัยเยลเปลี่ยนมาใช้การแบ่งเกรดแบบสี่จุดในปี 1813 และสลับไปใช้แบบเก้าจุดในเวลาต่อมา ก่อนที่จะกลับไปใช้แบบสี่จุดอีกครั้งในปี 1832
ในปี 1883 มีการอ้างอิงว่ามีนักเรียนได้รับเกรด “B” ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่นักประวัติศาสตร์ไม่พบหลักฐานที่มาสนับสนุนข้อมูลส่วนนี้ว่ามีการใช้ตัวอักษรแทนเกรด
โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีระบบตัดเกรดประจำชั้นเรียนโดยแบ่งเป็น I, II, III, IV, หรือ V โดย V หมายความว่าสอบตก
มหาวิทยาลัยเมาท์ โฮลี่โอค ในปี 1887 มีการตัดเกรดแบบนี้:
2
A: เยี่ยมยอด 95-100%
B: ดี 85-94%
C: พอใช้ 76-84%
D: แทบจะไม่ผ่าน 75%
E: สอบตก ต่ำกว่า 75%
หนึ่งปีถัดมาวิทยาลัยเมาท์ โฮลี่โอค ปรับปรุงระบบตัดเกรดใหม่ โดยเกรด “B” แทนค่าคะแนนที่ 90-94% ส่วน “C” อยู่ที่ 85-89% ในขณะที่ “D” อยู่ที่ 80-84% และ “E” คือ 75-79% และถ้าต่ำกว่านั้นจะเป็น “F”
หลายปีที่ใช้ระบบตัวอักษรแทนเกรด มันเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่มหาวิทยาลัยและระดับมัธยมศึกษา หลายโรงเรียนเลือกที่จะข้ามตัวอักษร E ไป
เพราะเหล่าอาจารย์ต่างเป็นกังวลว่า ทั้งนักเรียนและผู้ปกครองจะเข้าใจผิดคิดว่า E ย่อมาจากคำว่า “excellent” ซึ่งแปลตรงตัวว่าเยี่ยมยอด
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่ระบุว่า พวกเขาต่างคิดกันว่า A ย่อมาจากคำว่า “awful” ซึ่งหมายถึงห่วยก็ตาม แต่มันเป็นไปได้ว่าทางโรงเรียนอยากให้มีการกำหนดเกรดแบบง่าย ๆ
ขึ้นมาเพียงเท่านั้น โดยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการพยายามกลับไปใช้เกรด E โดยตัดเกรด F ออกไปในบางโรงเรียน
ในความจริงแล้ว มีตัวอักษรตัวอื่นที่นำมาใช้แทนตัวอักษร E และ F และยังคงความหมายเดิมอยู่ เช่นตัวอักษร “U” ซึ่งแทนคำว่า “unsatisfactory”
ซึ่งแปลว่าน่าผิดหวัง หรือตัวอักษร N ที่แทนคำว่า “no credit” ซึ่งหมายความว่าไม่ได้หน่วยกิต จะว่าไปแล้ว หลายสถาบันสามารถใช้ตัวอักษรอื่นได้เช่นกันแค่ให้ตรงกับความหมายเดิม
การแบ่งเกรดเช่นนี้ หลายคนเชื่อว่าถูกกำหนดโดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในการตัดสินการเรียนรู้ของนักเรียนอีกต่อไป
สถาบันที่แตกต่างกันไปทั่วโลกมีการกำหนดเกรดที่หลากหลายมากขึ้น เช่นการเพิ่มเครื่องหมาย + และ – ขึ้นมา โดยอาจมีการตัดเกรด A ที่ 90% ขึ้นไปแทน
หรือในบางที่ใช้ที่ 95% ขึ้นไป หลายแห่งยังมีการใช้เกรด D แทนเกรดสอบตกอยู่
นักวิจารณ์ในเรื่องของการตัดเกรดเชื่อว่า การเขียนวิเคราะห์การเรียนของนักเรียน
เป็นหนทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการให้ความเห็นตอบกลับแก่ผู้ปกครองและตัวนักเรียนเอง
แต่พวกเขาเชื่อว่าคงไม่มีนักเรียนและผู้ปกครองที่อ่านมันมากนัก และตัวอาจารย์เองก็ต้องทำงานหนักเกินไปในส่วนนี้
รวมทั้งใช้เวลาอย่างมากในการเขียนถึงนักเรียนทั้งหมด การให้เกรดแบบตัวอักษรคือวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะสื่อสารถึงประสิทธิภาพของนักเรียน
ระบบตัดเกรดแบบนี้เราเชื่อว่ามันจะคงอยู่คู่สถาบันการศึกษาไปอีกนานเลยทีเดียว
อย่าลืมกดติดตาตเพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
อ้างอิงจาก
businessinsider.com
Here’s Why You Never Got An ‘E’ On Your School Report Card
One of life’s great mysteries, answered.
ห้ามคัดลอกทุกกรณี
2 บันทึก
43
13
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้
2
43
13
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย