18 มี.ค. 2020 เวลา 01:27 • ความคิดเห็น
ทำไมอิตาลีถึงมีผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มากกว่าเกาหลีใต้ หลายเท่า ?
อิตาลีและเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่มีการระบาดหนักชั่วข้ามคืน
โดยตัวเลข ณ ปัจจุบัน (17 มีค 2020, 19:15 GMT)
อิตาลี:
ติดเชื้อ - 31,506 ราย
เสียชีวิต - 2,503 คน
.
= 7.94% ของผู้ติดเชื้อเสียชีวิต
เกาหลี:
ติดเชื้อ - 8,320 ราย
เสียชีวิต - 81 ราย
.
= 0.97% ของผู้ติดเชื้อเสียชีวิต
ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านบทความวิเคราะห์หนึ่ง ของสำนักข่าว CNN ผู้วิเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญการควบคุมโรคชาวอเมริกันท่านหนึ่ง ชื่อ Kent Sepkowitz
.
ซึ่งบทความ น่าจะเป็นคำถามในใจของใครหลายๆคน รวมทั้งผู้เขียนด้วย
โดยผู้เขี่ยวชาญได้วิเคราะห์จากข้อมูลตัวเลข และพบว่ามีปัจจัยหลักๆ 3 ปัจจัย ที่เป็นเหตุให้ อิตาลี มี % ผู้เสียชีวิตสูงกว่าเกาหลีใต้
1. อายุ :
อิตาลี เป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุติดอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น โดยอิตาลีมีประชากรผู้สูงอายุ 28.6% ในขณะที่เกาหลีใต้มีเพียง 18.5% เท่านั้น
.
อย่างที่เรารู้กัน อายุยิ่งมาก %เสียชีวิตยิ่งสูง
.
ซึ่งจากข้อมูลการเสียชีวิตของชาวอิตาลี กว่า 90% ของผู้เสียชีวิต มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ในขณะที่เกาหลีใต้ มีเพียง 20% ของผู้ติดเชื้อเท่านั้น ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
Cr. Buzzfeed.news
2. เพศ :
ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ตัวเลขจากการแพร่ระบาดในจีน ผลที่ได้คือ เปอร์เซนต์การเสียชีวิตในชาย มีถึง 4.7% และ ในหญิง 2.8% และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย เพราะเกาหลีใต้ ผู้ติดเชื้อกว่า 62% เป็นผู้หญิง (อิตาลี ไม่มีการเผยข้อมูลเรื่องเพศ)
3. การสูบบุหรี่ :
การสูบบุหรี่ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง จึงเป็นปัจจัยที่ถูกยกมาวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน
.
โดยตัวเลขนักสูบในอิตาลี คือ 24% และเกาหลีใต้ 27% ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกัน
.
แต่สิ่งที่ต่างอย่างชัดเจน คือ เพศ
นักสูบในอิตาลี 28% เป็นผู้ชาย และ 20% เป็นผู้หญิง
ด้านเกาหลีใต้ 50% เป็นผู้ชาย และ ต่ำกว่า 5% เป็นผู้หญิง
จากข้อมูลเหล่านี้ ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ได้ว่า
.
การแพร่ระบาดในอิตาลีนั้น อยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากและส่วนใหญ่สูบบุหรี่ ในขณะที่ในเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่ม ผู้ที่มีอายุน้อยและกลุ่มของผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเหล่านี้เองที่เป็นปัจจัยหลัก ต่ออัตราการเสียชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมาก
อิตาลี: กราฟส้ม คือ เสียชีวิต / เขียว คือ รักษาหาย Cr. Worldometers.info
เกาหลีใต้: กราฟส้ม คือ ผู้เสียชีวิต / เขียว คือ รักษาหาย Cr. Worldometers.info
จากกราฟด้านบน แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างขัดเจน ระหว่าง อัตราเสียชีวิตและรักษาหาย ของทั้ง2ประเทศ
.
อิตาลีมีอัตราผู้เสียชีวิตและรักษาหาย ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
โดยอัตราของผู้เสียชีวิตยังมีท่าทีเพิ่มขึ้นด้วย สวนทางกับอัตรารักษาหาย ซึ่งผู้เขียนคาดว่าปัจจัยหลัก น่าจะมาจากการติดเชื้อในผู้สูงอายุนี่เองค่ะ
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้เขียน
อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ยกมาวิเคราะห์
อาจจะเพราะไม่มีตัวเลขวัดค่าได้ นั่นก็คือ เรื่องวัฒนธรรม
.
ในยุโรปมักทักทายกันด้วยการกอดจูบหรือจับมือ
ซึ่งต่างกับทางเอเชียบ้านเรามาก รวมไปถึงวัฒนธรรมการใส่หน้ากากอนามัย ที่ใครใส่แล้วจะโดนตีตราว่าป่วยอีกด้วย
Cr. Seattleglobalist.com
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอให้เราทุกคนรักษาตัวกันให้ดี แล้วเราจะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกันค่ะ 💪🏼
🌟ถ้าชอบอย่าลืมกดLike กดติดตาม หรือกดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะคะ
🌟ยินดีน้อมรับทุกคำแนะนำติชมค่ะ
.
#ไดอารี่ของหม่าม้า🐥🐥

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา