Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
•
ติดตาม
18 มี.ค. 2020 เวลา 04:19 • ธุรกิจ
การลดต้นทุน Cost reduction = การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต Increase Productivity
หากต้องการลดต้นทุนจะทำอย่างไรดี คำตอบก็คือต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนั่นเอง
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก็คือ การเพิ่ม
Cr. www.leantpm.co
ประสิทธิภาพของคน
ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (OEE)
ประสิทธิภาพของวัตถุดิบ
ปัญหาส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถลดต้นและสร้างกำไรจากเครื่องจักรได้ ภายใต้การปรับปรุงด้วย OEE ที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะหลายครั้งที่โรงงานที่ผมเข้าไปช่วยเรื่องนี้ทุกโรงงานสามารถคิดคำนวณได้หมด มีตัวเลขชัดเจน แต่ไม่สามารถสร้างระบบในการขับเคลื่อนได้ สุดท้ายเมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ก็จะเลิกกันไปหรือไม่ทำนั้นเอง
ก่อนจะเริ่มการนั้นผมขอทวนเพื่อความเข้าใจอีกครั้ง การที่วัด OEE เป็นการวัดเพื่อหาช่องว่างในการปรับปรุง (GAP Analysis) ซึ่งการวัดประสิทธิภาพเครื่องโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness) เป็นเครื่องมือที่ใช้การแผ่หลายและเป็นสากลในอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรใช้ในการผลิตสินค้าเป็นหลัก
วิธีการวัดประสิทธิผลของเครื่องจักรแล้วยังรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งในภาพใหญ่ คือ สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น ทำให้สามารถที่จะปรับปรุง ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบโดยแบ่งออกเป็น 3 มุมมอง
Availability: ความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร
“ กระบวนการผลิต /เครื่องจักร ไม่พร้อมใช้งาน ”
Performance: สมรรถนะการผลิตของเครื่องจักร
“ กระบวนการผลิต /เครื่องจักร ผลิตไม่เต็มสมรรถภาพของเครื่องที่ออกแบบไว้หรือที่กำหนดไว้ ”
Quality: อัตราการผลิตของดีของเครื่องจักร
“ ของเสียและสินค้าที่ผลิตซ้ำหรือสินค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า ”
———————————————————————————————————————–
จากปัญหาที่คุณไม่สามารถลดต้นหรือเพิ่มผลผลิตด้านเครื่องจักรได้นั้นมีแนวทางการแก้ไขได้แบบง่ายๆได้ ดังนี้
กำหนดเป้าหมายกิจกรรมให้ทุกส่วนงานมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด
การกำหนดเป้าหมายนั้น คุณต้องสร้างความกระทบกระเทือนถึงชีวิต (สะเทือนกับเงินเดือนหรือการปรับตำแหน่ง) เพราะถ้าคุณไม่สร้างสภาวะให้เข้าหิว เค้าก็จะไม่หาอะไรกินเอง ถ้าเค้าไม่หาก็จะอดตาย ซึ่งต้องกำหนด Key Performance Indicator และ Key Activity Indicator
ติดตามการดำเนินการงานผ่านเอกสาร A3 Report
หลายครั้งที่การติดตามกิจจกรรมนี้ต้องใช้ PowerPoint ในการนำเสนอผลงานหรือรายงานความคืบหน้าผมเองก็ไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไร เพราะขี้เกียจทำ PowerPoint บางครั้งคนที่ทำงานจริงไม่มีเวลามานั่งทำ PowerPoint สวยๆ มากนัก แต่เมื่อต้องนำเสนอให้เขียนเอกสาร A3 Report ในรูปแบบกระดาษ A3 หรือ A4 เพื่อนำเสนอกับ Top Management เป็นเวลา 5 นาที ก็พอ
** ผมเองก็ไม่ได้ต่อต้าน PowerPoint นะ หากมีเรื่องไหนที่สำคัญ ส่งผลกระทบหรือสามารถ Share ได้ ก่อนควรนำเสนอให้ทำ PowerPoint เพื่อนำเสนอ (แก้ไขปัญหามาเหนื่อยแล้ว ก็เอาหน้าหน่อยนะครับ)
ใช้บอร์ดกิจกรรมในการติดตามกิจกรรม
สำหรับงานแก้ไขปัญหาที่เรียกว่า OEE นี้ เป็นงานที่แบ่งออกเป็นหลายระดับและแต่ล่ะระดับก็มีสมาชิกการดำเนินการแก้ไขไม่เหมือนกัน ซึ่งการรายงานหรือแสดงความคืบหน้าของงานปรับปรุงที่ดีที่สุด คือ การจัดทำบอร์ดกิจกรรม ใครๆก็สามารถเข้าถึงได้ ไม่จำเป็นต้องถามอะไรกันมาก สามารถสังเกตสถานะได้ตาม Visual control ได้ง่าย แต่ขอให้คุณ Update ข้อมูลให้ตรงตามเวลาที่คุณกำหนดแล้วกัน (วินัยและความรับผิดชอบ)
ยกตัวอย่าง : ทีมงานที่ใช้แก้ไขปัญหา
Cr. www.leantpm.co
Project Team (Rank A)
การสูญเสียและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงาน
แหล่งที่ก่อให้เกิดการหกล้นหรือรั่วซึม ที่ปล่อยไว้เป็นเวลานาน
ปัญหารุนแรง และเร่งด่วน เป็นเหตุให้ส่งมอบล่าช้า ลูกค้าตำหนิ
Department team (Rank B)
การสูญเสียและปัญหาที่จำกัดอยู่ภายในหน่วยงาน ความรุนแรง จากแหล่งสกปรกปานกลาง
แก้ไขจุดบกพร่องของเครื่องจักร เช่น การออกแบบ และรับน้ำหนักของโครงสร้าง การประกอบและวัสดุใช้งาน
Small group team (Rank C)
การสูญเสียที่โอเปอเรเตอร์สามารถกำจัดได้ด้วยตนเอง จากการชี้แนะและช่วยเหลือจากผู้รู้
ปรับปรุงบริเวณเข้าถึงลำบาก ต่อการเดินเครื่อง ตรวจสอบ และหล่อลื่น เป็นกิจวัตร
กำจัดแหล่งความสกปรกโดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องจักรมากเกินไป
Top Management Plant tour
กิจกรรมนี้แสดงถึงการขับเคลื่อนย่างแท้จริง คือ Top Management ลงสถานที่จริง ของจริง ซึ่งถือเป็นการลงพื้นที่ให้เห็นกับตาตัวเอง โดยเน้นดูสภาพที่เปลี่ยนแปลงตามรายงานการแก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้ปฎิบัติงาน บางโรงงานผู้บริหารไม่เคยลงสายการผลิตเลย นั่งแต่ในห้องทำงานและประชุมเท่านั้น
Cost-Loss Matrix & Next Theme Kaizen
การแก้ไขและปรับปรุงคุณต้องทวนสอบผลลัพธ์ด้วยกัน 2 ด้าน ด้านแรกคือ จำนวนเวลาหรือสินค้าที่สูญเสียน้อยลงซึ่งจะเรียกว่า Loss ส่วนที่สอง คือ ค่าใช้จ่ายหรือ Cost โดยการค้นหาการสูญเสียที่เป็นตัวไม่สร้างผลกำไร ผู้บริหารจะสามารถมองเห็นได้ จากการรวบรวมข้อมูลในรูปของ Cost-Loss Matrix เผื่อเข้าใจความสัมพันธ์ค่าใช้จ่ายกับความสูญเสีย คือ ความสูญเสียทำให้เกิดกิจกรรมอะไรบ้าง ส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายใดบ้างซึ่งจะส่งต่อไปถึงการต้งเป้าหมายในปีถัดไป เพราะการพัฒนาต่อทำอย่างต่อเนื่องครับ
http://bit.ly/33rtKvX
😁😁😁
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#HozenKaizen
www.leantpm.co
2 บันทึก
2
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย