20 มี.ค. 2020 เวลา 08:01 • สุขภาพ
COVID-19 กับ 20/80 กฎแห่งความสำเร็จ ของพาเรโต
และ กลยุทธ Herd Immunity ของอังกฤษ
มันเกี่ยวกันยังไงเนี้ย เด่วผมจะเล่าให้ฟัง
http://massignition.blogspot.com/2014/12/2080.html
เชื่อว่า ในสังคม Blockdit นี้มีหลายท่าน น่าจะรู้จัก
" 20/80 กฎแห่งความสำเร็จ ของพาเรโต "
กฏนี้ บรรยาไว้โดย วิลเฟรโด พาเรโต
นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยน
กฎนี้ สรุปคร่าวๆก็คือ
ของที่สำคัญหรือมีประโยชน์ 20 % แรก
จะส่งต่อ ผลลัพธ์ 80 %
ของสำคัญจะมีน้อยแต่ Impact เยอะ
ถ้าจับจุดสำคัญได้
จะเหนื่อยน้อย จ่ายน้อยแต่ได้เยอะ
สถานการณ์ โรค COVID-19 ตอนนี้ก็เหมือนกัน
ยอดผู้ป่วยในอิตาลีสูงขึ้นน่ากลัว และที่น่ากลัวกว่า
คือ ยอดผู้เสียชีวิต วันละ 475 คน
หรือ ทุกๆ 3 นาที จะมีคนอิตาลีเสียชีวิตด้วยโรคนี้
และยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด ใน อิตาลี แซงจีนไปเรียบร้อยแล้ว
จากข้อมูลจากงานวิจัย ที่ตีพิมพ์ ใน JAMA (1)
วารสารทางการแพทย์อันดับหนึ่งใน USA
ลงข้อมูล เกี่ยวกับ demographic การระบาดในอิตาลี
https://jamanetwork.com/journals/jama/articlepdf/2763401/jama_livingston_2020_ig_200003.pdf
พบว่า คนไข้ส่วนใหญ่ อิตาลี ค่อนข้างสูงอายุ
median age อยู่ที่ 64 ปี
ผู้ป่วยอายุ 50ปี ขึ้น สูงถึง 75%
สูงกว่าในหลายๆงานวิจัยของจีน
ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 40-50 กว่าๆ
และจากปัจจัยด้านอายุ
ทำให้
- อัตราผู้ป่วยหนักของอิตาลี
สูงกว่าของจีน 1.8 เท่า (14% VS 24.9%)
- อัตราตายของอิตาลี
สูงกว่าของจีน 1.8 เท่า (4% VS 7.2%)
และเมื่อมาดู จำนวนคนไข้ที่เสียชีวิต ทั้งหมด
พบว่าเป็นผู้สูงอายุ >60 ปี ถึง 88%
ข้อมูลของทางจีน ก็ออกมาตรงกัน
ตาย 14.8% มาจาก คนวัย > 60 ปี ถึง 11.6%
คิดเป็น 83%
ตรงตาม กฏ 20/80
คนอายุ> 60 ปี 20% ใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ 80%
พูดง่ายๆก็คือ ผู้สูงอายุ คือ
จุดอ่อนที่ โรค COVID-19 ประสบความสำเร็จในการโจมตี
สามารถสร้างความเสียหายทั้งในด้าน
อัตราการใช้เตียง ICUเยอะ ใช้นาน ใช้บุคลากรดูแลมาก
ทำให้เกิด Medical overload ได้ง่าย
และ มีโอกาสเสียชีวิตสูงด้วยย
ดังนั้นจากลักษณะตัวโรคที่เรารู้แล้วว่า
คนไข้ COVID-19
80% ไม่มีอาการ หรือ มีอาการน้อย
คนที่มารพ. คือ Tip of Iceberg คือคนที่แสดงอาการ
และส่วนมากคนที่มีอาการ คือ ผู้สูงอายุ
ซึ่งก็คือ 20% ที่เหลือจะมีอาการหนัก
ใช้ทรัพยากรทางการแพทย์เยอะ และมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ตรงตามกฏ 20/80 ครั้งที่ 2
อิตาลี น่าจะรู้ว่าความจริงข้อนี้ จึงยอมเสียคน 20%
เพื่อรักษาทรัพยากรไว้รักษาประชาชนในส่วนที่เหลือ
อังกฤษ ที่ยังไม่ระบาดหนักเท่ากับอิตาลี คิดในมุมกลับกัน
จากบทวิเคราะห์ของ
ทาง Imperial college of London ออกบทวิเคราะห์มา
สามารถอ่านตัวเต็มได้ที่
อังกฤษเลือก จะไม่ป้องกันทุกแนวรับ
แต่ระดมสรรพกำลัง ไปปิดจุดอ่อน
คือ ประชากรสูงอายุ (>70ปี) 20% แทน
โดยมี มาตราการ strict social distance ในประชากรกลุ่มนี้
เพราะ ถ้าป้องกัน 20 % นี้ได้(คนอายุ >70 ปี )
ไม่ให้ติดเชื้อได้ เท่ากับ อังกฤษจะสามารถลด
- อัตราการใช้ ICU + Ventilator ได้ปริมาณมาก
- อัตราตายลง ได้ >80% ทันที
ทำให้ ไม่เกิด Over Medical capacity ของอังกฤษ
ตามรูปที่ 2 ที่เน้น Highlight
ส่วนคนอายุน้อย ให้ทำตามปกติเพื่อกระตุ้นให้ติดเชื้อ
และเกิด Herd Immunity ตามมา
จะได้ไม่เกิดการระบาด Wave 2
หลังยกเลิก Social distance ในผู้สูงอายุ
ส่วนคนหนุ่มที่อาการไม่หนัก
ก็อยู่บ้านไม่ต้องมารพ.จะได้ไม่เปลืองทรัพยากร
(อ่านเรื่อง Herd immunity คืออะไร ได้ที่ )
ถ้าเป็นหนักขึ้น ก็มีทรัพยากรพอรักษาไหว
และคนอายุน้อย ฟื้นตัวได้ไว ไม่อยู่ ICU นาน
ทำให้ประเทศ
- ใช้ทรัพยากรน้อยสุด
- ประหยัดสุด
- จบเร็วสุด เพราะเกิด Herd immunity แล้ว
- แต่คุ้มค่ามากที่สุด
แต่ Herd immunity ก็มีจุดอ่อน หลายจุด โดยเฉพาะ
1. ณ ข้อมูล ปัจจุบัน เรายังไม่สามารถแน่ใจว่า Immunity ที่เกิดขึ้นมาเป็น Protective immunity จริงหรือไม่ ?
เพราะยังมีรายงานผู้ป่วยที่อาจจะกลับเป็นซ้ำแม้ว่าจะน้อย
หรือ จะเป็นแค่ Viral shedding ก็ยังไม่มีใครรู้
เพราะถ้าไม่ใช่ Protective immunity
กลยุทธ Herd immunity ก็จะไม่ได้ผลทันที
(ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เป็นภาพ ก็ HIV ไง
ให้คนเป็น HIV หมดโลก ก็ไม่มี Herd immunityเกิดขึ้น
เพราะเป็นโรคที่เป็นแล้วไม่หายขาด )
2. ถ้าเป็น แบบ immunopathogenic ที่ reinfection
แล้วจะอาการหนักกว่าเดิม เหมือนที่เจอในไข้เลือดออก
จะทำให้อัตราตายสูงมากขึ้นไปอีก
เดินพัน ของอังกฤษสูงมากจริงๆ
พอๆกับ Russian Roulette เลย
เพราะ ตั้งอยู่บน สมมุติฐาน หลายข้อจริงๆ
ต่อตอนที่ 3 ตอนจบ
เราควรทำตามแบบอังกฤษไหม ?
Ref :
โฆษณา