20 มี.ค. 2020 เวลา 17:09 • ธุรกิจ
ข่าวด่วนครับ
คณะรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ลดดอกเบี้นนโยบาย อีก 0.25%
จาก 1% เหลือ 0.75%
ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์
มีผล วันที่ 23 มีนาคม 2563
ดังนั้น
อย่างน้อย ตั้งแต่วันจันทร์หน้า
เราควรจะเห็นแบงก์ทุกแบงก์ #ลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อต่างๆ
ในอัตราเดียวกันกับดอกเบี้ยนโยบาย
คือลดลง 0.25%
ดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร
ผมเคยเขียนอธิบายไว้ในโพสต์นี้ครับ
ในการประชุม นอกจากเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว
ยัง มีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย
- สถาบันการเงินต้องมีบทบาทเชิงรุกในการ #ช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องลูกหนี้
- สถาบันการเงินต้องเร่ง #ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อย่างเป็นรูปธรรม
- แบงก์ชาติต้องติดตามดู #การช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน
รายละเอียด ของผลการประชุม ตามนี้ครับ
“วันที่ 20 มีนาคม 2563 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25
จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (นัดพิเศษ)ในวันที่ 20 มีนาคม 2563
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีการประชุมนัดพิเศษ
เพื่อประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและกลไกการทำงานของตลาดการเงินของประเทศ
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการระบาดของ COVID-19 ในระยะข้างหน้ารุนแรงกว่าที่คาดไว้เดิม
รวมทั้งจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ซึ่งจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย
นอกจากนี้ การระบาดที่เกิดขึ้นได้สร้างความกังวลให้กับตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก
ซึ่งที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงินไทย
แม้ว่าระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ
คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี
จากร้อยละ 1.00 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลในวันที่ 23 มีนาคม 2563
เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ
บรรเทาปัญหาสภาพคล่องในตลาดการเงิน
และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนมาตรการการคลังของรัฐบาลที่ได้ออกมาแล้วและจะออกมาเพิ่มเติม
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งที่ผ่านมา
และในครั้งนี้จะเกิดผลต่อระบบเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อ
สถาบันการเงินจะต้องมีบทบาทเชิงรุกในการช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องของลูกหนี้
โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และประชาชน
รวมทั้งการเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
จึงขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยติดตามการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงิน
เพื่อให้มั่นใจว่าตลาดการเงินมีเสถียรภาพและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โฆษณา