22 มี.ค. 2020 เวลา 09:45
Yuval Noah Harari: โลกของเราหลังโคโรน่าไวรัสจะเป็นอย่างไร
ยูวัล โนอาห์ แฮรารี (Yuval Noah Harari) นักเขียนชื่อดังผู้เขียน Sapiens: A Brief History of Human , Homo Deus: A Brief History of Tomorrow และ 21 Lessons for the 21 st Century ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ Financial Times โดยระบุว่า มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญวิกฤตครั้งยิ่งใหญ่ การระบาดของโคโรน่าไวรัสอาจทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้
Source: Wikipedia
Under the skin surveillance
หนทางที่จะหยุดวิกฤตได้ประชาชนทุกคนจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลอย่างเคร่งครัดโดยวิธ๊คือ รัฐบาลคอยสอดส่องดูแลประชาชนและลงโทษผู้ฝ่าฝืน ซึ่งต้องขอบคุณเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เอื้อให้รัฐบาลทำอย่างนั้นได้ ตัวอย่างซึ่งเราเห็นได้จากรัฐบาลจีนที่สามารถคอยสอดส่องดูแล ติดตามผู้ติดเชื้อได้ผ่านเทคโนโลยีเหล่านี้ (่ผ่าน applications) การระบาดของโคโรน่าไวรัสอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีติดตามประชาชนในประเทศ ลึกจนถึงระดับใต้ผิวหน้งของเราที่รัฐบาลสามารถรับรู้ถึงอุณหภูมิของประชาชนคนนั้นจากการที่ใช้นิ้วมือกดเข้าไปในลิงก์ต่างๆ ของสมาร์ทโฟน
Emergency of pudding
ประชาชนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองถูกติดตามอย่างไร เทคโนโลยีการติดตามอาจจะพัฒนามาในรูปแบบการที่ให้ประชาชนใส่ สายรัดข้อมืออัจฉริยะเพื่อคอยติดตามอุณหภูมิของร่างกายและการเต้นของหัวใจ รัฐบาลมีระบบคำนวณประมวลผลข้อมูลเพื่อที่จะระบุว่าใครมีอาการเจ็บป่วยก่อนที่เจ้าตัวจะรู้ซะอีก และรู้ว่าเราไปที่ไหนมาบ้าง พบใครมาบ้าง เชื้อโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยมีใครเข้าข่ายที่จะติดไปบ้าง ระบบแบบนี้อาจสามารถหยุดยั้งการระบาดได้ดี แต่ผลเสียท่ี่จะเกิดขึ้นคือ ยิ่งรํฐบาลมีเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่ในมือ อาจจะสามารถรับรู้ถึงความคิด ความรู้สึกเราได้ อะไรทำให้เรา รัก โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจได้ มันดูค่อนข้างน่าสะพรึงกลัวไปไหม ถ้ารัฐบาลจะรู้ลึกถึงขนาดนี้ และเอาข้อมูลเหล่านี้มาจัดการความรุ้สึกนึกคิดของพลเมืองของตน ถึงแม้วิกฤตโคโรน่าจะจบลงไป รัฐบาลอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเก็บข้อมูล biometric เหล่านี้ต่อไป เราเคยต้องเลือกระหว่าง privacy และ security แต่ในรอบนี้เราอาจกำลังต้องเลือกระหว่าง privacy และ health
The soap police
การถามหรือให้ประชาชนต้องเลือกระหว่าง privacy หรือ health อาจเป็นคำถามที่ผิด ไม่ถูกต้องนัก เพราะเราสามารถมีความเป็นส่วนตัวและสุขภาพที่ดีได้โดยไม่ต้องโดยระบบติดตามสอดส่องของรัฐบาลขนาดนั้น สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการกับการระบาดถึงแม้จะมีการพัฒนาระบบติดตาม แต่ประเทศเหล่านี้เลือกที่จะใช้การตรวจหาผู้ติดเชื้อ และความร่วมมือรวมทั้งการให้ความรู้กับภาคประชาชนมากกว่าการเพิ่งพาเทคโนโลยีในการติดตาม การติดตามด้วยเทคโนโลยีและมีบทลงโทษที่รุ่นแรงอาจจะไม่ใช่วิธีการที่ดีนัก สิ่งสำคัญคือการให้ความร่วมมือของประชาชนและความเชื่อใจ เชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลของพวกเค้าในการแก้ไขปัญหา ทุกวันนี้ทุกคนหมั่นล้างมือ เพราะมีความรู้ว่าการล้างมือจะช่วยกำจัดไวรัสและลดการติดต่อ คนล้างมือไม่ได้เกิดจากความกลัวที่ใครจะมาจับ แต่เกิดจาการที่เค้ารู้ข้อเท็จจริง และเป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนเข้าใจ และพร้อมใจกันปฏิบัติ แต่การที่จะให้ทุกคนปฏิบัติเช่นนั้นได้ เราต้องอยู่ภายใต้ระบบที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันระหว่างรัฐกับประชาชน ความเชื่อใจในรัฐ ความเชื่อใจในสื่อมวลชน เป็นสิ่งสำคัญ
We need global plan
เรากำลังเผชิญทางเลือกระหว่าง nationalist isolation กับ global solidarity ขอแปลง่ายๆ ว่า ต่างคนต่างแก้ปัญหาของตัวเอง กับ การร่วมมือหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะ การระบาดและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโคโรน่าไวรัส ถือเป็นปัญหาของโลก ซึ่งทุกชาติจะต้องร่วมมือกันในการแกัไขปัญหา
ในการที่จะเอาชนะไวรัส ได้ เราต้องมีการแลกเปลี่ยน แบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน จีนกับสหรัฐควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จีนอาจจะแบ่งปันว่าสามารถเอาชนะไวรัสได้อย่างไร หมอในอิตาลีอาจค้นพบอะไรบางอย่างจากคนไข้ในช่วงเช้า ช่วงบ่ายอาจะมีการเแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหมอในอิหร่าน หรือ รัฐบาลอังกฤษอาจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรัฐบาลเกาหลีใต้ซึ่งเผชิญอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับรัฐบาลอังกฤษ
สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องการขณะนี้คือ global cooperation และ trust น่าเสียดายที่จนบัดนี้ เรายังไม่ได้เห็นสิ่งเหล่านี้เท่าที่ควร
สรุปและเรียบเรียงจาก Financial Times: Yuval Noah Harari: World after coronavirus
โฆษณา