25 มี.ค. 2020 เวลา 14:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิทยาศาสตร์พบความลับที่ทำให้นกบางสายพันธุ์สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนเมืองได้
ความลับที่ว่า เปรียบได้ดั่งประตู 2 บาน
บานแรกคือ
การมีสัดส่วนสมองที่ใหญ่
และบานที่ 2 คือการวางไข่ให้บ่อยครั้งขึ้น
จำนวนประชากรโลกที่มากกว่า 7 พันล้านคน ในปัจจุบัน (2020)
ทำให้เกิดการขยายพื้นที่เข้าไปแย่งพื้นที่ตามระบบนิเวศเดิม ของสิ่งมีชีวิตพันธุ์สายพันธุ์อื่นๆ เช่น สัตว์ป่า สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งเป็นสัตว์ 4 เท้า
รวมถึงสัตว์สองเท้าที่เป็นสัตว์ปีก นั่นคือ นกสายพันธุ์ต่างๆ
🔺คณะวิจัยจาก University of Gothenburg และ Gothenburg Global Biodiversity Centre in Sweden
เก็บข้อมูลจากนก 629 สายพันธุ์ ใน 27 เมืองใหญ่ทั่วโลก
และเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ใน Frontiers in Ecology and Evolution 25 มีนาคม (วันนี้)
ทำให้พบความลับว่า ทางออกที่ทำให้นกบางสายพันธุ์ ยังสามารถอยู่ในชุมชนเมือง
แม้ต้องเผชิญภาวะความไม่สมบูรณ์ของแหล่งอาหารดั่งเดิม
และมีความสามารถนำพาชีวิตรอดและเลี้ยงดูบุตร (ลูกนก) ได้ดี
แม้ต้องแย่งชิงตำแหน่งในการวางไข่และแหล่งหากิน กับพ่อแม่นกคู่อื่น หรือนกสปีชีส์อื่น
นั่นก็คือประตูทางออก 2 บาน
🔺ทางออกแรก คือ
การวิวัฒน์สมองให้ใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับสัดส่วนน้ำหนักตัว (Relative Brain Size)
เชื่อมโยงสู่ศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ในการเรียนรู้พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตอื่น รวมถึงมนุษย์ผู้รุกราน
ในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ทำให้นำพาชีวิตตัวมันเองและครอบครัวรอดได้
🔺และประตูทางออกที่ 2 คือการออกลูกฟักไข่ให้บ่อยขึ้น (เพิ่มจำนวนรอบต่อ 1 ช่วงชีวิต)
การเพิ่มจำนวนนกใน "ทีม" สปีชีส์ตัวเอง นำมาซึ่งความได้เปรียบของสายพันธุ์ ในการดำรงอยู่ในระบบนิเวศนั้น
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขนาดของสมอง ไม่ใช่ทางออกที่เกิดขึ้นกับนกพิราบ
ซึ่งถือว่าเป็นนกที่ฉลาดพอตัวในการเอาตัวรอดอยู่ได้ แม้สัดส่วนสมองจะเล็กกว่าสายพันธุ์อื่น
การวิจัยยังไม่สิ้นสุดเท่านี้ ขั้นต่อไปคือ การต้องเชื่อมโยงต่อว่า สายพันธุ์นก "ผู้รอด" มีเทคนิคเลือกแหล่งที่อยู่อย่างไร เพื่อการอยู่ร่วมกับชุมชนเมืองได้
🔺สำหรับ "สัตว์" ทางออกของการอยู่รอดเฉพาะเผ่าพันธุ์ คือ วิวัฒนาการของสรีระ ลักษณะทางกายภาพและการเพิ่มรอบการออกลูก
แต่สำหรับมนุษย์
หากต้องการที่จะอยู่รอดได้บนโลกโดนสันติ
ต้องมองข้ามขอบเขตของสายพันธุ์
ใช้ศักยภาพที่ล้ำลึกของสมองในการ "คิดและทำ" เพื่อให้ทุกสปีชีส์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
คงใช้หลักการเดียวกันอย่างสัตว์ไม่ได้
หรือถ้าใครจะทำตาม
โดยเฉพาะประการหลัง …
ก็คงต้องตัวใครตัวมันแล้วล่ะค่ะ ❕❕❕
นกไดโนสคูล
อ้างอิง
โฆษณา