26 มี.ค. 2020 เวลา 13:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เราอยู่ในยุคที่แฮกเกอร์สามารถฆ่าผู้คนได้มากกว่าอาวุธนิวเคลียร์?
ทุกคนบนโลกนี้อาจกังวลเกี่ยวกับระเบิดนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคิดว่ามันคือภัยที่อันตรายที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน
แต่คุณอาจรู้ไม่ถึงความจริงอีกอย่างที่ว่า การโจมตีแบบดิจิตอลนั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือคนจำนวนมากได้ในครั้งเดียวเช่นกัน
และยิ่งเทคโนโลยีของโลกนั้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรามากขึ้น มันจะยิ่งทวีความอันตราย
มันแตกต่างจากอาวุธนิวเคลียร์ที่จะทำให้ทุกคนกลายเป็นฝุ่นไอในระยะ 100 ฟุต และสังหารทุกชีวิตทันทีในระยะครึ่งไมล์
แต่การโจมตีทางไซเบอร์นั้นจะช้ากว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือคนจะตายจากการขาดอาหารและเทคโนโลยีที่พวกเราใช้มันไม่ได้อีกต่อไป
ยกตัวอย่างง่ายๆคือบนถนนที่สัญญาณไฟจราจรเกิดความผิดปกติพร้อมกัน จากนั้นความโกลาหลก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นตามมา
ฟังดูน่ากลัวแต่หลายเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นให้เห็นบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆกับประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย
อย่างในช่วงต้นของปี 2016 ได้มีแฮกเกอร์เข้าควบคุมระบบของโรงงานบำบัดน้ำดื่มของสหรัฐ เปลี่ยนส่วนผสมทางเคมีของมันให้เป็นพิษ
2017 มีแฮกเกอร์เข้าปิดระบบส่วนสำคัญของเครือข่ายพลังงานยูเครน และในปีเดียวกันกับโรงงานปิโตรเลียมของซาอุดีอาระเบีย
2018 มีการเข้าถึงระบบจัดไฟฟ้าของอังกฤษ และล่าสุดในปี 2019 มีการจู่โจมคล้ายกันในสหรัฐอเมริกา
เห็นได้ชัดว่ากลุ่มผู้มีอำนาจทางโลกไซเบอร์พุ่งเป้าไปที่ระบบจัดการพลังงาน และที่ยากขั้นสุดคือการตามหาตัวพวกเขา
ปัจจุบันประเทศที่เจริญก้าวหน้าให้ความสำคัญกับความปลอดภัยกับการบุกรุกจากภายนอกผ่านทางโลกไซเบอร์สูงมาก
ระบบที่สำคัญๆกับประเทศ เช่น การขนส่ง บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศ หรือโรงงานสารเคมี
ถ้าคิดจะป้องกันภัยจากมัน ก็คงจะเช่นเดียวกันกับการป้องกันนิวเคลียร์คือ”ไม่มีวิธีที่จะยับยั้งโดยสมบูรณ์” ทำได้แค่ทำให้ลดโอกาสโดนให้น้อยลง
ดังนั้นสงครามในโลกปัจจุบันแค่กำลังทหารคงไม่พออีกต่อไปแล้ว
โฆษณา