26 มี.ค. 2020 เวลา 12:08 • ธุรกิจ
ลองฝึกวิธีการนี้ แล้วคุณจะมองปัญหาเป็นของว่าง
ไม่ได้มีแต่ไทยหรอกนะที่มีปัญหา เด็กนักเรียนเอาชายเสื้อออกนอกกางเกง ที่ญี่ปุ่นเองก็มีเหมือน แต่ที่ต่างคือวิธีการรับมือ
แทนที่จะให้ครูคอยตรวจ ตามดุเด็ก ยุ่งยากมากมาย เค้ากลับเลือกที่จะเข้าใจความคิดเด็กและไม่บังคับ ปล่อยไว้แบบนั้น แต่สิ่งที่เค้าทำคือทำที่เขียนชื่อไว้ที่ชายเสื้อ ของเด็กทุกคน ถ้าชายเสื้อหลุดคนก็จะรู้ว่าชื่ออะไร อาจโดนแซว สร้างความอับอายทำให้เด็กๆไม่เอาเสื้อออกนอกกางเกงเลย
นี่คือพลังของคำว่าempathy หรือความเห็นอกเห็นใจ ที่เป็นองค์ประกอบแรกของdesign thinking วันนี้เราจะพูดถึง empathy กัน
ตัวอย่างที่สองเกิดที่อเมริกา รัฐเเคนซัส ซิตี้ มีสี่แยกหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับเมืองมาตลอด เพราะมีร้านเหล้า และมีแรงงานรายวันอยู่มาก มักจะมีการเมาแล้วทะเลาะวิวาท ปัสสาวะเรี่ยราด บางคนไม่มีห้องน้ำก็เอาสายยางตามบ้านคนมาอาบน้ำ
แมท เป็นตำรวจที่ได้รับมอบหมายมาให้สะสางปัญหาที่เกิดขึ้นที่นี่ แมทคิดไม่ตกจึงไปปรึกษาลินดา ลินจึงบอกว่า เเมทนายเลิกเป็นตำรวจสักแปป แลัวลองเข้าใจพวกเค้าบ้าง นั่นทำให้เเมทคิดว่าคนพวกนี้น่าสงสาน อยู่แบบวันต่อวัน ไม่ห้องน้ำบางทีไม่อะไรจะกิน เค้าจึงเปิดห้องน้ำที่ศูนย์ให้คนเข้าฟรี และนำเงินของเค้าไปซื้อถั่วนำมาต้มทิ้งไว้ ใครอยากกินก็กินได้ แถมยังมีกาแฟให้อีก หลังจากนั้นก็พาคนเหล่านี้ไปเป็นอาสาสมัคร ช่วยคนในชุมชน เมื่อพวกเค้ารู้สึกได้รับการดูแล ก็ทำให้พวกเค้าทำตัวดีขึ้น ร้านค้าก็ย้ายกลับมา ทำให้เมืองครึกครื้นขึ้น ผ่านไปหนึ่งปี อัตราอาชยากรรมลดงต่ำสุดของเมืองแคนซัสเลย
อีกสักตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อว่าการเก็บภาษี แค่ได้ยินก็ขยาด ไม่อยากจ่ายแล้ว แต่ด้วยความเข้าใจคนของรัฐบาล จึงออกระบบ furusato nozei (การจ่ายภาษีบ้านเกิด) โดยเค้าคิดว่าคนน่าจะอยากจ่ายภาษีให้บ้านเกิดมากกว่า แต่ยังไม่หมดแค่นั้น คุณจะได้ของขึ้นชื่อของเมืองนั้นๆ ไปด้วยตามอัตราที่จ่ายภาษี นั่นทำให้คนรู้สึกเหมือเป็นการshoppingมากกว่า บางคนก็จ่ายให้เมืองที่มีของขึ้นชื่อที่ตัวเองอยากกิน
ถือว่าใช้คำว่าempathyได้ดีมากเลย หวังว่าคุณจะได้อะไรบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ
โฆษณา