26 มี.ค. 2020 เวลา 14:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ปลานิลเเละปลาทับทิมต่างกันอย่างไร?
ซึ่งเเน่นอนปลาสองชนิดนี้
ไม่ได้เป็นปลาดั่งเดิมพื้นเพของไทย
มีคำกล่าวอยู่ ผมค่อนข้างประทับใจ ว่า
ปลานิลคือปลาของพ่อ
#ก่อนอื่นขอเกริ่นสักนิดหน่อยคือผมไม่ได้สนใจเรื่องปลาเพราะไม่ค่อยได้กินปลาสติปัญญาเลยไม่ค่อยจะมี
วันนี้ก็เช่นเคยก็ได้ลัดเลาะไปในbd
#เห็นเพจสอนทำอาหารของท่านหนึ่งชื่อเพจขออภัยจำไม่ได้เพราะไม่ค่อยได้ทานปลา😞
ในเพจเห็นปลาทับทิม
สมองอันน้อยนิดของผมเลยฉุกคิดว่า
แล้วไอ้ปลานิลกับปลาทับทิมมันต่างกันอย่างไร!!??
#อยากรู้ไหมมาสิตามผมมา
#ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus
เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดีปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกา เเน่นอนมาไกล
พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลนำเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
#เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อนํ้าภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
#ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile)
ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) ส่วนในสื่อมวลชนญี่ปุ่นกล่าวถึงที่มาของชื่อปลานี้ว่า นิล
#มาจากตัวอักษรคันจิตัวหนึ่ง
ในพระนามอะกิฮิโตะ คือตัว
(ไม่มีเเป้นพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น😅)
ตัวอักษรนี้ในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีอ่านสองแบบคือฮิโตะหรือนิน
และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม
# เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี กินง่ายโตเร็ว
#การเพาะพันธุ์ปลานิลในประเทศไทยเริ่มมีการบันทึกสถิติในปี พ.ศ. 2517 นับจากนั้นมา ปลานิลหน้าฟาร์มได้สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไม่น้อยกว่า 107,000 ล้านบาท
#จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตปลานิลไม่น้อยกว่า 220,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าหน้าฟาร์ม 12,000 ล้านบาท ปลานิลยังเป็นปลาน้ำจืดเพื่อการส่งออกที่มีศักยภาพสูงกว่าปลาชนิดอื่น
นอกจากนี้แล้ว ปลานิลยังเป็นปลาที่ชาวไทยบริโภคกันมากที่สุดแล้ว ยังทำให้เกิดการมีงานทำแก่ประชาชนมากกว่าล้านคนในฟาร์มปลานิลที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 300,000 แห่งทั่วประเทศ
#ในปัจจุบันผมไม่เเน่ใจนี้เป็นข้อมูลค่อนข้างเก่า.. ประเทศไทยยังส่งออกปลานิลไปยังตลาดต่างประเทศทั้งในยุโรป, ตะวันออกกลาง, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และเอเชีย ในปี พ.ศ. 2551 ตลาดสหภาพยุโรปกลายเป็นตลาดอันดับ 1 ของปลานิล คิดเป็นปริมาณส่งออก 7,758.98 ตัน
#รองลงมาคือ ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง มีปริมาณการส่งออก 5,583.91 ตัน ส่วนตลาดสหรัฐฯอยู่ในลำดับที่ 3 มีปริมาณ 4,786.27 ตัน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกปลานิลไทยไปยังประเทศต่างๆในสหภาพยุโรปมากที่สุดถึงร้อยละ 40 รองลงมาคือ สหรัฐฯร้อยละ 37 ส่วนประเทศในแถบตะวันออกกลางมีสัดส่วนราวร้อยละ 15 ของการส่งออกรวม
โดยทำการส่งออกทั้งหลายรูปแบบทั้งปลานิลสด, ปลานิลที่ยังมีชีวิต และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ในปี พ.ศ. 2550 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่า ประเทศไทยสามารถผลิตปลานิลได้เป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคเอเชีย รองลงมาจากประเทศจีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
#ปลาทับทิม
ขอบคุณรูปจากเพจสุขใจไปกลับครอบครัว
ปลานิลแดง เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จากปลานิลธรรมดา ๆ โดยนำไปผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอเทศของศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดของจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น โดย ดร.ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ
#ได้ปลาที่มีลักษณะเป็นปลาที่มีสีขาวอมแดง จึงขึ้นทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้รับการพระราชทานนามว่า "ปลานิลแดง" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
1
#ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอมแดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ปลาทับทิม"💛💛💛
ปลานิลซูเปอร์เมล หรือ ปลานิลเพศผู้ GMT เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จนได้ปลาเพศผู้ทั้งหมด โดยทำการดัดแปลงโครโมโซม ซึ่งปลานิลซูเปอร์เมลให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลทั่วไป
ในอติดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
เเหล่งที่มา หนังสือตามรอยพ่อ
สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ💛
โฆษณา