29 มี.ค. 2020 เวลา 03:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วิกฤตการณ์ COVID-19 กับการเกิดวิวัฒนาการทางความคิด ?
วิกฤตการณ์โรคระบาด COVID-19 ที่เราประสบกันอยู่ตอนนี้ นำพาความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ และ สังคม ทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน การเกิดวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ได้เปิดประตูบานใหม่ที่ทำให้มนุษย์เกิด “วิวิฒนาการ” (Evolution) ทางด้านความคิดและเทคโนโลยี ด้วยการ “ปรับตัว” เข้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ
ตัวเลขของผู้ใช้ใหม่ (New User) ของเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เข้ามารองรับกับวิกฤตการณ์ไม่ว่าจะเป็น Grab, zoom และ แอพพลิเคชั่นต่างๆ นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความสะดวกสบายและตอบโจทย์ปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบันนี้
แอพพลิเคชั่น Zoom ที่กำลังมาแรงสุดๆ สำหรับ “Work from home” และ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้
โดยตัวแอพพลิเคชั่นดังกล่าว เป็นแอพพลิเคชั่นการสร้างห้องประชุมทางไกล ที่สามารถแชร์หน้าจอ หรือ นำเสนอสไลด์ ให้ผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ เห็นได้
สิ่งที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีนี้ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2013 แต่อาจไม่ได้รับความสนใจในไทยมากนัก เนื่องจากเราไม่มี “ เหตุ ” ให้ต้องปรับตัวกัน ในเมื่อการประชุม และ การเรียนการสอน ก็ยังสามารถทำได้ในสถานที่ทำงาน หรือ โรงเรียนต่างๆ
แต่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ COVID-19 จะเห็นได้ว่า ยอดการใช้แอพลิเคชั่น Zoom เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผลของการ Work from home
นอกจากนี้แอพลิเคชั่นดังกล่าวยังนำมาปรับใช้ในวงการศึกษา โดยเริ่มมีการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่านทาง Zoom
แอพลิเคชั่นที่ได้รับความสนใจอีกอย่างคือแอพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์ เช่น Grab food และ Foodpanda เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ร้านค้าต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบของแอพลิเคชั่นเหล่านี้ ก็เริ่มจะทะยอยมาลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
และจากลูกค้าที่ไม่เคยใช้แอพลิเคชั่นนี้ ก็ต้องหันมาเรียนรู้การใช้งานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยการเสนอส่วนลดต่างๆ ที่ถือว่าคุ้มค่ากว่าการต้องเดินทางออกไปซื้อเอง
แม้วิกฤตการณ์จะน่ากลัว แต่ก็นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
มนุษย์มีมาตรการโต้ตอบสถานการณ์เหล่านี้ด้วยการ “ปรับตัว” ไม่แตกต่างไปจากสิ่งที่ ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชื่อดัง ได้กล่าวถึงในเรื่องของ “ การคัดสรรตามธรรมชาติ (Natural selction) ” ในหนังสือของเขา “ กำเนิดสิ่งมีชีวิต (On the Origin of Species) ”
จากคนที่ไม่เคยได้สัมผัสเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ต้องหันเหตัวเองมาศึกษาเครื่องมือดังกล่าว เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์ช่วงนี้ไปได้
โฆษณา