1 เม.ย. 2020 เวลา 08:30 • ประวัติศาสตร์
70 ล้านปีก่อน โลกเราหนึ่งวันมีเวลาแค่ 23 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น หลักฐานจากการศึกษาฟอสซิลหอยโบราณ
2
หลักฐานที่ได้จากฟอสซิลหอยกาบซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วชนิดหนึ่ง ทำให้เราได้ทราบว่าโลกยุคครีเทเชียสตอนปลาย เมื่อราว 70 ล้านปีก่อน มีการหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าในยุคปัจจุบัน ทำให้หนึ่งวันกินเวลานานเพียง 23 ชั่วโมงครึ่ง และในหนึ่งปีมีถึง 372 วัน
ขอบคุณรูปภาพจาก Techspot.com
ทีมนักธรณีเคมีจากมหาวิทยาลัย Vrije Universiteit Brussel (VUB) ของเบลเยียม เผยผลการศึกษาข้างต้นลงในวารสาร Paleoceanography and Paleoclimatology ซึ่งว่าด้วยการวิจัยทางสมุทรศาสตร์และภูมิอากาศวิทยาของโลกดึกดำบรรพ์
โดยชี้ว่าในยุคที่ไดโนเสาร์ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในทะเลที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของหอยกาบสายพันธุ์โบราณ ล้วนเป็นผลมาจากการหมุนของโลกในอัตราเร็วที่แตกต่างกับทุกวันนี้
ทีมผู้วิจัยใช้ลำแสงเลเซอร์เจาะรูขนาดเล็กจิ๋วในฟอสซิลหอยกาบ Torreites sanchezi ที่ได้จากชั้นหินบนภูเขาของประเทศโอมาน เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและวิเคราะห์ชั้นการเจริญเติบโตของเปลือกหอย ซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลในอดีตได้เหมือนกับวงปีของต้นไม้
ผลการวิเคราะห์พบว่าหอยกาบชนิดนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเนื้อของเปลือกหอยเพิ่มขึ้นวันละ 1 ชั้น และเติบโตในเวลากลางวันได้เร็วกว่าตอนกลางคืน
แสดงถึงการดำรงชีวิตแบบต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นพืช สัตว์ หรือสาหร่ายที่ใช้แสงอาทิตย์สร้างพลังงานหล่อเลี้ยงตนเอง
ขอบคุณรูปภาพจาก Techspot.com
ดวงจันทร์กำลังถอยห่าง ทำให้เวลา 1 วันบนโลกยาวนานขึ้น
พบรอบการเปลี่ยนแปลงวงโคจรโลกในทุก 4 แสนปี
โลกเข้าสู่ช่วงอายุใหม่ “เมฆาลายัน” ตั้งแต่ 4,200 ปีก่อน
ช่วงปลายยุคครีเทเชียสที่ไดโนเสาร์ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ โลกหมุนเร็วจนหนึ่งปีมี 372 วัน
นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรยุคนั้นสูงกว่าในปัจจุบัน โดยอาจแตะระดับสูงสุดที่ 40 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน และสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว
ผลคำนวณจากอัตราการเติบโตของชั้นเปลือกหอยบ่งชี้ว่า เวลาหนึ่งวันในช่วงปลายยุคครีเทเชียสอาจสั้นกว่าในทุกวันนี้อยู่ 30 นาที ส่วนการที่หอยกาบมีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากันในแต่ละฤดูกาล
ยังทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถนับจำนวนวันที่แท้จริงในหนึ่งปีได้อีกด้วย โดยการที่โลกหมุนเร็วกว่าในยุคดังกล่าว ทำให้หนึ่งปีมี 372 วัน มากกว่าในปัจจุบันถึง 7 วัน แต่จำนวนวันที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ระยะเวลา 1 ปียาวนานขึ้นแต่อย่างใด
ขอบคุณรูปภาพจาก Techspot.com
แม้ก่อนหน้านี้จะเคยมีงานวิจัยที่ชี้ว่า โลกยุคดึกดำบรรพ์มีจำนวนชั่วโมงในแต่ละวันน้อยกว่า เช่นเมื่อ 1.4 พันล้านปีก่อน หนึ่งวันอาจจะยาวนานเพียง 18 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ทีมผู้วิจัยจากเบลเยียมบอกว่า การค้นพบล่าสุดในครั้งนี้มีความแม่นยำถูกต้องมากที่สุดครั้งหนึ่ง เท่าที่เคยมีการศึกษากันมา
ส่วนสาเหตุที่ทำให้โลกค่อย ๆ หมุนช้าลง จนมีอัตราความเร็วในระดับปัจจุบันนั้น เนื่องมาจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ทำให้กระแสน้ำในมหาสมุทรสร้างแรงเสียดทานที่ต้านการหมุนของโลก นอกจากนี้ การที่ดวงจันทร์โคจรถอยห่างออกจากโลกไปทีละน้อย ยังทำให้ช่วงเวลาในหนึ่งวันยาวนานขึ้นอีกด้วย
เครดิตโดย : แอดฟลุ๊ค
โฆษณา