30 มี.ค. 2020 เวลา 07:14
Covid19 เมื่อเทียบกับพระคัมภีร์ตักศิลาแล้วจะมีส่วนคล้ายกับโรคในกลุ่มไข้พิษไข้กาฬ
Covid19 เมื่อเทียบกับพระคัมภีร์ตักศิลาแล้วจะมีส่วนคล้ายกับโรคในกลุ่มไข้พิษไข้กาฬ
Covid19 เมื่อเทียบกับพระคัมภีร์ตักศิลาแล้วจะมีส่วนคล้ายกับโรคในกลุ่มไข้พิษไข้กาฬซึ่งต้องรักษาให้ดีมิเช่นนั้นจะเกิดโทษในภายหน้า วิธีรักษาไข้พิษไข้กาฬให้แพทย์ใช้ยากระทุ้งพิษให้สิ้น ถ้ากระทุ้งพิษไม่หมด ก็จะกลับลงไปกินตับกินปอด ให้ถ่ายออกมาเป็นโลหิตเสมหะ ทำพิษต่างๆ ถ้ารักษาดีก็มีโอกาสรอด ถ้ารักษาไม่ดีก็ตาย ดังนั้นแพทย์เมื่อจะกระทุ้งพิษให้ไข้พิษไข้กาฬออกมานั้น จะต้องใช้ยาชื่อ แก้ว ๕ ดวง (ยาห้าราก)
และยาอื่นๆ ตามลำดับ ดังนี้
ขนานที่ ๑ ยากระทุ้งพิษ (ยาแก้ว ๕ ดวง) มีดังนี้
๑. รากชิงชี่
๒. รากย่านาง
๓. รากคนทา
๔. รากเท้ายายม่อม
๕. รากมะเดื่อชุมพร
ยาทั้งนี้ เอาสิ่งละเสมอภาคกัน ต้มให้รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ห่างกันประมาณ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง สรรพคุณ กระทุ้งพิษ
ขนานที่ ๒ (ยาประสะผิวภายนอก) มีดังนี้
๑. ใบย่านาง
๒. ใบมะขาม
๓. เถาวัลย์เปรียง
ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ละลายน้ำซาวข้าวพ่น ถ้าไมดีขึ้น กระทำพิษให้ตัวร้อนเป็นเปลว ถ้าตัวร้อนจัดให้แต่งยาพ่นซัำอีก
ขนานที่ ๓ (ยาพ่นภายนอก) มีดังนี้
๑. เถาขี้กาแดง เอาทั้งใบ และราก
๒. เถาย่านาง เอาทั้งใบ และราก
๓. รากฟักข้าว
ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละเสมอภาค บกแทรกแทรกดินประสิวพอควร ละลายน้ำซาวข้าว ทั้งให้กินและพ่นภายนอก เมื่อใช้ยาดังกล่าวแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้ใช้ยาขนานต่อไป ดังนี้
ขนานที่ ๔ ยาพ่น และยากิน มีดังนี้
๑. ใบทองหลางใบมน
๒. เปลือกทองหลางใบมน
๓. ข้าวสาร
ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่ละเสมอภาค บดแทรกดินประสิว ทั้งกินทั้งพ่น เมื่อได้ใช้ยากินกระทุ้งภายใน และภายนอกแล้ว ก็ให้ต้มยากินรักษาภายในอีกด้วย ดังต่อไปนี้
ขนานที่ ๕ ยาแปรไข้ มีดังนี้
๑. ใบมะยม
๒. ใบมะนาว
๓. หญ้าแพรก
๔. ใบมะกรูด
๕. ใบมะตูม
๖. หญ้าปากควาย
๗) ใบคนทีสอ
๘) ใบหมากผู้
๙) ขมิ้นอ้อย
๑๐) ใบมะเฟือง
๑๑) ใบหมากเมีย
ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละเสมอภาค บดละลายน้ำซาวข้าว รับประทานแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี นอกจากยารับประทานแปรไข้ภายในแล้ว ยังมียาพ่นแปรพิษภายนอกอีก คือ
ขนานที่ ๖ ยาพ่นแปรผิวภายนอก มีดังนี้
๑. รังหมาร่าที่ค้างแรมปี
๒. หญ้าแพรก
๓. หญ้าปากควาย
๔. ใบมะเฟือง
ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละเสมอภาค บดปั้นเป็นเม็ด เอาน้ำซาวข้าวเป็นกระสาย พ่นเพียง ๓ ครั้งเท่านั้น เมื่อได้รักษาเป็นระยะมาแล้ว อาการไม่ดีขึ้นตามลำดับ ก็ควรให้กินยารักษาไข้เฉพาะ เรียกว่า ยาครอบไข้ตักศิลา
ขนานที่ ๗ ยาครอบไข้ตักศิลา มีดังนี้
๑. จันทน์แดง
๒. ง้วนหมู
๓. ใบผักหวานบ้าน
๔. กระลำพัก
๕. หัวคล้า
๖. รากฟักข้าว
๗. กฤษณา
๘) ใบสวาด
๙) รากจิงจ้อ
๑๐) ใบมะนาว
๑๑) จันทน์ขาว
๑๒) รากสะแก
๑๓) เถาย่านาง
๑๔) ขอนดอก
ยาทั้งนี้ หนักสิ่งละเสมอภาค บดแทรกพิมเสนพอควร ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสาย รับประทานเป็นยารักษาภายใน รับประทานเป็นประจำจนกว่าจะหาย
หมอพจ - เพจยาไทย
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
โฆษณา