30 มี.ค. 2020 เวลา 09:37 • สุขภาพ
Grab เรียกค่าบริการ 35% สูงเกินควรไหม ?
ขอบคุณภาพจาก https://www.naewna.com
คุณเก่งการ เหล่าวิโรจนกุล ผู้อำนวยการรัฐกิจสัมพันธ์ แกร็บ ประเทศไทย ... ส่ง ข้อมูลมาให้ใน line ฟิล์ม
มาเพื่ออธิบายข้อคำถามนี้ที่ถามไปเมื่ออาทิตย์ ที่แล้วดังนี้ค่ะ
1. กรณีการเก็บ 35% กับร้านอาหาร
แต่ไหนแต่ไร Grab เก็บเรียกค่าบริหารจัดการกับร้านอาหารตั้งแต่ 0% ถึง 35% อยู่แล้ว ทั้งนี้ เพราะร้านอาหารในระบบของเรามีหลายประเภท (มีทั้งร้านทั่วไปและร้านที่ได้รับความนิยมสูง) บริษัทส่งอาหารออนไลน์ในตลาดอื่นๆ ก็เรียกเก็บค่าบริการคล้ายๆ กับ Grab ซึ่งก็มีทั้งเรียกเก็บเท่ากันและสูงกว่า เช่น ร้านที่ขายดีมากๆ เราก็เก็บค่าจัดการน้อยกว่าร้านปกติ ซึ่งเป็นวิธีปกติทางการค้า
 
ในภาวะที่มีความต้องการสั่งอาหารแบบออนไลน์สูงมากเป็นประวัติการณ์เช่นนี้ Grab ขอยืนยันว่า Grab ยังคงเรียกเก็บค่าสั่งอาหารจากลูกค้าตามบ้านในราคาเดิม และ Grab ก็เรียกเก็บค่าบริหารจัดการจากร้านอาหารเดิมที่อยู่ในระบบ Grab อยู่แล้วในอัตราเดิม!
ส่วนลูกค้าร้านอาหารใหม่ที่ต้องการเข้ามาอยู่ในระบบของ Grab (ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารรอเข้าคิวอยู่เป็นจำนวนมาก) Grab ได้พิจารณาปรับลดการเก็บค่าจัดการกับร้านอาหารลดลง! ในช่วงโควิด-นี้
กรณีหากเป็นร้านอาหารขนาดเล็ก Grab จะปรับจาก 35% ให้เหลือ 30% เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายนถึงสิ้นมิถุนายน 2563 แต่หากเป็นกรณีร้านอาหารที่ได้รับความนิยมสูงมากๆ อยู่แล้ว กล่าวคือมียอดสั่งซื้อสูง Grab ก็อาจเรียกเก็บในอัตราที่ต่ำกว่า 30% ได้
2. ร้านอาหารต้องผูกขาดการทำสัญญากับ Grab เจ้าเดียวหรือไม่
Grab ไม่เคยบังคับใครให้ทำสัญญากับ Grab คนเดียว ร้านอาหารที่มาผูกกับ Grab สามารถทำสัญญาอีกกับบริษัทใดๆก็ได้ อย่างไรก็ตามหากร้านอาหารใดตัดสินใจทำสัญญากับ Grab บริษัทเดียว เราก็อาจจะพิจารณาสมนาคุณลดอัตราค่าบริการเพื่อเป็นน้ำใจที่ร้านนั้นๆ มอบความไว้วางใจให้กับเรา
3. Grab มีนโยบายรับคนส่งอาหาร และร้านอาหารเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
ปัจจุบัน Grab ยังคงรับคนส่งอาหารเข้ามาในระบบอีกเรื่อยๆ ครับ ช่วงนี้เนื่องจากมีคนว่างงานเยอะรวมถึงคนที่ต้องการทำอาชีพเสริม เราจึงช่วยรับสมัครคนเข้ามาระบบเราเพิ่มอีกเดือนละประมาณหมื่นคน (ตอนนี้มีคนส่งอาหารในระบบของแกร็บแสนกว่าคนอยู่แล้ว) ในส่วนของการรับร้านอาหารเพิ่ม เรามีร้านอาหารเข้าคิวรอสมัครมาเข้าระบบ Grab กว่าวันละหลายพันราย ซึ่งเราจะพยายามจะรับให้ได้เยอะที่สุด
4. บางบริษัทคุยว่าไม่เก็บค่าจัดการจากร้านค้าเลย... อันนี้อธิบายได้ว่า ?
บางบริษัทเลือกเก็บจากร้านอาหารเยอะหน่อย ก็เพราะจะเก็บค่าส่งอาหารจากคนสั่งน้อยหน่อย (Grab อยู่ในประเภทนี้ครับ) บางบริษัทมีนโยบายตรงข้ามกล่าวคือเลือกที่จะเก็บค่าจัดการจากร้านอาหารน้อยหน่อย แต่จะไปเรียกเก็บค่าส่งจากผู้สั่งอาหารสูงหน่อย
ทั้งนี้ก็เพราะเป็นปกติทางการค้าที่ระบบการส่งอาหารจะต้องมีค่าใช้จ่ายค่าจัดส่งครับ ดังนั้นถ้าไม่เก็บจากร้านอาหารก็ต้องเก็บค่าส่งจากผู้สั่งอาหารครับ
5. บริษัทส่งอาหารแบบออนไลน์ทำกำไรดีแค่ไหน?
ตัวเลขผลประกอบการทั้ง 4 บริษัทของผู้ส่งอาหารเจ้าหลักของประเทศที่ยื่น กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ปี 2561 พบว่าทุกบริษัทขาดทุนครับ เจ้าใหญ่สุดเช่น Grab ก็จะขาดทุนเยอะกว่าเพื่อน ที่ขาดทุนกันทุกบริษัทก็เนื่องจากว่าบริษัทควักเนื้อ เพื่อลดราคาค่าส่งอาหารกับผู้สั่งอาหาร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเชิญชวนในการสั่งอาหารผ่านระบบออนไลน์
6. สร้างงานสร้างรายได้กับคนไทยอย่างไรบ้าง
ปัจจุบัน Grab ช่วยให้คนไทยแสนกว่าคนให้มีรายได้จากการเป็นพาร์ตเนอร์ส่งอาหารกับเรา และ Grab ช่วยให้ร้านอาหารทั้งใหญ่และเล็กในกรุงเทพและอีก 20 จังหวัดทั่วประเทศไทยเกิดการซื้อขายสั่งอาหารมากกว่า 10 ล้าน ออเดอร์ต่อเดือน
 
นอกจากนั้น Grab ได้ช่วยเหลือดูแลผู้ขับขี่ส่งอาหารของเราในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตรวจสุขภาพ การอบรมให้ความรู้ทักษะต่างๆ ให้ทุนการศึกษาแก่บุตรหลาน การช่วยเหลือทางการเงินระยะสั้นแก่ผู้ขับขี่
7. ช่วยเหลือดูแลคนขับและผู้สั่งอาหาร เพื่อป้องกัน Covid อย่างไรบ้าง?
Grab ที่สนับสนุน E-payment มาตลอดในหลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน มีผู้ใช้ระบบจ่ายเงิน E-Wallet ของเรามีอัตรามากกว่า 40% ครับ ซึ่งสูงสุดในไทยในบรรดาบรรษัทส่งอาหาร
Grab เป็นบริษัทแรกของผู้ส่งอาหารในไทยที่ประสานการทำงานกับกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ต้นปี 2563ในการตรวจสุขภาพผู้ขับขี่ของเราและ จัดหาหน้ากากและอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ ให้แก่ผู้ขับขี่ รวมทั้งการให้ความรู้ต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นของ Grab ที่จำเป็นต่อการป้องโควิดแก่ทั้งผู้ขับขี่ ร้านอาหาร และผู้สั่งอาหารตลอดมา
โฆษณา