30 มี.ค. 2020 เวลา 16:36 • การศึกษา
เพลง ไอศครีม วอลล์, เนสท์เล่ และ เสียงเข้าประตู 7/11 ลูกค้าจำเพลงใดได้ดีที่สุด เคยสงสัยไหมว่าทำนองเพลงบางอย่าง แม้ไม่เห็นสินค้า แต่เมื่อได้ยินเราก็จำได้แม่นว่าเป็นสินค้าอะไร เพราะอะไรเราจำเพลงบางอย่างได้ดี ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจฟัง แต่บางเพลงฟังหลาย ๆ ครั้ง พอไม่ได้ยินสักพัก ก็ลืมไป
Cr google
เสียดาย ที่ตอนเด็ก ๆ ไม่ได้เรียนการอ่านโน๊ตดนตรี แต่ก็รู้ว่ามันมีแค่โน๊ตดนตรี 8 ตัวนี้แหล่ะ (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด) ทุกเสียงบนโลกนี้จำกัดที่โน๊ต 8 ตัวนี้เท่านั้น แต่ทำไมบางเพลงเราฟังแล้วเคลิ้ม ๆ เพลิน ๆ บางเพลงฟังแล้วเฉย ๆ บางเพลงฟังแล้วสนุก หรือเศร้า ความรู้สึกแบบนี้มาได้อย่างไร? จากที่ไม่ได้มีพื้นฐานดนตรีแต่ช่างสังเกตุ และฟังบ่อย ๆ มาดูกันว่าเพลงไอศครีม วอลล์ ทำไมถึงอยู่ในใจเรามาถึงอายุน้อยเท่านี้ โดยไม่เสื่อมคลาย (555)
Cr google
ย้อนไปเกือบ 500 ปีก่อนคริสตกาล Pythagoras ชาวกรีกโบราณได้ค้นพบ เสียงที่มีความคล้องจอง (consonance) และเสียงที่แปร่ง (dissonance) โดยนำหลักคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ เขาทดสอบเสียงจาก ฆ้อนที่มีน้ำหนักต่างกัน 4 อัน เรียงตามอักษร A,B,C และ D ****** 12 ปอนด์ (A) / 9 ปอนด์ (B) / 8 ปอนด์ (C) / และ 6 ปอนด์ (D) **** 1 ปอนด์ มีค่าโดยประมาณเกือบครึ่งกิโลกรัม**** โดยฟังเสียงตกกระทบของฆ้อน สรุปว่า ฆ้อน A และ D ให้ค่าเท่ากับ 12:6 = 2:1 (12 ปอนด์ กับ 6 ปอนด์) เรียกว่า Octave **** โด (แรก) และ โด (สุดท้าย)**** (ดูรูปประกอบด้านล่าง)
Octave 2:1
เมื่อตีฆ้อน A และ ฆ้อน B เกือบพร้อมกัน จะให้เสียงไพเราะ (consonance) = (12:9 = 4:3 = perfect fourth) และ เมื่อตีฆ้อน A และ ฆ้อน C เกือบพร้อมกัน จะให้เสียงไพเราะ (consonance) =(12:8 = 3:2 = perfect fifth) ตัวนี้จำให้ดี ๆ นักดนตรีใช้บ่อยมากในการสร้างความสมดุลย์ สร้างสุนทรีย์ของเพลงให้กลมกล่อม **** แต่ถ้าตีฆ้อน B และ ฆ้อน C เกือบพร้อมกัน จะให้เสียงแปร่ง (dissonance) = 9:8 เรียกว่า whole tone หรือ whole step interval (เสียงที่ใกล้กัน เช่น โด กับ เร ***** เร กับ มี : ผู้เขียน)
Cr google
นักดนตรีจะนำประโยชน์ของเสียงไพเราะ และเสียงแปร่ง มาใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรคดนตรีให้มีความน่าสนใจ เช่น ซิมโฟนี, ฟยุค, โอเปร่า ฯลฯ
Cr google
เปียโนปัจจุบัน โด (แรก) มีความยาวของสายเคเบิ้ล 40 นิ้ว โด (สุดท้าย) มีความยาวของสายเคเบิ้ล เท่ากับ 20 นิ้ว ***หลัก octave 2:1*** ขอร์ดแรกของ โด จะเรียงได้ เป็น ขอร์ด C (โด) D (เร) E (มี) F(ฟา) G(ซอล) A(ลา) B(ที) = ขอร์ดสีขาว เรียกภาษาอังกฤษว่า เมเจอร์ (major) ขอร์ดสีดำ == ที่อยู่ระหว่างขอร์ดสีขาวเรียกว่า แฟลต b (flat) ตามรูปข้างบน นับรวมทั้งหมดเท่ากับ 12 ตัวโน๊ต ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อฟังเสียงเมเจอร์ จะได้อารมณ์อ่อนหวาน เคลิ้ม เพลิน แต่ ถ้าฟังเสียงแฟลต (ตัวโน้ตดำ) จะให้อารมณ์ เศร้า เหงา หว้าเว่ หรือตื่นตัว
Cr google
กลับมาฟังเพลงไอศครีม วอลล์ == โน้ต เพลง จะได้ตามนี้ ท่อนแรก ****E มี G ซอล C โด**** ขอร์ด C เมเจอร์ ท่อนที่สอง ****A ลา C โด F ฟา **** ขอร์ด F เมเจอร์**** ท่อนที่สาม ****B ที C โด D เร C โด **** ขอร์ด C เมเจอร์
ท่อนแรกได้ G เป็น perfect fifth (นับเดินหน้าตัวที่ 5)
ท่อนสองได้ F เป็น perfect fifth (นับถอยหลังตัวที่ 5)
ท่อนสามได้ C เป็น ตัวจบ หมายถึงกลับมาที่ขอร์ดแรก ซึ่งถือว่า เป็นขอร์ดตัวเดิมจองท่อนแรก (de capo) ขอร์ดตัวแม่นี้ สร้างความสมบูรณ์ กลมกล่อม ให้กับบทเพลง หูที่ฟังจะเหมือนว่าเสร็จภาระกิจสมบูรณ์. ได้กลับมาบ้านแล้ว
Cr google
เชื่อไหมว่าทฤษฎีนี้เอาไปปรับประยุกต์กับการฟังเพลงซิมโฟนีได้ เคยลองแล้ว เหมือนที่บอกข้างต้นว่าตัวโน้ตมันไม่หนีไปไหนหรอก ลองฟังดี ๆ มันมีแค่ 12 ตัวเท่านั้นเอง วนอยู่ในอ่างเนี่ยแหละ ฟัง เรื่อย ๆ สังเกต เรื่อย ๆ จะได้อรรถรสให้กับชีวิตอย่างมากเลย ลองเปิดใจดู เราสาละวนซึมซับกับเพลงพวกนี้มาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยไม่รู้ตัวเลย เช่น การ์ตูน ทอมกับเจอร์รี่ มีเพลงของ Tchaikovsky ประกอบในบางตอน ท่อนฮุกโฆษณาโลชั่นเด็กในโทรทัศน์. ขโมยดนตรีท่อนสั้น ๆ ของ โมสาร์ต มาใช้ เราซึมซับเพลงพวกนี้มาโดยไม่รู้ตัวเลย หนังฮอลลีวูดบางช่วง ก็เอาดนตรีซิมโฟนี มาใช้เพื่อให้เกิดอารมณ์ร่วม แล้วทำไมเพื่อนบางคนถึงบอกว่าไม่ฟังหรอก เพลงซิมโฟนี ต้องปีนบันไดฟัง ฟังไม่เข้าใจ ก็เนอะของแบบนี้ ไม่ว่ากัน. 😎
Cr google
กับมาที่การตลาด เพลงไอศครีม วอลล์ นั่งอยู่ในใจเรานานแสนนาน เพลงไอศครีมเนสท์เล่ ก็ โอเค ฟังได้แต่คลอเสียงตามไม่ได้นะ อิอิ ส่วนร้านเซเว่น มีเสียงแค่ 2 ตัวโน้ต ก็อืม งั้นๆ ไม่ได้โดดเด่นอะไร แล้วนักการตลาดจะเลือกทำแบบไหน เขาจะใช้อะไรในการตลาดเรื่องเสียง น่าคิดไหม?
อ้างอิง
The great courses
The great courses
Professor Robert Greenberg
โฆษณา