12 เม.ย. 2020 เวลา 12:05 • ธุรกิจ
30 นาทีที่โคตรคุ้ม!! "How economic machine works"
by Ray Dalio
สรุปโดย - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
"How economic machine works" - [เทรดมั่วทัวร์ดอย]
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ที่กำลังเป็นตัวเร่งให้เกิดการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
นำไปสู่นโยบายจากภาครัฐทั้งในส่วนของการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ อีกทั้งการออกนโยบายแจกเงินผ่านนโยบายการคลัง
ทั้งหมดนี้จะช่วยลดผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้หรือไม่? มาลองทำความเข้าใจของภาพรวมเศรษฐกิจ ใน 30 นาทีกันครับ!!
บอกเลย เนื้อหาสาระโคตรคุ้มกับเวลาที่แลกไป!! ภาพรวมเศรษญกิจที่ฉายภาพผ่านอนิเมชั่น โดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวในภาพ Micro ลิงค์ไปยัง Macro ที่จะเกิดขึ้นแบบช้าๆ จะทำให้เราได้เห็นภาพรวมของเศรษฐกิจได้อย่างน่าสนใจ
ซึ่งเป็นคลิปที่มาจากคุณ ray dalio ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ Bridgewater Associates นั่นเองครับ
เศรษฐกิจทำงานได้อย่างไร??
เครื่องยนต์เศรษฐกิจ เกิดขึ้นจากส่วนประกอบของฟันเฟืองหลายๆชิ้นที่ทำงานพร้อมกัน และเกิดการแลกเปลี่ยนที่ถูกขับเคลื่อนโดยพฤติกกรรมมนุษย์ (transaction) จำนวนมากๆซ้ำๆขึ้นมา จนเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิดเครื่องยนต์ 3 ตัวหลักคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คือ
1
1.productivity growth
2.short-term debt cycle
3.long-term debt cycle
1
รู้จักระบบตลาดและการแลกเปลี่ยน
เศรษฐกิจ เกิดจากผลรวมของการแลกเปลี่ยนทั้งหมด โดยมีตัวละครหลัก 2 คน คือ "ผู้ซื้อ"และ"ผู้ขาย" เมื่อผู้ซื้อแลกเปลี่ยนเงินเพื่อให้ได้สิ่งของจากผู้ขายมา ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ หรือสินทรัพย์ทางการเงินก็ตาม ทำให้เกิด "ตลาด" ในการแลกเปลี่ยนขึ้น
1
แต่!! การจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้านั้น ไม่ได้เกิดจากเงินสดเพียงอย่างเดียว มันยังมีส่วนที่จะมาจาก "เครดิต" อีกด้วย
ทำให้ money+credit = total spending โดยที่ total spending จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ตามสมการ total spending/total quantity = price
การแลกเปลี่ยนเป็นตัวที่ทำให้เกิดตลาดขึ้นมา แล้วแต่ละตลาดที่เกิดขึ้นนี้ เปรียบเสมือนเฟืองเป็นล้านๆชิ้น ที่รวมตัวกันคอยขับเคลื่อนเครื่องจักรเศรษฐกิจให้ทำงานได้
โดยมี government (เก็บ tax และใช้จ่าย) และ central bank (ควมคุมเงินและCredit ด้วยดอกเบี้ย+พิมพ์เงิน) เป็นผู้เล่นรายสำคัญ
1
เข้าใจ Credit
เครดิตเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในเศรษฐกิจ เพราะมันมีปริมาณใหญ่ที่สุด (การใช้จ่ายในปัจจุบันเกิดจาก dredit ซะส่วนใหญ่) แต่มันกลับเป็นสิ่งที่เปราะบางที่สุดเช่นเดียวกัน
เริ่มต้นจากการที่เครดิตนั้น เกิดขึ้นการตกลงกันระหว่าง ผู้ให้กู้ (lender) และ ผู้ขอกู้ (borrower) กล่าวคือ เมื่อเกิดความต้องการแลกเปลี่ยนในสินค้าที่ผู้ซื้อไม่มีเงิน เช่น บ้าน รถ หรือเงินทุนเพื่อทำธุรกิจ ก็สามารถใช้เครดิตมาซื้อก่อนในตอนนั้นได้เลย เปรียบเหมือนผู้ขอกู้กำลังเอาเงินในอนาคตมาใช้
และความต้องการเครดิตนี้ จะแปรผกผันกับดอกเบี้ย เพราะเงินที่ต้องคืนในอนาคต = เงินต้น+ดอกเบี้ย เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ เครดิต ก็เกิดขึ้น โดยสถานะ ของผู้ให้กู้นั้นเครดิตเปรียบเป็นสินทรัพย์ (asset) แต่ในส่วนของผู้กู้เครดิตนั้นจะเป็นหนี้ (debt) ที่ต้องนำเงินและดอกเบี้ยมาจ่ายคืนในอนาคต เพื่อยุติสถานะเครดิตที่สร้างขึ้นก่อนหน้า คราวนี้เครดิตระหว่างทั้งสองฝ่ายก็จะหายไป
4
แล้วทำไมเครดิต จึงสำคัญ??
เครดิต ทำให้ทุกๆคนสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้นกว่าความเป็นจริง และเมื่อใช้จ่ายได้มากขึ้น เศรษฐกิจก็จะถูกขับเคลื่อนให้โตต่อเนื่อง เพราะว่า “รายจ่ายคนหนึ่ง = รายรับอีกคน”
รายรับที่มากขึ้น จะทำให้ ”ความน่าเชื่อถือด้านเครดิต (creditworthy)” มากขึ้นตาม โดยที่ความน่าเชื่อถือด้านเครดิตจะขึ้นอยู่กับ
1.ความสามารถจ่ายคืน (ability to pay) และ
2.สินทรัพย์ค้ำประกัน (collateral)
พอกู้ได้มาก ก็ใช้จ่ายมาก สิ่งนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆไปในเฟืองตลาด ขับเคลื่อนเครื่องจักรเศรษฐกิจให้เติบโตเป็น Cycle
Debt cycle
แนวคิดการแลกเปลี่ยนนั้น จะต้องเท่ากับจำนวนผลผลิต ซึ่งแต่เดิมเรามักใช้ model ของ productivity growth (เส้นตรงความชันคงที่) มาเป็นตัวพิจารณา
แต่ในความเป็นจริง model นี้สามารถอธิบายได้เพียงแค่ในระยาวเท่านั้น!! เพราะระยะสั้นมี credit (debt) เป็นตัวกำหนด productivity จากการได้เงินมาใช้จ่ายมากกว่าผลผลิตจริง
และเมื่อถึงเวลากำหนดคืนหนี้ ก็จะทำให้ผู้คนมีเงินใช้จ่ายได้น้อยลง โดย debt cycle แบ่งออกเป็น
• short-term (5-8 ปี)
• long-term (75-100 ปี)
ซึ่งระยะเวลาที่ยาวเช่นนี้ การขับเคลื่อนจะเป็นไปแบบช้าๆ จนคนเรามักมองไม่เห็นมัน (เส้น debt cycle เป็นเส้น economic swing ซึ่งถูกกำหนดโดย credit)
1
เหตุผลที่ debt cycle เป็นเส้น swing เพราะการก่อหนี้ เป็นภาระผูกผันที่ผู้ขอกู้ที่ต้องใช้คืนในอนาคต มันจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นวงจร
1
แต่ debt cycle ไม่ได้น่ากลัว ถ้าไม่เกิดการ default ดังนั้น credit ควรใช้เพื่อให้เกิดการต่อยอดในการสร้างผลผลิตและสามารถจ่ายคืนหนี้ในอนาคต
Short-term debt cycle
โดยช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (expansion) เป็นจุดเริ่มต้นของ short-term debt cycle การใช้จ่ายเติบโตจากการใช้ credit ซึ่งจากสมการ
“total spending/totoal quanity = price”
จำนวน credit ที่เพิ่มขึ้น จะไปเพิ่มตรงการใช้จ่ายรวมให้มากขึ้น ขณะที่ผลผลิตเท่าเดิม ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น หรือเกิดเงินเฟ้อ (inflation) นั่นเองครับ
เมื่อเกิด inflation ขึ้น ผู้ควบคุมอย่าง central bank จะออกมาควบคุมผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “ดอกเบี้ย (interest)” กล่าวคือต้องขึ้นดอกเบี้ย แล้วการขึ้นดอกเบี้ยนี่เอง จะกระทบต่อการ credit โดยตรง (เพราะโดนคิดดอกจากการกู้เยอะขึ้น)
เมื่อ credit ลดลง การใช้จ่ายโดยรวมก็จะลดลง พิจารณาจากสมการ ระดับราคาก็จะลดลงตาม สิ่งนี้เรียกว่า เงินฝืด (deflation) และทำให้ภาวะเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วง economic recession
ทาง central bank ก็จะลดดอกเบี้ย ทำให้คนหันกลับมาขอ credit เป็นวงจรซ้ำๆ สรุปคือเมื่อให้ credit ได้
เศรษฐกิจจะขยายตัว แต่เมื่อไม่มี credit ก็จะเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่ง short-term debt cycle ถูกควบคุมโดยดอกเบี้ยของธนาคารกลางนั่นเอง โดยเกิดซ้ำๆทุกๆ 5-8 ปี
Long-term debt cycle
จากวงจรหนี้ระยะสั้น ช่วงปลายๆจะมีจำนวนหนี้เพิ่มสูงกว่าระยะแรกๆของวงจร มีสาเหตุมาจากคนเราชอบการกู้ยืมแต่ไม่ชอบการจ่ายหนี้ โดยผ่านระยะเวลายาวนาน จะทำให้หนี้สินเติบโต > รายได้ เกิดเป็นวงจรหนี้ระยะยาวขึ้น
1
การกู้มานั้นเป็นการกู้มาเพื่อการบริโภค เช่น ทั้งซื้อบ้าน รถ อสังหา รวมถึงตลาดหุ้นต่างๆ ผู้คนคิดแค่ว่าปัจจุบันนั้นเศรษฐกิจดี ธุรกิจมีกำไร เกิดภาวะ Boom Market จนเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ ผู้คนมีความมั่งคั่งมากขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ยิ่งสนับสนุนให้”ผู้ให้กู้”อยากที่จะปล่อยกู้ให้อีก เพราะ”ผู้ขอกู้”มีความน่าเชื่อถือทางเครดิตที่ดี จากทั้งรายได้และสินทรัพย์ค้ำประกันต่างๆมีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งทำให้เกิดการกู้ยืมเพื่อมาเก็งกำไรสินทรัพย์ต่างๆให้ราคาเพิ่มขึ้นไปอีกทอด
จนถึงระยะเวลาหนึ่ง ที่เงินกู้ยืมสูงมากกว่ารายได้ ทำให้ผู้คนต้องลดรายจ่ายลงเพื่อใช้สำหรับการคืนหนี้ และ “รายจ่ายคนหนึ่ง = รายรับอีกคน” ทำให้รายได้คนอื่นๆน้อยลงตามไปด้วย เข้าสู่ภาวะ “Deleveraging”
ท่ามกลางภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ส่งผ่านกันไปเป็นทอดๆ เรียกจุดนี้ว่า long-term debt peak (ex.USA 1929 Black monday,USA 2008 , Japan 1989 )
Deleveraging
คือ ภาวะที่ผู้คนลดการใช้จ่ายลง ส่งผลต่อรายได้คนอื่นๆลดลง แล้ว”เครดิต”ก็จะหายไป ตลาดหุ้นเริ่มพัง ธนาคารหมดสภาพคล่องจากการที่ผู้คนแห่ถอนเงินไปใช้หนี้ที่ยังคงสูงขึ้นอยู่ในตอนนี้
ทุกอย่างทำงานกลับข้างกันหมดกับตอนแรก คนที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันก็โดนผลกระทบ จนทำให้ความน่าเชื่อถือด้านเครดิตหมดหายไป ไม่สามารถกู้เพื่อมาคืนเงินผู้ให้กู้ได้ ทำให้โดนบังคับขายสินทรัพย์ค้ำประกัน กดดันราคาสินทรัพย์ในระบบตกต่ำลงไปเรื่อยๆ
ตลาดหุ้นพัง อสังหาล้ม ส่งผลต่อเป็นทอดๆ ใช้จ่ายน้อยลง >> รายได้ลดหาย >> ความมั่งคั่งหาย >> credit หาย
ทางด้านธนาคารกลางจึงต้องกระตุ้นการปล่อยกู้เพิ่มด้วยการลดดอกเบี้ย แต่ในช่วง deleveraging นั้น การลดดอกเบี้ยจนเป็นศูนย์หรือติดลบ ก็ไม่สามารถแก้เกมส์ได้ เพราะจำนวนหนี้สินมันมากเกินไป ทางผู้ให้กู้กลัวเงินหายจากความน่าเชื่อถือด้านเครดิตที่ลดลง และผู้จอกู้เองก็กลัวการเป็นหนี้มากขึ้น
วิธีการแก้ภาวะ deleverage นี้ คือ
• cut spending - มาตรการรัดเข็มขัด
มักจะเป็นวิธีแรกๆที่ถูกใช้ แต่เมื่อผู้คนลดค่าใช้จ่ายลง แม้จะจ่ายหนี้ได้ แต่สุดท้ายรายได้ก็ต่ำลงอยู่ดี (รายจ่ายคนหนึ่ง = รายรับอีกคน) และรายได้จะลดลงมากกว่าจำนวนหนี้ด้วย เกิดปัญหาการว่างงานตามมา ปัญหาก็ยังคงอยู่ ไม่สามารถแก้ได้
• reduce debt: default debt
เมื่อผู้ให้กู้เก็บหนี้จากผู้ขอกู้ไม่ได้ ขณะที่ผู้คนต้องการถอนเงินออกธนาคารหมด นำไปสู่การ “เบี้ยวหนี้ - default” ทั้งหมด (แนวคิดมากจาก Credit ที่คนเชื่อ เมื่อให้ที่อีกฝ่ายเบี้ยว มันก็ไร้ค่า)
เข้าสู่ช่วง เศรษฐกิจตกต่ำ (economic depression) และเพื่อป้องกับปัญหาการ default นี้ จึงเกิดการแก้ด้วย debt resructuring ซึ่งเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ อารมณ์ประมาณว่า ได้น้อยลงดีกว่าไม่ได้ (ลดต้น ลดดอก หรือเรียกว่า hair cut, ขยายเวลาชำระหนี้) ผลที่ตามมาคือจำนวนหนี้ลดลงก็จริง แต่มันจะทำให้รายได้ลดลงมากกว่าหนี้ก็เป็นได้ เกิดภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่อง
• redistribute wealth
สังคมจะถามหาถึงความเหลื่อมล้ำ การเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากคนรวยด้วยการเก็บภาษีคนรวยมากขึ้น โดยภาวะ deleveraging นั้นส่งผลกดดันต่อรัฐบาลอย่างหนัก เพราะรัฐบาลจะเก็บภาษีได้น้อยลง แต่ภาระการพึ่งพาจากคนว่างงานยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งรัฐบาลต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้มีรายจ่าย 2 ทางพร้อมกัน ขณะที่รายรับจากภาษีอันน้อยนิดเข้ามาแค่ทางเดียว นโยบายขาดดุลทางการคลัง (budget deficit policy) กดดันให้ทางเลือกของรัฐบาลตอนนี้ เหลือแค่การเก็บภาษีจากคนรวยมากขึ้น หรือกู้ยืมเงินมาชดเชยการขาดดุลนี้
จากปัญหาเศรษฐกิจ จึงเกิดเป็นปัญหาสังคมตามมา เกิดการเรียกร้องรุนแรง มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและทางทหาร อาจส่งผลถึงในระดับประเทศได้เช่นกัน (กรณีระดับประเทศเจ้าหนี้และลูกหนี้ อย่างช่วง ฮิลเลอร์)
• QE by central bank
เมื่อ Credit ไม่น่าเชื่อถือ แต่ Central bank ยังพิมพ์เงินได้นี่นา จึงเกิดการพิมพ์เงินออกมา และเอาเงินนั้นไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน อย่าง Gov bond เพื่อให้รัฐมีเงินไปทำตามแผนกระตุ้นต่อ (ex. QE ของ US)
ประเด็นการพิมพ์เงินนั้น ค่อนข้างมีความอ่อนไหวต่อภาวะเงินเฟ้อ ต้องวางแผนทำให้พอดีด้วย จึงจะช่วยแก้ภาวะนี้ได้
จาก “total spending/total quanity = price”
การพิมพ์เงินนี้จะไม่เกิดเงินเฟ้อ เมื่อการใช้จ่ายโดยรวมประกอบไปด้วย money+credit ถ้าหากสามารถลด credit ในสัดส่วนพอดีกับการเพิ่มเงินในระบบ ราคาก็จะไม่เปลี่ยนแปลง หรือก็คือทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของรายได้มากกว่าการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
**ไม่ควรพิมพ์เงินมากไป เพราะจะเกิดปัญหา hyperinflation ได้
สุดท้ายภาระหนี้ที่เริ่มลดลง ก็เข้าสู่ยุคความน่าเชื่อถือด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นการนับหนึ่งใหม่ เกิดการเข้าสู่ช่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นวงจรต่อไป
ทิ้งท้าย
ควรพิจารณาหาว่า เราเคยอยู่ตรงไหน ตอนนี้อยู่มี่ไหน และกำลังไปทางไหนต่อไป และ
• อย่าปล่อยให้การเติบโตของหนี้สินมากกว่าการเติบโตของรายได้
• อย่าปล่อยให้การเติบโตรายได้มากกว่าการเติบโตกำลังผลผลิตที่แท้จริง เพราะจะทำให้เสียความสามารถในการแข่งขัน
• พยายามทำทุกทางเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต เพราะระยะยาวนั้น กำลังการผลิต คือสิ่งที่สำคัญที่สุด
ที่มา :
#เทรดมั่วทัวร์ดอย
โฆษณา