1 เม.ย. 2020 เวลา 01:27 • การศึกษา
เส้นทางจากครูผู้ช่วย...สู่ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (ค.ศ.5)
😄เริ่มต้นด้วยเมื่อเรียนจบหลักสูตรครู 4-5 ปี
คณะครุศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆที่สอบเทียบ
ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เตรียมตัว เตรียมใจ ตั้งใจอ่านหนังสือเตรียมสอบครูผู้ช่วยซึ่งใน 1 ปีนั้นจะเปิดสอบเพียง 2 ครั้ง
>> เวลาสมัครสอบจะมีเลือกเขตพื้นที่การศึกษาที่เราต้องการไปบรรจุ ตั้งใจอ่านหนังสือ ดูข่าวสารบ้านเมืองในช่วงนั้น เพราะในข้อสอบจะออกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ณ ตอนนั้น
พอสอบติดครูผู้ช่วยแล้ว...
😆กว่าจะเป็นครู ค.ศ.1 ได้นั้นเราต้องอยู่ในช่วงทดลองงาน 2 ปี ในตำแหน่งครูผู้ช่วยซึ่งในช่วงสองปีนี้เราต้องพัฒนาอย่างเข้มข้นเพราะจะมีการประเมินทุก 3 เดือน รวม 8 ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 2 ปีก่อนที่จะได้เป็นครู
😆เมื่อเราได้เลื่อนขั้นเป็น ครู ค.ศ.1 แล้วคุณครูหลายท่านจะเริ่มทำผลงาน สร้างแผนการเรียนการสอน จัดรูปแบบการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนภายในชั้นเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนนั้นๆ ซึ่งผลงานที่เราทำจะใช้สำหรับการขอเลื่อนวิทยฐานะในแต่ละขั้น มี ค.ศ.1-5 ดังต่อไปนี้
👉 ขั้นที่ 1 : ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม) ปัจจุบันการบรรจุข้าราชการครูต้องผ่านช่วงทดลองงาน 2 ปี พอผ่านจะได้รับการแต่งตั้งเป็นครู ค.ศ. 1
.
👉👉 ขั้นที่ 2 : ครู ค.ศ. 1 (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 6) ระดับปฏิบัติการ
ขั้นนี้โดยส่วนมาก ก็เริ่มเข้าวังวนระบบราชการ เจอภาระงานที่แทรกเวลาสอนในฐานะครูบรรจุใหม่ มักเจองานพัสดุ การเงิน ธุรการ บลาๆๆ ที่แทรกเวลาสอน หรือถูกมอบหมายโดยรุ่นพี่ๆแม่ๆครูที่อยู่มาก่อน แต่ถ้าอยากเติบโต ก็ไม่อยากมีปัญหากับใคร ก็คิดสะว่านี่คือการฝึกฝนบริหารจัดการตัวเอง แล้วเก็บแรงใส่ใจทำผลงานตัวเองด้วย
.
👉👉👉 ขั้นที่ 3 : ครู ค.ศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ (ชก.) แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 เดิม) โดยการเลื่อนวิทยฐานะต้องมีคุณสมบัติ ตามเกณฑ์ ว.21/2560
ขั้นนี้ต้องทำ 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ประเมินตามเกณฑ์ ว.21 เช่น เข้าอบรมพัฒนาหลักสูตรที่คุรุพัฒนารับรอง
เช่น ของภาคีหน้วยพัฒนาครู Getupteacher ก็มีจัดอบรมทั้งออนไลน์และสัมมนา ดูได้ที่ https://www.getupteacher.com/
*** ต่อจากนี้ถ้าจะขึ้น ค.ศ.3 ก็จะต้องมีงานวิจัยในชั้นเรียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
.
👉👉👉👉 ขั้นที่ 4 : ครู ค.ศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ (ชพ.) แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เดิม) โดยการเลื่อนวิทยฐานะต้องมีคุณสมบัติ
ขั้นนี้ถ้าเรามีพี่เลี้ยงดี ก็จะมีคนให้คำปรึกษาด้านการทำวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่เรามักเลือกจากหลักสูตรที่เปิดสอน อบรมเสร็จมีตัวอย่างการทำวิจัย มีอาจารย์ วิทยากรให้คำแนะนำ
เช่น หลักสูตรออนไลน์ ระบบวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบแผนจัดการเรียนรู้รายบุคคล ก็สามารถทำวิจัยต่อยอดได้
ด้วยการจัดการชั้นเรียน แบ่งเด็ก 6 สี แล้วศึกษาพฤติกรรม
.
👉👉👉👉👉 ขั้นที่ 5 : ครู ค.ศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ (ชช.) แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 เดิม) โดยการเลื่อนวิทยฐานะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- เป็นครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3) ผลงานย้อนหลัง 5 ปี ตาม 13 ด้าน 13 ตัวชี้วัด
เพิ่มเติมจาก ค.ศ. 3 คือ มีผลงานทางวิชาการไม่น้อยกว่า 2 รายการ เป็นงานวิจัยในชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 1 รายการ
.
👉👉👉👉👉👉ขั้นที่ 6 : ครู ค.ศ. 5 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ (ชชพ.) แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าระดับ 10 ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน โดยได้รับการขยายระดับให้สูงขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในมาตราที่ 39 ให้เทียบเท่าอธิบดีกรมฯ เลยก็ว่าได้) โดยการเลื่อนวิทยฐานะต้องมีคุณสมบัติ เป็นครูเชี่ยวชาญ (ค.ศ.4)
สะสมผลงาน 5 ปี มีงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา ไม่น้อยกว่า 1 รายการ
.
>>> บอกได้เลยว่า หากเลือกเติบโตในเส้นทางวิชาชีพครู นอกจากความหอมหวานในสิทธิและเครดิตแห่งการกู้ได้ระเบิดไปเลยนั้น เพราะแม้จะมีความมั่นคงสูง แต่วิทยฐานะกว่าจะไปแต่ละขั้นต้องอาศัยการทำผลงานมากๆ
เพราะฉะนั้นการเลือก Mentor หรือพี่เลี้ยงที่ดีจึงสำคัญ
อย่างไรฝากติดตามแฟนเพจ Getupteacher
"สิทธิของครูให้เราดูแล" เคียงข้างครูตลอดเส้นทางจนกว่าเกษียณ ปลุกพลังครูไทย การศึกษาก้าวไกลระดับโลก
ด้วยนวัตกรรมการสอนสมัยใหม่เข้าใจเด็ก GenZ
#Getupteacher
โฆษณา