1 เม.ย. 2020 เวลา 02:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รายการ Vaccine #เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด
ตอนที่ 9 วิทยาศาสตร์เทียม: ข่าวปลอมที่มาในคราบของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นคำที่หลายคนคุ้นหู และเป็นวิชาที่เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก
แต่ในการแยกแยะวิทยาศาสตร์ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบมาก่อน
นักปรัชญาชาวออสเตรียชื่อ Karl Popper
เสนอหลักการที่ใช้แยกวิทยาศาสตร์ออกจากวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudoscience) โดยทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์จะถูกพิสูจน์ว่าผิดได้
หลักการดังกล่าวเรียกว่า falsifiability
ตัวอย่าง (1)
“โลหะทุกชนิดขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน” เป็นประโยคที่สามารถทำให้เป็นเท็จได้ กล่าวคือ หากเราพบโลหะชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียวที่ไม่ขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ประโยคนี้ก็จะผิด มันจะกลายเป็นเท็จทันที นั่นก็แปลว่า มันเป็นประโยคทางวิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง (2)
ในทางตรงกันข้าม ประโยคที่ว่า
“หินก้อนนี้รักษาอาการปวดหลังได้ หากนำไปแตะที่หลังโดยใช้ความศรัทธามากพอ” ประโยคนี้ไม่สามารถทำให้เป็นเท็จได้ หากเราเอาหินก้อนนี้ไปรักษาอาการปวดหลังแล้วไม่หาย นั่นอาจเป็นเพราะเรามีศรัทธาไม่มากพอ
ปัญหาใหญ่อยู่ที่ว่า เราจะชั่งตวงวัดค่าความศรัทธาได้อย่างไร และ “ศรัทธามากพอ” ต้องมากเท่าไรถึงจะพอ?
ประโยคนี้จึงไม่เป็นวิทยาศาสตร์นั่นเอง
วิทยาศาสตร์เทียมนั้นมีหลากหลายรูปแบบ
สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า , ทฤษฎีโลกแบน , สัมผัสที่ 6 (Extra-sensory_perception)
ในรายการ Vaccine ตอนนี้จะยกตัวอย่างวิทยาศาสตร์เทียม
ที่น่าสนใจให้ฟัง 2 เรื่อง ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่มีชื่อเสียงมาก
รับฟังต่อได้ที่
[ช่องทางรับฟัง]
anchor
spotify
youtube
หรือค้นคำว่า Vaccine ในแอปพลิเคชัน podcast
.......................................................
สนับสนุนรายการโดย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โฆษณา