1 เม.ย. 2020 เวลา 07:16 • สุขภาพ
* ชุดตรวจโควิด 19 นักวิจัยไทยเพื่อคนไทย
เนื่องจากข่าวของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้คิดค้น Chula COVID-19 Strip Test ซึ่งเป็นชุดทดสอบการติดเชื้อโควิด 19 โดยอาศัยหลักการทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Serology test) ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนตี้บอดี้ (IgG/IgM) ในเลือด ซีรัม หรือ พลาสมา ใช้เวลาเพียง 10-15 นาทีในการตรวจวินิจฉัย
เบื้องต้น ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 ระบุว่า Chula COVID-19 Strip Test ใช้วิธีทดสอบด้วยการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว จึงทำให้การตรวจวินิฉัยไม่ต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย ถึงแม้ว่าการทดสอบนี้อาจไม่สามารถนำมาทดแทนวิธีตรวจหาเชื้อตามมมาตรฐานได้ แต่จะสามารถแบ่งเบาจำนวนคนไข้ที่มาตรวจที่โรงพยาบาลได้มาก เพราะถ้าผลตรวจเลือดเป็นลบและไม่มีความเสี่ยงก็สามารถให้คนไข้กลับบ้านและกักตัวดูอาการต่อไป
2
https://www.chula.ac.th/news/28743/
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การตรวจทางภูมิคุ้มกันยังมีข้อจำกัดตรงที่ว่ากว่าจะตรวจเจอแอนตี้บอดี้ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาสู้กับไวรัส จะต้องมีการได้รับเชื้อมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง อาจจะประมาณ 1 อาทิตย์ถึงมีการตรวจเจอ ไม่ได้เป็นการตรวจหาเชื้อโดยตรง
ศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงกำลังพัฒนาชุดทดสอบโควิด 19 ด้วยวิธี CRISPR-Cas system (คนละ test กับ strip test ของ VISTEC-ศิริราช ที่เคยออกข่าวไป ของทีมนั้นก็กำลังทดสอบอยู่) โดยชุดทดสอบที่พัฒนาโดยศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบนี้ก็ได้รับความร่วมมือจากทาง VISTEC ด้วยเช่นกัน แต่เป็นเพราะการแปรผลของชุดตรวจต่างกันและเก็บ sample คนละที่ เลยแยกกันพัฒนาชุดตรวจขึ้นมา
1
🦠 ชุดตรวจของศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ รายงานผลด้วยการเรืองแสง เพราะตัว probe มี fluorescence กับ quencher เมื่อดูการเรืองแสง ชุดตรวจนี้จะใช้เวลาน้อยกว่าและราคาถูกหลักร้อยบาท ถึงแม้จะต้องส่งตรวจแล็บ เพราะต้องมีการสกัด DNA/RNA จากตัวอย่างของคนไข้ แต่ก็สามารถตรวจพันธุกรรมของไวรัสได้คล้ายกับ RT-PCR ด้วยราคาที่ถูก รวดเร็ว และยังไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคของผู้ทดลองมากเหมือนการทำ RT-PCR
1
https://taejai.com/th/d/innovationfund_covid19/
🔍 การพัฒนาชุดตรวจนี้ได้มีการทดสอบเบื้องต้น พบว่าได้ผลดี จึงอยากจะขยายการทดลอง และพัฒนาชุดตรวจให้ได้จำนวนประมาณ 10,000 ชุด เพื่อทดลองต่อไป
ทีมวิจัยนำโดยคณาจารย์จากสหสถาบัน เช่น
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี
รวมถึงได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญของ Sertis
📌📌📌 ขณะนี้ทีมวิจัยได้เปิดรับบริจาคผ่านทางเว็บ เทใจ - TaejaiDotcom จึงขอชวนให้ท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาชุดตรวจโรคที่ แม่นยำ รวดเร็วและมีราคาถูก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้มีสิทธิ์ในการตรวจ และหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสอย่างทันท่วงที
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมและร่วมบริจาคได้ที่ >>
ช่วยกันบริจาคนะคะ ❤️
อ้างอิง >>

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา