3 เม.ย. 2020 เวลา 13:20
สมคิด พอตเตอร์และแผลเป็นทางการคลัง 🧙♂️
อะวาดา..เคดาฟ...ราา —> วัลเดอมอร์C-19 จัดมาให้แล้วกับแผลเป็นและทางรอดของคลัง 3ข้อ
1.วิกฤตความเชื่อมั่น
สิ่งที่ตอนนี้ You know who ทำคือการ สร้างความกลัว ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดสั่นคลอนได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ความกลัวของนักลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
Wealth effect เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมบอกไว้ว่า ผู้คนจะรู้สึกถึงความไม่มั่นคงทางการเงินเมื่อสินทรัพย์ในพอร์ทลดค่าลง หรือพูดง่ายๆว่ารู้สึกตัวเองจนลงถึงแม้ว่าจะมีรายได้หรือรายจ่ายเท่าเดิม
Wealth effect เป็นผลกระทบทางจิตวิทยาที่เมื่อสินทรัพย์ที่มีด้อยค่าลง ผู้คนจะลดการจับจ่ายใช้สอยและเก็บเงินไว้ในบัญชีเฉยๆมากขึ้น
ทฤษฎีนี้นับรวมไปถึงภาคธุรกิจด้วย กล่าวคือ ธุรกิจจะชะลอการลงทุนในเครื่องจักรและลดระดับการจ้างงานในอนาคต แน่นอนผลที่ตามมาคือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงและติดลบในที่สุด
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงทุกด้าน😅
2.การเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
Recession คือภาวะที่การเติบโตของ GDP ติดลบต่อเนื่อง 2ไตรมาส ก็คือน้อยลง2ไตรมาสติดกันนั่นเอง
ถ้าเศรษฐกิจถดถอยเกิดในช่วงสั้นๆและธุรกิจส่วนใหญ่รอดพ้นจากวิกฤตไวรัสก็ดีไป แต่ถ้าไม่ มันจะเป็นฝันร้ายกระทบไปถึงทุกภาคส่วน
อย่างแรกที่เด่นชัดที่สุดที่เราจะเห็นคือการล้มละลายของธุรกิจที่ไม่สามารถอยู่รอดได้จะทำให้เกิดการว่างงานขึ้นมหาศาล ส่งผลกระทบต่อภาคการบริโภคภายในประเทศและภาวะเงินฝืดตามมา หนักหน่อยจะเห็นหนี้เสียที่สูงขึ้นจนนำไปสู่การยึดบ้านเพื่อขายทอดตลาดอย่างกว้างขวาง
3. วิกฤตSupply Chain
จีนจัดเป็นประเทศที่ถูกขนานนามว่า "world factory" เมื่อการผลิตและส่งออกของจีนหยุดชะงักจากการชัตดาวน์ ภาคการผลิตโลกที่ใช้วัตถุดิบจากจีนก็สั่นคลอนด้วยเช่นกัน
นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักประเมินว่า การชัตดาวน์ที่อื่นๆนอกจากจีนจะยิ่งส่งผลต่อการผลิตมากขึ้นไปอีกตามมา ซึ่งหนักกว่าการมีสงครามการค้าซะอีก
ธุรกิจข้ามชาติหรือ Multinational Enterprise ที่มีการจ้างงานทั่วโลกจะเป็นผู้เล่นหลักที่เริ่มออกอาการสะดุด คอขวด(bottleneck)ในการผลิตจะพบเห็นได้ทั่วไป
สิ่งนี้จะผลักดันให้หลายๆประเทศ"พึ่งพาตัวเอง"ซึ่งเหมือนจะดี แต่โลกจะถอยหลังเข้าสู่ช่วงก่อนโลกาภิวัฒน์ การเคลื่อนที่ของเงินทุน การลงทุนในต่างประเทศ การจ้างงานและประสิทธิภาพในการผลิตจะลดลงในระยะยาว
ด้วยบาดแผล 3ดอก และคำแนะนำที่ให้กู้มาแจกเงินรัวๆ เพื่อกอบกู้วิกฤตของเดี๊ยนนั้น คนอาจจะกลัวและคิดว่าความเสี่ยงทางการคลังที่จะเกิดขึ้นมันจะเลวร้ายมาก(มันร้ายไม่เท่า you know who จิงๆน้าาา)
มารอบนี้ เลยคิดว่ารัฐสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการคลัง
ถ้าพูดถึงการคลังเราจะนึกถึง 3 เรื่องหลักๆได้แก่ รายรับ รายจ่าย และหนี้สาธารณะ
ไทยถือว่ามีพื้นที่ทางการคลังพอสมควรเลย เพราะหนี้สาธารณะอยู่ในระดับปานกลาง
คือเราเหลือช่องว่างที่จะชนเพดาน 60%ของ GDP อยู่อีก 20% เลยอ่ะ
เราได้ยินกันมานานละว่าเราจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สัดส่วนรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลจะเพิ่มสูงขึ้น รายจ่ายภาครัฐมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากกว่ารายรับเยอะ ยังไม่นับงบประมาณที่จะใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
มาดูที่รายได้ของรัฐ สัดส่วนถึง23% มาจากภาษีรายได้นิติบุคคลที่ยึดโยงกับกำไรของธุรกิจซึ่งเราคาดว่ารัฐจะเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าในปีนี้แน่ๆ
อีกส่วนหนึ่งคือรายได้จากพวกที่ไม่ใช่ภาษีที่คาดว่าจะเก็บได้น้อยลง เช่น AOT ที่มีการปรับลดค่าเช่าและผลกระทบกรณีผู้ใช้งานสนามบินที่ลดลง
สุดท้ายคือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาในรูปของรายจ่ายแอบแฝง เช่น รายได้ที่ควรเก็บได้แต่ไม่ได้เพราะออกมาตรการช่วยเหลือต่างๆขึ้นมา เช่น การลดค่าน้ำ ค่าไฟ
ดังนั้น ท้ายที่สุดรัฐจะต้องมีการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้บางอย่างในระยะยาว ดอกเบี้ยสีทองคิดว่าคลังต้องปฏิรูปนโยบายใน 3 ด้าน ตามนี้
1.นโยบายการจัดเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ(พวกหลายชาติ)
บริษัทข้ามชาติในประเทศที่เก็บภาษีน้อยมักจะมีกำไรต่อรายจ่ายสูง
คือพวกบริษัทหลายชาติเนี่ย ส่วนมากก็เป็นบริษัทดังๆ ขายของ ขายต่างๆ ในหลายประเทศ แล้วก็มีตั้งบริษัทในแต่ละประเทศเช่นกัน
เรื่องของเรื่องก็คือ แต่ละประเทศก็เก็บภาษีไม่เท่ากันน้อยบ้าง เยอะบ้าง
วิธีของพวกนางก็คือ ประเทศไหนเก็บภาษีมากหน่อย นางก็จะยัดให้บริษัทตัวเองในประเทศนั้นๆ มีค่าใช้จ่ายเยอะๆ จนตัวเองกำไรน้อย ก็เลยเสียภาษีน้อย ส่วนบริษัทในประเทศที่เก็บภาษีน้อย ก็ปล่อยให้กำไรเยอะๆ รวมๆแล้วพวกนางจะเสียภาษีน้อยลง(มันร้ายมากนะคะคุณหัวหน้า🙄)
งานวิจัยบริษัทหลายชาติในอาเซียนออกมาจับได้คาหนังคาเขาว่า ถ้าประเทศนอกอาเซียนมีการลดภาษี 0.10% จะทำให้บริษัทหลายชาติรายงานกำไรในอาเซียน ลดลงถึง 10.3% (วั้ย ทำไมทำกันแบบนี้ละแม่!)
โป้ะมาก บริษัทหลายชาติ😆
แต่งานวิจัยก็ยังพบอีกว่า มาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดจะช่วยให้ประเทศในอาเซียนเก็บภาษีได้มากขึ้น
อ่ะ เพราะงั้นเหล่า Auditors ทั้งหลาย รายจ่ายอะไรโป๊ะๆ จะปล่อยให้เข้ามาบันทึกเป็นรายจ่ายไม่ได้เด้อ รัฐต้องเข้าไปดู เข้าไปจิกๆๆๆๆ
ความท้าทายจะอยู่ที่ความเข้มงวดของรัฐ ที่จะต้องไม่ทำให้ประเทศสูญเสียการแข่งขันทางด้านภาษี ในขณะที่ภาษีก็จะเก็บให้ได้มากๆด้วย (น้องพลับขอ2อย่างเลยคร่า..สู้ๆ) 😆
2. ปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีให้เท่าทันเทคโนโลยี
ดิจิทัลเทคโนโลยีสร้างความท้าทายในการจัดเก็บภาษีของคลังมากในตอนนี้ สิ่งที่พบคือ บริษัทเหล่านี้อาจมีขนาดใหญ่มากโดยไม่ต้องพึ่งพาสถานประกอบการและการจ้างงานในประเทศมาก เช่น Facebook Agoda Grab Netflix ฯลฯ
ตัวโมเดลธุรกิจพวกนี้เอื้อต่อการตรวจสอบและหลบเลี่ยงภาษีได้ง่าย ปัจจุบันไทยเราเก็บภาษีได้เฉพาะแค่ Vatบางส่วน ซึ่งมันน้อยมากเมื่อเทียบกับภาษีรายได้นิติบุคคล
ของมันต้องมีอะเนอะ..อิอิ
การพิจารณาระบบและข้อกฎหมายในการจัดเก็บภาษีจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐต้องให้ความสำคัญ
ลองคิดดูสิ เมื่อก่อนช่อง3(BEC) ได้เงินจากค่าโฆษณามากมายแค่ไหน แล้วรัฐได้เงินภาษีจากกำไรของนาง ในขณะที่ปัจจุบันเงินโฆษณาถูกโยกมาที่ Facebook, YouTube แต่เราเก็บพวกนี้ได้แค่หยิบมือของ VATเนี่ยนะ!
*edited (5 เม.ย.) มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าปัจจุบันรัฐได้มีการเจรจากับ Online platform บางบริษัทเพื่อหาทางออกเรื่องการจัดเก็บรายได้ เช่น Agoda มีการจัดเก็บภาษีรูปแบบเฉพาะจากรายได้ โดยใช้ฐานจากยอดการจองรร. เป็นต้น ทั้งนี้กฎหมายอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา
3.ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันที่ถ่วงดุลอำนาจการตรวจสอบงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันโครงการอย่าง"ชิมช็อปใช้"เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเป็นนโยบายที่ดีหรือเปล่า เพราะเราไม่มีสถาบันที่ตรวจสอบหรือศึกษาประสิทธิผลก่อนและหลังออกนโยบาย
รัฐสภาไม่สามารถตรวจสอบนโยบายของรัฐบาลได้เท่าไหร่ เพราะรัฐบาลมีกำลังคนที่จะเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้มากกว่ารัฐสภา ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ทีมเศรษฐกิจ แต่รัฐสภาไม่มีอะไรเลย!
ประเทศพัฒนาแล้วแก้ไขโดยการตั้งหน่วยงานอิสระที่เป็นกลางทำหน้าที่ศึกษาและให้ข้อมูลต่อรัฐสภาในด้านการประเมินโครงการเช่นในออสเตรเลียมี Parliamentary Budget Office, PBO หรือ Congressional Budget Office ,CBO ในอเมริกา
เมื่อมีการโหวตในนโยบายสำคัญ CBO จะต้องไปให้การต่อรัฐสภาเพื่อให้ตัดสินใจอย่างเป็นกลางโดยไม่ตัดสินว่านโยบายไหนควรผ่านหรือไม่ ที่เหลือสมาชิกรัฐสภาไปตัดสินกันเอาเอง
ฟัง CBO กันก่อนนะผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย
CBO ตั้งมาตั้งแต่ 1975 ก็ถูกมองว่าไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมีบทบาทสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เช่นการปฏิรูประบบสุขภาพในยุคโอบามาก็ได้ CBO มาให้ความเห็นที่ทุกคนต้องฟัง โดยห้ามเด็ดขาดไม่ให้มีการแทรกแทรง
งานแบบPBO, CBO ถูกมองว่าทับซ้อนกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือสำนักงบประมาณที่มีอยู่ ตัวงานอาจคล้ายจริง แต่สำนักที่มีอยู่นี่ทำงานอิสระรึยังเอ่ย? PBO แบบ"ไทยๆ"ไม่เอานะคะ เปลืองงบ
3 สิ่งนี่ดิฉันเชื่อว่ารัฐจะทำได้ ผลักดันเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางการคลังให้กับตัวเองแน่นอน
เห็นมะๆ เราไม่ได้แนะนำให้กู้อย่างเดียวน้าาาา เรื่องรายได้เข้ารัฐ เราก็แนะนำให้เด้อ😆
โฆษณา