2 เม.ย. 2020 เวลา 06:32 • ไลฟ์สไตล์
📌 ตกงานในช่วง COVID-19 ไม่ได้เยียวยา 5,000 บาท เพราะมีประกันสังคมมาตรา 33 ทำยังไงดี?
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายคนได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ทั้งผู้ประกอบการ นายจ้าง อาชีพอิสระ หรือแม้กระทั่งลูกจ้าง เหล่ามนุษย์เงินเดือน มนุษย์องค์กรทั้งหลาย ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33
หลายแห่งเริ่มให้พนักงาน Leave Without Pay (ยังคงมีสถานะเป็นลูกจ้างแต่ไม่ได้รับเงินเดือน) หรือที่รู้จักว่า การให้ลางานโดยไม่ได้รับเงินเดือน
ในภาวะที่มืดแปดด้านนั้น สำหรับใครที่กำลังเจอกับวิกฤตนี้ … สามารถขอเงินชดเชยประกันสังคมได้ ‼️
อัพเดทล่าสุด … เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้ทบทวนอัตราและระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนกรณีได้รับผลกระทบสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากโรคติดต่อ อันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้
📌 ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย โดยให้
👉 ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน (เดิม อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 180 วัน)
👉 กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 90 วัน (เดิม อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งทั้งนี้ไม่เกิน 60 วัน”
📌 สำหรับขั้นตอนการขอความช่วยเหลือประกันสังคม
👉 ต้องกรอกเอกสาร 2 เอกสารที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th ถึงจะมีผลครบถ้วน
👉 เอกสารแรก เป็นส่วนลูกจ้างกรอกเอง คือ แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (e-form for unemployment benefit) คลิก
👉 เอกสารที่สอง เป็นนายจ้างกรอก คือ แบบฟอร์มยืนยันการหยุดงานของลูกจ้าง อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (สำหรับนายจ้าง) ซึ่งเอกสารตัวนี้จะต้องให้นายจ้างเป็นคนเซ็นยืนยันว่า ถูกสั่งให้หยุดงานจริง ๆ คลิก
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับสิทธิประโยชน์ หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ผ่านช่องทาง E-mail, Web Board. Live Chat และทาง Facebook : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน หรือโทร. 1506 (ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)
วันนี้ เราทุกคนล้วนเป็นแรงงานที่มีความเป็นไปได้ที่จะต้องเผชิญผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งนั้น ในวันที่อะไรๆ คือความไม่แน่นอน
พัชภัคกร สุรรัตน์ FChFP : Financial Advisor
#Financialสบายสบาย
โฆษณา