12 เม.ย. 2020 เวลา 12:33 • ประวัติศาสตร์
การลุกฮือต่อต้านเผด็จการของชาวจีน ที่ลงเอยด้วยการนองเลือด
Tian'anmen (天安门) หรือ ‘ประตูสู่สันติ’ เป็นสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ ณ กรุงปักกิ่ง และยังเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของชาติอีกด้วย 🇨🇳
แต่ครั้งหนึ่งในอดีต.. สถานที่แห่งนี้ เคยเกิดเหตุการณ์สุดสลด อันเป็นประวัติศาสตร์ดำมืดของจีนยุคใหม่
การชุมนุมประท้วง ณ จัตุรัสเทียนอานเหมิน -- Photo : Shao Jiang
'หู เย่าปาง' ผู้นำระดับสูงจากพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “นักปฏิรูปการเมืองจีน” ถูกปลดออกจากตำแหน่งหลังจากที่เขาแสดงความอ่อนข้อต่อประชาชนผู้ต้องการประชาธิปไตย, เรียกร้องให้รัฐบาลฟังเสียงคนรุ่นใหม่มากขึ้น, แถมยังเคยเสนอให้ทิเบตมีอำนาจปกครองตัวอย่างจริงจัง
และแล้ว.. ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989
หู เย่าปาง ก็เสียชีวิตลงกระทันหันด้วยโรคหัวใจ
การเสียชีวิตของหู เย่าปาง ส่งผลให้นักศึกษาจำนวนมากออกมาไว้อาลัยให้กับเขา และได้เริ่มการชุมนุมประท้วง ณ จัตุรัสเทียนอานเหมิน เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศ & ปราบคอรัปชั่น 👊🏻👊🏻
การประท้วงค่อย ๆ ขยายวงใหญ่ขึ้นโดยมีนักศึกษาเป็นทัพหน้า ประชาชนจากภาคสังคมต่าง ๆ เข้ามาร่วมแจม
มีการนำรูปจำลองเทพีเสรีภาพมาตั้งไว้
ทางด้านสื่อจีนก็พยายามกระพือข่าวว่านักศึกษามีแผนจะโค่นล้มพรรคคอมมิวนิสต์
'เติ้งเสี่ยวผิง' ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น เห็นว่าหากใช้เพียงกำลังตำรวจ ไม่น่าจะหยุดยั้งเหล่าผู้ประท้วงได้ จึงต้องให้กองทัพออกมาช่วยรักษาความสงบเรียบร้อย 🛡️
ผู้ชุมนุมล้นหลาม -- Photo Credit : AFP
คืนวันที่ 19 พฤษภาคม
ทางการจีนประกาศกฎอัยการศึก
พร้อมทั้งประกาศผ่านโทรทัศน์ว่า
“ประเทศชาติกำลังเผชิญภัยคุกคามใหญ่หลวง”
เติ้งเสี่ยวผิง และ หูเย่าปาง
เช้าวันที่ 22 พฤษภาคม
เฮลิคอปเตอร์ทหารโปรยใบปลิวเหนือจัตุรัสเทียนอานเหมิน เพื่อสั่งให้เหล่าผู้ชุมนุมแยกย้ายกันออกจากที่นั่นให้เร็วที่สุด
คืนวันที่ 3 ถึงเช้าวันที่ 4 มิถุนายน
รัฐบาลจีนส่งทหารพร้อมอาวุธและขบวนรถถัง
เข้าระดมยิงปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
มีประชาชนหลายคนถูกรถถังเหยียบร่างจนเสียชีวิต
บางคนฟื้นมาอีกทีก็พบว่าขาทั้งสองข้างขาดหายไปแล้ว
ทหารติดอาวุธนับสิบนายรุมทำร้ายนักศึกษา
กลุ่มผู้ประท้วงช่วยกันแบกผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไปโรงพยาบาล
ทั้งนี้.. สื่อต่างชาติแต่ละสื่อระบุจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ตรงกัน และทางรัฐบาลจีนก็ไม่เคยออกมาเปิดเผยยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ
ญาติพี่น้องที่โศกเศร้าต่อการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก
แต่มันก็เป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ และทำให้รัฐบาลจีนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ในแง่ของการละเมิดสิทธิมนุษยชน 💢💢
รัฐบาลจีนไม่เคยออกมารับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
และไม่เคยมีฆาตรกรคนไหนที่ฆ่าประชาชนแล้วถูกลงโทษ
ภาพถ่ายสุดโด่งดัง เมื่อชายชาวจีนไร้อาวุธยืนประจันหน้ากับขบวนรถถัง
ภาพจากสื่อ ABC เผยให้เห็นกลุ่มคนกำลังลากชายชุดขาวออกไป
การออกมาเสียสละชีวิตเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนชาวจีน จบสิ้นลงไปด้วยความล้มเหลว อีกทั้งยังทำให้พรรคคอมนิวนิสต์อยู่รอดแข็งแกร่งมาจนถึงทุกวันนี้
จะเห็นได้ว่าผู้นำจีนมักจะหลีกเลี่ยงการสะกิดบาดแผลเหตุการณ์เทียนอานเหมิน แม้แต่หนังสือชีวประวัติของหู เย่าปาง ก็ไม่ได้ลงรายละเอียดถึงช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา
และเมื่อใกล้ถึงวันครบรอบเหตุการณ์นองเลือดเทียนอานเหมิน
เหล่าบรรดานักเคลื่อนไหว, นักกฎหมาย, นักวิชาการ
ก็มักจะถูกรัฐบาลกักตัวหรือจำกัดเสรีภาพ ให้ต้องอยู่แบบเงียบ ๆ
ซึ่งอันที่จริง ถ้าหากทางพรรคคอมมิวนิสต์ยอมให้มีการชำระประวัติศาสตร์ อาจจะช่วยให้ทางพรรคได้รับการสนับสนุนมากขึ้นด้วยซ้ำ
เช่นเดียวกับที่ครั้งหนึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์เคยยอมรับว่า เหมาเจ๋อตงทำผิดพลาดในช่วงการ “ปฏิวัติวัฒนธรรม” นั่นแล
แต่นั่นคงเป็นความฝันที่ไกลเกินไป เนื่องจากรัฐมนตรีกลาโหมจีนยังคงยืนยันว่า “การปราบปรามประชาชน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน” เป็นเรื่องที่สมควรและเหมาะสม เนื่องจากทำให้รัฐบาลจีนมีสเถียรภาพ
สิ่งที่จีนไม่ต่างจากเราบ้านเราในตอนนี้
คือการละเลย “การศึกษาเพื่อให้เกิดความสำนึกผิด”
อันนี้พูดถึงเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์
ที่มักจะ 'ละทิ้ง' หรือ 'ปิดกั้น' ข้อมูลสำคัญจากผู้เรียน
เมื่อเปรียบเทียบกับที่เยอรมัน 🇩🇪 เขาเน้นเรื่องประวัติศาสตร์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ทั้งที่มันเป็นเรื่องที่น่าอัปยศของชาติ
ดังนั้น คนเยอรมันส่วนใหญ่ที่คุณพบเจอ เขาจะไม่แสดงตัวออกว่าเป็นพวกชาตินิยมอะไรทำนองนั้น
กลับกัน เขาจะถ่อมตัวมาก ๆ เพราะเขารู้สึกว่าการ ‘คลั่งชาติ’ มันน่าละอาย เนื่องจากมันเคยนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อนมนุษย์ด้วยกันไปแล้ว
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้สังหารโหดชาวยิว
หรือลองมาดูที่สหรัฐฯ 🇺🇸 ในห้องเรียนประวัติศาสตร์ คุณจะหนีไม่พ้นเรื่อง “สงครามกลางเมือง” หรือ “สงครามเวียดนาม” แน่ ๆ ล่ะ
ที่ต้องเรียนเพราะอะไรน่ะเหรอ?
ก็เพราะเขาเห็นว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ ที่เด็กควรจะเรียนรู้ว่า.. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของคนรุ่นก่อนมันมีอะไรบ้าง
เรียนรู้ว่าบรรพบุรุษของเขาเคยเบียดเบียนหรือรุกรานใครบ้าง แล้วผลพวงของเหตุการณ์ในครั้งนั้นมันส่งผลอย่างไร
การเรียนประวัติศาสตร์แบบนั้นมันจะช่วยให้เราไม่หยิ่งผยอง และได้รู้ว่าเราควรแก้ไขสิ่งใด เพื่อป้องกันสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นซ้ำซาก รวมถึงสร้างปัจจุบัน & อนาคต ให้ดีกว่าเดิม ✨
“ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอย
สำหรับผู้ที่ไม่เคยขวนขวายหาความจริง”
1
โฆษณา