3 เม.ย. 2020 เวลา 10:43 • ความคิดเห็น
😡อยาก “เป็นสุข” ต้องหยุด “หัวร้อน”
ตอนนี้คุณเป็นคนหนึ่งที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม “มนุษย์หัวร้อน” อยู่หรือเปล่า
Credit ภาพ: https://www.pixabay.com
😡😡
ในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมานี้ผมเพิ่งเขียนใบสมัครสมาชิกกลุ่ม “มนุษย์หัวร้อน” ไปสดๆ ร้อนๆ
“มนุษย์หัวร้อน” ในที่นี้ ไม่ใช่การเป็นไข้นะครับ
ช่วงนี้ “หัวร้อน” แบบนั้นคงโดนเอาไปกักตัว
แต่ “หัวร้อน” ในที่นี้หมายถึงสภาวะอารมณ์หงุดหงิด โมโห ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด เหวี่ยงวีน....และอื่นๆ ที่เป็นสภาวะอารมณ์ทางด้านลบ
.
Credit ภาพ: https://www.pixabay.com
.
เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ทุกคนมีโอกาส “หัวร้อน” กันได้ง่ายๆ
แต่ความเป็น “มนุษย์หัวร้อน” ไม่ได้ส่งผลดีต่อใครทั้งสิ้น
คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือตัวเราเอง ตามมาด้วยครอบครัวและคนรอบข้าง
คนที่ “หัวร้อน” บ่อยๆ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้
เราเองก็ไม่ชอบ “มนุษย์หัวร้อน” เพราะอยู่ใกล้ๆ ก็พาลเราหงุดหงิดและเครียดไปด้วย
แต่ที่ผ่านมาดันเผลอ “หัวร้อน” ซะเอง
สาเหตุไม่ขอกล่าวละกันครับ ละไว้ในฐานที่เข้าใจ แต่มันประดังประเดมาหลายเรื่องรวมๆ กัน
.
Credit ภาพ: https://www.pixabay.com
.
ที่อยากมาแชร์ในบทความนี้คือวิธีการที่แอดมินใช้กำจัดความเป็น “มนุษย์หัวร้อน” ในตัวออกไปให้ได้เร็วที่สุด
เพราะยิ่งปล่อยให้ “หัวร้อน” นานเท่าไร เราก็จะสุขน้อยลง และทุกข์มากขึ้นเท่านั้น
เมื่อคุณรู้สึกว่า”หัวร้อน” ให้ตั้งสติ ยอมรับว่าเรากำลังอารมณ์ขึ้น และลองทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้
.
1. เมื่อคุณกำลัง “หัวร้อน” พยายามอย่าเพิ่งตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ เพราะช่วงนี้เราอาจตัดสินใจพลาดเพราะมีอารมณ์มาบดบังเหตุผลซะส่วนใหญ่
2. หาให้เจอว่าคุณกำลัง “หัวร้อน” เรื่องอะไรกันแน่ และใครที่เป็นสาเหตุทำให้คุณ “หัวร้อน” และอย่าไปใส่อารมณ์กับคนที่ไม่เกี่ยวข้อง
3. หาคนที่ช่วยรับฟังและเป็นที่ระบายของคุณได้ แต่ข้อนี้สำคัญที่สุด คนที่รับฟังคุณต้องมีทัศนคติเชิงบวกอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าเขาจะไม่มาเพิ่ม “ความหัวร้อน” ให้คุณมากขึ้น
5. หลีกเลี่ยงการระบายกับคนที่มีปัญหาคล้ายๆ กันหรือใกล้ชิดกันมากๆ เช่น แผนกเดียวกัน มีปัญหาแบบเดียวกัน เพราะอาจพากัน “หัวร้อน” กว่าเดิม ยกเว้นว่าคุณแน่ใจว่าเขาคนนั้นจะมีความสามารถในการระงับ “หัวร้อน” ได้ดีกว่าคุณ
6. หากไม่มีใครให้ระบาย พยายามอย่าเก็บไว้มากเกินไป เพราะมันอาจระเบิดขึ้นมา แต่ให้คุณหาที่เงียบๆ ระบายกับตัวเอง บ่นได้ ด่าได้ เกรี้ยวกราดได้ เพื่อให้อารมณ์เย็นลง
7. พยายามเข้าหาเรื่องอื่นๆ ที่ช่วยสร้างพลังด้านบวกเพิ่มขึ้น เช่น ไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนเองชอบ คุยกับคนที่มีพลังบวกเยอะๆ หรือไปออกกำลังกายเพื่อปลดปล่อยความเครียด เป็นต้น
8. สำคัญที่สุด อย่าหลบหนีปัญหาหรือหมดปัญหาที่เป็นสาเหตุทำให้คุณ “หัวร้อน” เมื่อมีสติแล้ว พยายามแก้มันให้จบ คุณจะได้ไม่ต้องมา “หัวร้อน” กับมันอีก
😆😆
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์เพื่อให้ผู้อ่านเลิกเป็นสมาชิกกลุ่ม “มนุษย์หัวร้อน” กันได้ครับ
แต่ถ้าใครอยากเลิกหัวร้อนได้ง่ายๆ แค่แวะมาเยี่ยมชมเพจของพวกเราชาว BD ก็อารมณ์ดีได้แล้วครับ 😁😁
🙏 ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ ร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นกำลังใจให้ด้วยครับ
❤️ สุขที่ได้เขียน
# Happy Life 😊
# 3 MAR 2020
โฆษณา