3 เม.ย. 2020 เวลา 02:46 • สุขภาพ
กระทรวงการคลัง ยืนยัน การนำระบบเทคโนโลยี AI มาตรวจสอบสิทธิ์ผู้ได้รับการเยียวยาตามมาตรการเงินชดเชย 5,000 บาท 3 เดือน มีความแม่นยำสูง
นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงระบบการคัดกรอง ผู้ได้รับสิทธิ์เยียวยาจากผลกระทบโรคโควิด-19 ภายใต้มาตรการได้รับเงินชดเชยรายละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ขยายจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์เยียวยาสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 รวมถึงกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้อยู่ในประกันสังคม จาก 3 ล้านคน เพิ่มอีก 6 ล้านคน รวมเป็น 9 ล้านคน เพื่อให้ทั่วถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะได้รับเงินชดเชยรายละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน โดยในเดือนเมษายนนี้เงินชดเชยรายได้ระยะแรกจะถูกนำมาใช้จำนวน 45,000 ล้านบาท เงินชดเชยดังกล่าวยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยให้กรมสรรพากรเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซด์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เพื่อรับสิทธิ์เงินเยียวยาจากมาตรการดังกล่าวมากกว่า 22 ล้านคนแล้ว เพื่อความแม่นยำในการคัดเลือดผู้ที่ได้นับสิทธิ์ตามมาตรการดังกล่าว ธนาคารกรุงไทย ได้นำเทคโนโลยี AI มากลั่นกรองข้อมูลโดยวิธีการตอบคำถามที่กระทรวงการคลังเตรียมไว้ หลังจากนั้น ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบคำถามของผู้ลงทะเบียน โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่เลือกและคำถามที่ตอบไว้ ผลที่ได้จะมีความแม่นยำสูง ปราศจากความคิดเห็นส่วนตัวต่างจากมนุษย์ เพราะระบบ AI จะวิเคราะห์พร้อมประมวลผลข้อมูลและหลักฐานทั้งหมดที่ผู้ลงทะเบียนเป็นผู้กรอก เพื่อเฟ้นหาผู้ที่เดือดร้อนจริงและได้รับสิทธิ์เงินเยียวยารายละ 5,000 บาท ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2563
โฆษณา