5 เม.ย. 2020 เวลา 13:23 • สุขภาพ
อาหารลดโซเดียม เป็นอย่างไร???
เกลือ หรือ โซเดียม คืออะไร??
เกลือแกง คือ สารประกอบโซเดียมคลอไรด์ มีสูตรเคมีคือ NaCl คุณสมบัติพิเศษละลายน้ำได้ดี มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น แทรกอยู่ในน้ำเหลือง, ช่องว่างระหว่างเซลล์และในเซลล์
5
ซึ่งปริมาณเกลือของร่างกายมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำของร่างกาย
1. ถ้าร่างกายมีเกลือมาก หมายถึง ร่างกายมีน้ำมาก
2. ถ้าร่างกายมีเกลือน้อย หมายถึง ร่างกายมีน้ำน้อย
ดังนั้น ถ้าร่างกายมีเกลือมากเกิน อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่างได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ซึ่งไตทำงานได้น้อยลงหากได้รับเกลือจากอาหารมากเกินไปอาจเกิดอาการบวม ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
1
หน้าที่และความสำคัญของโซเดียมต่อร่างกาย
1. ควบคุมสมดุลของกรด-ด่าง ในร่างกาย
2. ช่วยนำกรดอะมิโนและสารอื่นๆ ไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย
3. ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำนอกเซลล์และในระบบหมุนเวียนเลือดของร่างกาย
โดยโซเดียมเป็นเกลือแร่ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นเราจะได้รับโซเดียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
2
"อาหารลดโซเดียม" หรือ "อาหารลดเกลือ"
โซเดียมมีอยู่ในอาหารทุกชนิด ทั้งที่มีรสเค็ม เช่น เกลือ และไม่ออกรสเค็ม เช่น ผงฟู เมื่อต้องจำกัดโซเดียมหรือลดเกลือ จึงมีผลต่อรสชาติ และการรับประทานอาหารของผู้ป่วย เพราะต้องหลีกเลี่ยงเครื่องปรุงที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบหลัก และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมมาก
ดังนั้น เพื่อให้การรักษาได้ผลเร็วขึ้น ช่วยลดความรุนแรงและป้องกันการแทรกซ้อนของโรค การปฏิบัติตนตามคำแนะนำให้ถูกต้องตามหลักโภชนบำบัดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
โซเดียมในรูปแบบต่างๆ ที่เราอาจไม่ทราบกันมาก่อน
1. โซเดียม เบนโซเอต (Sodium benzoate) ได้แก่พวก "สารกันบูด"
1
2. โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride) ได้แก่พวก "เกลือแกง"
3. โซเดียม อัลจิเนต (Sodium alginate) ได้แก่พวก "สารเพิ่มความข้นหนืด"
1
4. โซเดียม ไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) ได้แก่พวก "ผงฟู"
5. โมโนโซเดียม กลูตาเมต (Monosodium glutamate) ได้แก่พวก "ผงชูรส"
6. โซเดียม แซคคาร์ริน (Sodium saccharin) ได้แก่พวก "ขัณฑสกร"
ความต้องการโซเดียมของร่างกาย มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นกับ เพศ อายุ และสภาวะของร่างกาย
เพิ่มเติม : ความต้องการสูงสุดของโซเดียมที่ร่างกายได้รับและไม่ทำให้เกิดอันตราย ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) อยู่ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน
ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส
1. เกลือ 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 2,000 มิลลิกรัม
2. ซุปก้อน 10 กรัม มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 1,760 มิลลิกรัม
3. ผงชูรส 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 650 มิลลิกรัม
4. กะปิ 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 500 มิลลิกรัม
5. น้ำปลา 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 430 มิลลิกรัม
6. ซีอิํว 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 396 มิลลิกรัม
7. ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 343 มิลลิกรัม
8. ผงฟู 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 339 มิลลิกรัม
9. ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 172 มิลลิกรัม
10. น้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 128 มิลลิกรัม
11. ซอสพริก 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 77 มิลลิกรัม
12. ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนชา มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 50 มิลลิกรัม
2
เทคนิคง่ายๆ ในการลดเค็ม ลดโซเดียมในแต่ละมื้อ
1. ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง
2. ลดการใช้เครื่องปรุงรสในอาหาร เช่น ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว และผงชูรส รวมทั้งไม่วางถ้วยพริกน้ำปลาไว้บนโต๊ะอาหาร
3. เลือกกินอาหารลดหรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด เช่น รับประทานเนื้อหมูดีกว่าไส้กรอก แฮม หมูยอ และกุนเชียง
4. ลดความถี่และปริมาณการรับประทานอาหารที่ใช้น้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มสุกี้ หมูกระทะ และลดการรับประทานน้ำพริกและอาหารที่ใส่เครื่องแกงต่างๆ ที่ใส่เกลือ
5. ลดการรับประทานขนมหวานที่มีเกลือ เช่น ข้าวเหนียวกะทิ ข้าวหลาม ขนมจาก ผลไม้แช่อิ่ม และขนมอบทุกชนิดที่ใส่ผงฟู เช่น โดนัท คุ้กกี้ เค้ก
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ขนมขบเคี้ยวและควรอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง
7. ใช้เครื่องเทศ เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ผักชี ช่วยปรุงแต่งกลิ่นให้น่ารับประทาน
8. ประเภทแกงจืด ใช้ซี่โครงไก่ เพื่อเพิ่มความหวานกลมกล่อมจากกระดูกไก่
9. การประกอบอาหาร ปิ้ง ย่าง หรืออบ ควรคลุกเคล้าด้วยเครื่องเทศ เช่น กระเทียม พริกไทย รากผักชี กลิ่นและสีจากพืชผักจะช่วยทำให้อาหารมีรสชวนรับประทานเป็นการชดเชยรสชาติอาหารอ่อนเค็มได้
2
ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอาหารลดโซเดียม อาหารบางชนิดไม่มีรสเค็ม แต่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบซึ่งต้องระวังในการบริโภค ได้แก่
1. น้ำจิ้มต่างๆ เช่น น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มบ๊วย น้ำสลัดชนิดข้นและใส น้ำปลา น้ำจิ้มพริกเกลือ
2. เครื่องปรุงรสสำเร็จรูป เช่น ผงชูรส ซุปก้อนต่างๆ แกงสำเร็จ ผงปรุงรสในอาหารกึ่งสำเร็จรูป
3. เครื่องปรุงที่รสไม่เค็มแต่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เช่น ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ
4. งดอาหารหมักดอง ตากแห้ง หรืออาหารที่ถนอมด้วยการใช้เกลือทุกชนิด เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เนื้อสัตว์ตากแห้ง
ฝากกดLike กดShare เพื่อเป็นกำลังใจกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 🙏🙏🙏
โฆษณา