6 เม.ย. 2020 เวลา 04:09 • ธุรกิจ
แวะส่องธุรกิจใน 7-Eleven | Ep.5
"ดอยคำ" คือผลผลิตของพ่อ
วันที่ 6 ของทุกปีตามปฏิทินถือว่าเป็นวันจักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเสด็จปราบดาภิเษก
ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ผ่านมาแล้ว 238 ปีในการก่อตั้งราชวงศ์จักรี มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจนถึงปัจจุบันก็ 10 พระองค์
บทความแวะส่องธุรกิจใน 7-Eleven มีเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ ๙ หนึ่งในประมุขแห่งราชวงศ์จักรีมานำเสนอนั่นก็คือ "ดอยคำ"
"ดอยคำ" ก่อตั้งขึ้นจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ทรงมีพระราชประสงค์ในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของไทย
ทรงเห็นความทุกข์ยากของประชาชน และทรงพบว่าชาวบ้านและชาวเขาไม่มีอาชีพที่สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ จึงต้องปลูกฝิ่นขายและทำไร่เลื่อนลอย ดังนั้นปัญหาที่เกิดจากการปลูกฝิ่นถือว่าเป็นภัยยาเสพติดที่รุนแรงของชาติ
พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสกับชาวม้งว่า นอกจากฝิ่นแล้ว แหล่งรายได้ของพวกเขานั้นมาจากไหน?
คำตอบที่ได้ คือ จาก ลูกท้อ ซึ่งเป็นท้อพันธุ์พื้นเมืองผลเล็กๆ ชาวม้งยังกราบบังคมทูลอีกว่ารายได้จากปลูกฝิ่นและท้อนั้นพอๆ กัน
จึงเป็นที่มาของการเริ่มต้น โครงการหลวง
และได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ขึ้น
โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นการเกษตรที่ยั่งยืนเท่านั้น โดยโครงการนี้สนับสนุนให้ทำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อให้ทุกคนสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง
พลิกฟื้นความแห้งแล้งและภัยยาเสพติด ด้วยการเกษตรเพื่อสังคม ผ่าน"โครงการหลวงดอยคำ"
Cr:ดอยคำ
โดยพระองค์มีหลักในการบริหารธุรกิจคือ
"ต้นน้ำ" คือ การผลิตพืชผลที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน และต้องมีกระบวนการผลิตที่ดีด้วย
"กลางน้ำ" คือการรู้จักสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ซึ่งขั้นตอนนี้นับเป็นจุดอ่อนของคนไทยมากที่สุด เพราะปัจจุบันคนไทยมักเน้นการผลิตจำนวนมาก สินค้าอันไหนที่ดีได้รับความนิยม ราคาสูง ทุกคนจะแห่ปลูกตามกันทำให้สินค้าล้นตลาด สุดท้ายต้องมาขายได้ในราคาถูก
เมื่อเกิดการแข่งขันหรือราคาพืชผลตกต่ำตามฤดูกาลจึงทำให้เกิดปัญหา หรือในขณะที่เงินไหลเข้าประเทศไทยก็ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง และทำให้เราขาดทุนเพิ่มมากขึ้น
"ปลายน้ำ" คือการส่งของให้ถึงมือผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางหรือผ่านให้น้อยที่สุด เพราะอย่างที่เราทราบกันว่า พ่อค้าคนกลางเป็นคนที่เก็บกำไรไว้มากที่สุด
ในยุคที่สื่อออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โครงการดอยคำมีการพัฒนาเรื่องช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น
Cr:Openrice
ในปี พ.ศ.2537 ได้จัดตั้งองค์กรเป็นนิติบุคคลภายใต้ชื่อ “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 340 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมผลไม้แปรรูป
เช่น น้ำมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ ผลผลิตจากสตอรว์เบอร์รี ทั้งผลสดและอบแห้ง น้ำเสาวรส น้ำผึ้งและอื่นๆอีกกว่า 200 รายการ และได้ส่งสินค้าบางส่วนเข้ามาจำหน่ายใน 7-Eleven ด้วย
ปี 2562 ดอยคำมีร้านสาขากว่า 36 แห่ง และร้านครอบครัวดอยคำ (เฟรนไชส์) อีก 14 สาขาทั่วประเทศ
ถ้าเราสังเกตที่ภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่มจากดอยคำเราจะเห็นตราสัญลักษณ์หรือตราสินค้า(แบรนด์) โดย
ความหมายของตราสัญลักษณ์ดอยคำมีดังนี้
Cr:ดอยคำ
• รูปวงกลมสีเหลืองทอง
หมายถึง ดวงอาทิตย์ สัญลักษณ์ผู้ให้กำเนิด ให้ความอบอุ่น และสร้างสรรพสิ่งบนโลกเปรียบเสมือนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นผู้ให้ชีวิตกับพสกนิกรชาวไทย
• รูปจั่วสีเขียวเข้ม
หมายถึง ภูเขาสีเขียวแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความแห้งแล้งอันเนื่องมาจากการทำการเกษตร โดยไม่คำนึงถึง สภาพแวดล้อม
• รูปจั่วสีเขียวอ่อน
หมายถึง ลักษณะหน้าจั่วของบ้านไทยในภาคเหนือ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการและเปรียบได้ดั่งราษฎรในผืนแผ่นดินไทย
• ลายเส้นเลข ๙ มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ
หมายถึง น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่หยดลงบนภูเขา และทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
การทำธุรกิจของดอยคำนั้นจะเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ได้หวังผลกำไรเป็นสำคัญ (Social Business)
ในปัจจุบันบริษัทดอยคำผลิตอาหาร จำกัดมีผู้ถือหุ้นคือ
- สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 97.06%
- มูลนิธิโครงการหลวง 2.94%
มีรายชื่อคณะกรรมการบริหารดังต่อไปนี้
นายพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
นายประดิษฐ์ อารยะการกุล
นายศักรินทร์ ภูมิรัตน
นายบัณฑิต หิรัญวิวัฒน์กุล
นางมัทนา วัทนฤทธิ์
นางสาววัลลี ปึงพิพัฒน์ตระกูล
นายดนัย บุณยเกียรติ
นางอัญชัญ ชมพูพวง
นายศรายุทธ ธรเสนา
นายสถิตย์พงษ์ สุขวิมล
นายธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม
นายสมชาย กาญจนมณี
นายปวิตร รุจิเทศ
นายภักดี แสง-ชูโต
นางสาวสุภาภรณ์ ตรีแสน
คุณ จันทนี ธนรักษ์
นายอนุวัฒน์ จงยินดี
1
รายได้บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
ปี 2559 รายได้ 1,701 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 145 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 2,051 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 235 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,893 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 82 ล้านบาท
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9
ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การ
กระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง
จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม
🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา