7 เม.ย. 2020 เวลา 11:53 • การศึกษา
ฮอร์โมนแห่งรัก
The Chemistry of Love
Helen Fisher มหาวิทยาลัย Rutgers University ได้แบ่งขั้นของความรัก ความสัมพันธ์เป็น 3 ขั้นได้แก่
1. Lust ช่วงข้าวใหม่ปลามัน มีความต้องการทางเพศ อยากมีแฟน อยากเป็นเจ้าของ อยากจีบให้ติด ขั้นแรกนี้จะถูกขับเคลื่อนโดยฮอร์โมนเพศได้แก่ Testosterone และ Estrogen ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ควบคุมความต้องการของมนุษย์
2. Attraction ช่วงความรักสีชมพู การเริ่มใกล้ชิด ติดตามผล ดึงดูดซึ่งกันและกัน ขั้นที่สองนี้จะเกิดการหลั่งของสารที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาท ได้แก่
photo cr.: hatvard.edu.com
Adrenaline จะเกิดการหลั่งสารอะดรีนาลินเพิ่มขึ้นขึ้นในช่วงเริ่มแรกของการตกหลุมรัก และการเพิ่มขึ้นของคอร์ติซอร์เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อเกิดความเครียด โดยจะเกิดปฏิกิริยากับร่างกายเช่น เหงื่อออกมือ เท้า หัวใจเต้นแรง ปากแห้ง พูดผิดพูดถูก ตื่นเต้น ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว บางครั้งอาจเกิดขาดความมั่นใจและไม่เป็นตัวของตัวเอง
Dopamine การหลงรักคู่รักจะมีการหลั่งของฮอร์โมนโดพามีนในอัตราที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับการติดสารเสพติดโคเคน หรือนิโคติน สมองจะเกิดการตื่นตัว หลงรัก คิดถึง กังวล คาดหวัง ใครห้ามใครเตือนจะไม่ค่อยฟัง และในทางเดียวกันยังทำให้เกิดความพึงพอใจ ความรักใคร่ในตัวของคนรักอีกด้วย
photo cr. : http://sitn.hms.harvard.edu.com
Serotonin เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เห็นอะไรก็เกี่ยวกับคนรักหรือคิดถึงคนรักตลอดเวลา ช่วยให้รูสึกผ่อนคลาย สงบ อารมณ์มั่นคงไม่แปรปรวนและตอบสนองต่อความเครียดได้อย่างดี การเพิ่มระดับฮอร์โมน Serotonin สามารถทำได้โดยการกินดาร์กช็อคโกแลต การออกกำลังกาย และสมดุลของฮอร์โมนชนิดนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าได้ค่ะ
3. Attachment ขั้นตกลงปลงใจ มีการผูกพันทางอารมณ์อย่างลึกซึ้ง รักชอบพอกัน และยอมรับซึ่งกันและกัน คือขั้นตอนแห่งการนำไปสู่ความสัมพันธ์ระยะยาว การแต่งงาน การสร้างครอบครัว และการมีลูกด้วยกัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วย 2 ฮอร์โมนได้แก่
Oxytocin หรือ The cuddle hormone หรือ Love hormone ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน เกิดได้จากการกอด การจูบ ความรัก ปรารถนาดีเข้าใจในตัวคนรัก
Vasopressin ฮอร์โมนที่ทำให้คู่รักมีความรัก ผูกพันกันยาวนานยิ่งขึ้น
ในทางตรงข้ามมีระดับของฮอร์โมน Dopamine มากเกินไปอาจเกิดการเอาใจไปผุูกติดกับคนรักมากเกินไป กล่าวคือ ฝากความสุขไว้กับอีกคนหนึ่งมากไปนั่นเอง เช่น ถ้าไม่มีเธอฉันจะอยู่ไม่ได้ ถ้าเลิกกับเธอฉันจะขาดใจ เธอเป็นของฉันคนเดียว คุยกับผู้หญิงคนอื่นฉันรู้สึกว่าพวกเขาจะแย่งเธอไป ก่อให้เกิดความไม่ไว้ใจและหึงหวงนั่นเอง
รวมถึงฮอร์โมน Oxytocin หากมีฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไปอาจทำให้เกิดความลำเอียง มีอคติกับคนรักได้เช่นกัน
ดังนั้นการคิดบวกและมองคนรักด้วยความรักโดยการให้ และมีความสุขไปพร้อมกันๆ ช่วยกันเต็มเติม จะช่วยรักษาระดับฮอร์โมนและระดับจิตใจให้มีความรักที่ยืนยาวได้อย่างแน่นอนค่ะ
โฆษณา