7 เม.ย. 2020 เวลา 14:44 • ประวัติศาสตร์
คืนวันพระจันทร์เต็มดวง
วันนี้วันพระ พระจันทร์เต็มดวง
**มีใครเคยเห็นกระต่ายในดวงจันทร์
บ้างไหมคะ**
กระต่าย.. ตัวนั้นคือ...
กระต่ายมีเพื่อน คือนาก ลิง สุนัขจิ้งจอก มองดูดวงจันทร์ก็รู้ว่า..วันพรุ่งนี้จะเป็นวันพระ จึงชวนเพื่อน เราควรจะรักษาอุโบสถศีลกันและ
พรุ่งนี้เราจะเตรียมของถวายทานกันด้วย
นาก เตรียมปลาตะเพียน ลิงก็เตรียมมะม่วงสุก
สุนัขจิ้งจอกก็มีเตรียมเนื้อไว้
**ส่วนกระต่ายคิดว่า เราเลี้ยงชีวิตด้วยหญ้า เราไม่อาจให้ทานด้วยหญ้าได้
เราไม่มีอะไรจะถวายทานเลย จึงคิดว่า
จะเอาชีวิตตัวเองนี่แหละเป็นทาน**
เมื่อมีความคิดเช่นนี้ท้าวสักกะเทวราชถึงกับร้อนอาสน์ ตรวจดูว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นก็เห็นว่ากระต่ายตัวนี้ตั้งใจจะเอาชีวิตตนเองเป็นทาน
จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์ เพื่อมาลองใจ มารับทาน ของสัตว์ทั้ง 4
สัตว์ทุกตัวได้ถวายของที่ต้องเตรียมไว้ พอมาถึงกระต่าย...เจอพราหมณ์
ก็เอ่ยว่า
วันนี้ เราจักให้ทานอันประเสริฐที่ใคร ๆ ไม่เคยให้แก่ท่าน
ท่านผู้ประกอบด้วยศีลคุณ การเบียดเบียนผู้อื่นไม่ควรแก่ท่าน
ท่านจงไปนำเอาไม้ต่าง ๆ มาก่อไฟขึ้น เราจักปิ้งตัวของเรา
ท่านจักได้กินเนื้อที่สุก.
พราหมณ์แปลงจึงก่อกองไฟขึ้นมา กระต่ายสลัดขน 3 ครั้ง
เพื่อเอาสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในขนออกมาให้หมด แล้วกระโดดเข้าไปบนกองไฟ แต่ไฟนั้นกลับเป็นไฟเย็น ไม่มีความร้อนเลย
จึงถามพราหมณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น
ความจริงจึงเปิดเผย**เราคือท้าวสักกะแปลงลงมาเป็นพราหมณ์เพื่อลองใจเจ้า
กระต่ายพระโพธิสัตว์จึงบรรลือสีหนาทว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ อย่าว่าแต่พระองค์เลย
แม้ว่าผู้ใดทั้งโลกจะทดลองใจข้าพระองค์ก็จะไม่มีใครขวางการให้ทานของข้าพระองค์ได้!!
ท้าวสักกะชื่นชมในหัวใจที่ยิ่งใหญ่และเด็ดเดี่ยวจึงตรัสกับกระต่ายโพธิสัตว์นั้นว่า
**คุณความดีของท่านจงปรากฎอยู่ตลอดกัปเถิด**
แล้วทรงบีบภูเขาบรรพต เขียนลักษณะของกระต่ายไว้ในดวงจันทร์ ให้ทุกคนได้เห็น..
กระต่ายในดวงจันทร์ที่เราเห็นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั่นเองค่ะ
เมื่อใดก็ตามที่เรามองดวงจันทร์
ในคืนวันเพ็ญ กระต่ายที่เห็นนั้น เป็นเครื่องระลึกถึง การสร้างมหาทานบารมีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
^^ ออกมามองพระจันทร์กันค่ะ
(ประชุมชาดก
นาก คือ พระอานนท์
สุนัขจิ้งจอกคือ พระโมคคัลลานะ
ลิงคือพระสารีบุตร
ท้าวสักกะ คือ พระอนุรุทธะ)
คืนนี้ นั่งสมาธินึกถึงพระพุทธเจ้ากันนะคะ
"สสปัณฑิตชาดก"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก มก.เล่ม 58 หน้า 481-489
โฆษณา