8 เม.ย. 2020 เวลา 13:32 • สุขภาพ
ทำเกษตรแบบผสมผสาน ลดรายจ่ายสร้างรายได้อย่างมั่นคง
การทำเกษตรแบบผสมผสานคือการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนในการเพาะปลูกพืชผักพร้อมกับการเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ให้เกิดความเกื้อกูลกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดรายจ่ายด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปัจจัยภายนอก เช่นการนำมูลสัตว์มาทำเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ การนำเศษอาหารมาผสมกับเศษพืชผักทำเป็นปุ๋ย
เลี้ยงไก่ไว้กินไข่ มูลไก่สามารถเป็นปุ๋ยได้ดี
ทั้งนี้ การปลูกพืชผักสวนครัว ควรปลูกแบบหลากหลายชนิดเพื่อเป็นการลดรายจ่ายภายในครัวเรือน รวมไปถึงการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเป็นการป้องกันกระแสลมและยึดหน้าดินอีกด้วย
ภาพจาก : https://www.moac.go.th/philosopher-sustainable_agri-preview-382891791795
“เกษตรกรจัดสรรพื้นที่ตรงความต้องการในครัวเรือน มีการปลูกข้าว ไม้ผล พืชผักสวนครัว ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไว้บริโภคในครัวเรือนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเหลือใช้ภายในพื้นที่ เช่น วัชพืชใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ รากไม้และกิ่งไม้ไว้ทำถ่าน” (ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน:กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ดังนั้นแล้วการทำเกษตรผสมผสานจึงเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมกับผู้ที่เริ่มต้นทำเกษตร เพราะเป็นการวางพื้นฐานแบบพออยู่พอกิน ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงนี้เป็นอย่างมากเพราะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและนอกเหนือจากนั้นเมื่อผลผลิตมากพอก็สามารถนำมาขายสร้างรายได้ รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการนำผลผลิตมาแปรรูป ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างอาชีพได้เช่นกัน
ที่นี่เลี้ยงไก่จึงได้กินไข่
จึงสามารถกล่าวได้ว่าการทำเกษตรแบบผสมผสาน เป็นการสร้างความมั่นคงได้อย่างยั่งยืน ในอนาคตเศรษฐกิจอาจจะซบเซามากกว่านี้ แต่เมื่อเรามีทรัพยากรในครัวเรือน เรามีทรัพย์ในดินสินในน้ำซะอย่าง ยังไงก็ไม่อดตายแน่นอน
โฆษณา