9 เม.ย. 2020 เวลา 05:42 • การศึกษา
มาตรการเยียวยาโควิดช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้เยอะ ???
อย่างที่ทุกคนทราบกันนะครับ ตอนนี้ประเทศไทยเราได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด 19 ทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวอย่างหนัก ไม่เพียงแค่ในประเทศไทยนะ
แต่เรียกว่าโดนกันถ้วนหน้าเลยแหละ ซึ่งประเทศต่างๆทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยก็อัดฉีดนโยบายกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างเมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมาก็มีการประกาศมาตรการช่วยเหลือเฟส 3 กันด้วยวงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท บางคนก็พูดว่าโคตรเยอะเลย แต่บางคนกลับบอกว่าไม่เห็นเคยจะมาถึงมือเลย วันนี้ แอดมินโอนันคุงเลยจะพาทุกคนไปหาข้อเท็จกันว่า จริงๆ แล้ว นโยบายการคลังในครั้งนี้อ่ามันเยอะหรือน้อย
ก่อนอื่นเลยอยากพาทุกคนย้อนไปดูกันนิดนึงว่าประเทศเราเคยผ่านวิกฤต
อะไรมาบ้าง และในตอนนั้นเรามีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรกันบ้าง
จากข้อมูลจะพบว่าเรามีวิกฤตที่ทำให้ GDP หรือเศรษฐกิจเราโตติดลบอยู่
2 ช่วงด้วยกันก็คือช่วงสมัย AFC (Asian Financial Crisis) หรือที่เราเรียกๆ
กันว่าวิกฤตต้มยำกุ้งนั้นแหละ อีกช่วงหนึ่งก็คือสมัย GFC (Global Financial Crisis) วิกฤตนี้ก็มีมากมายหลายชื่อเลยไม่ว่าจะเป็น แฮมเบอร์เกอร์ หรือ
Subprime ซึ่งแอดมินก็ไม่เข้าใจเหมือนกันทำไมเรียกแฮมเบอร์เกอร์
เข้าใจแหละว่าคนอเมริกากินกันเยอะ แต่ข้อเท็จจริงเพียงหนึ่งเดียวก็คือ
แฮมเบอร์เกอร์ที่เป็นอาหารมีต้นกำเนิดที่เมือง ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี
โอเคมาว่ากันต่อที่เรื่องเศรษฐกิจจะเห็นว่า 2 ครั้งที่ผ่านมาเนี่ยมันเป็นวิกฤตที่เกิดจากภาคการเงินทั้งสิ้นเลยซึ่งชื่อมันก็บอกอยู่แล้วแหละว่า Financial
crisis ซึ่งมันมีความต่างจากวิกฤตในครั้งนี้มากนัก ครั้งนี้เกิดจากไวรัสทำให้
คนออกจากบ้านไม่ได้ไปทำงานไม่ได้ เรียกว่า หายทั้ง Demand และ
Supply นั้นแหละ จึงอาจเรียกได้ว่ามันเป็น Shock จากฝั่งภาค real sector มากกว่า ซึ่ง shock ประเภทนี้ไม่ใช่ว่าบ้านเราไม่เคยเกิดขึ้นนะ มีเกิดเหมือนกันสมัยน้ำท่วมตอนปี 2011 นั้นแหละแต่ความรุนแรงเทียบกับครั้งนี้ไม่ได้
เลย อย่างน้ำท่วมใหญ่ครั้งนั้นมันก็ยังมีบริเวณที่ยังทำงานได้อยู่ และมันกิน
เวลาไม่นานมากนักจึงทำให้เศรษฐกิจยังคงพอจะประคองตัวให้โตได้อยู่
ในสมัยต้มยำกุ้งนั้น แอดมินโอนันคุงขอยอมรับด้วยความสัตย์จริงว่าตอนนั้นแอดยังเด็กอยู่มากยังนั่งเล่นหุ่นจูเรนเจอร์อยู่เลยอาจจะจำความอะไรไม่ได้
มาก แต่แอดไปหาข้อมูลมาให้เรียบร้อย สมัยนั้นเนี่ย มีมาตรการหลักดังนี้
มาตรการด้านการเกษตรเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโยมีวงเงิน 600 ล้านดอลล่าร์
หากคิดด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ 30 บาท จะเท่ากับประมาณ 18000 ล้านบาท มันช่างดูต่างจาก 1.9 ล้านล้านบาทเมื่อวันก่อนเหลือเกิน แอดมินอยากจะ
บอกว่าเราคงไม่สามารถมาเทียบกันตรงๆได้ เนื่องจาก 1 บาท สมัยนั้นกับ
1 บาทสมัยนี้ก็มีค่าต่างกันเยอะแล้ว เราคงต้องมาดูกันว่ามันเป็นสัดส่วนเท่า
ไหร่ของ GDP เพื่อที่จะเทียบกับแบบแฟร์ๆ หน่อย (ข่าวปลอมหลายข่าว
เลยชอบเอาตัวเลขแบบนี้มาหลอกคนอ่าน ชอบเทียบกัน ทั้งๆที่ข้อเท็จจริง
คือมันเทียบกันไม่ได้)
ในปี 98 เรามี Nominal GDP ที่ 4,701,553 ล้านบาท ซึ่ง 18,000 ล้านบาท
คิดเป็นประมาณ 0.4% นั้นเอง สำหรับช่วยเหลือในภาคเกษตรเพียงอย่าง
เดียว แอดมินถือว่าไม่ได้เยอะเลย โดยปกติแล้วเนี่ยมาตรการช่วยเหลือ
เกษตรกรจะมีมาตลอดแหละ เนื่องจากอย่างที่รู้ๆกันบ้านเรามีแรงงานอยู่ใน
ภาคเกษตรค่อนข้างเยอะ อย่างปลายปีที่แล้วก็มีมาตรการช่วยเหลือวงเงิน
ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 0.3 % ของ GDP ปี 2019 แล้ว นี่ขนาดปลายปีก่อนไม่ได้เกิดวิกฤตอะไรนะยังอัดฉีดเงินช่วยเหลือเยอะเลย
นอกจากเกษตรกรรมแล้ว ยังมีโครงการช่วยเหลือSMEและภาคอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งมีวงเงินปล่อยกู้ประมาณ 35,000 ล้านบาท รวมถึงเร่งลงทุนในโครง
การต่างๆ อีก 1,716 ล้านบาท และยังมีมาตรการที่ช่วยเหลือด้านสังคม
พูดง่ายๆก็คือโครงการอะไรก็ได้ที่มีจ่ายเงินอัดฉีดลงภาคเอกชนนั้นแหละ
อีก 300 ล้านดอลล่าร์หรือประมาณ 9,000 ล้านบาท รวมๆแล้ว ตอนนั้นวิกฤตต้มยำกุ้งภาครัฐมีการกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 63,000 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1.3 % ของ GDP ในสมัยนั้นเอง
ทีนี้เรามีดูวิกฤต GFC กันบ้าง สมัยนั้นแอดมินเริ่มโตแหละพอจะจำความได้
แม่นเลยเป็นช่วงที่ก่อนเจอชายชุดดำจับไปกินยาให้เตี้ย 555 หลอกๆ
นโยบายที่คุ้นหูกันในช่วงนั้นคงหนีไปพ้น เช็คช่วยชาติเป็นแน่แท้ ที่มีการแจกเงินให้คนละ 2,000 บาท แจกเยอะมากเลยนะแจกไปประมาณ 8 ล้านคน
ได้มั้งคิดเป็นวงเงินประมาณ 17,000 ล้านบาทและนอกจากนี้ยังมีมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหรือ SP1 อีก116,700 ล้านบาท รวมแล้วประมาณ
133,700 ล้านบาทซึ่งคิดเป็นประมาณ 1.4 % ของ GDP ปี 2009 นั้นเอง
พอมาดูแบบนี้ก็เห็นค่อนข้างชัดเจนเลยนะว่าเวลาที่เกิดวิกฤตเนี่ยมันจะมีเงินอัดฉีดจากภาครัฐประมาณ 1 % กว่าๆ ของ GDP ตลอด ถามว่าเยอะมั้ย แอดมินว่าเยอะนะ เนื่องจากว่าเราต้องแยกให้ออกก่อนระหว่างงบเพิ่มเติมที่มาอัดฉีดแบบนี้กับงบประจำที่เบิกจ่ายเป็นปกติอยู่แล้ว ต้องบอกว่าไอ 1 % กว่าๆ
ตรงนี้มันก็เหมือนส่วนเพิ่มที่ทำจากปกตินั้นแหละ ดังนั้นตลอดช่วงที่เกิดวิกฤตหน่วยงานรัฐต่างๆก็จะเร่งเบิกจ่ายอย่างอื่นเพิ่มด้วย เช่นสร้างถนน เงินมันก็จะเข้าสู่ระบบเพิ่มเข้าไปอีก
ทีนี้เรามาดูปีนี้กันบ้าง ตอนนี้มาตรการเยียวยาออกมา 3 เฟสด้วยกันเฟสแรก
เป็นเรื่องของเงินกู้ซะเยอะเลยมีวงเงินสินเชื่อรวมๆ 180,000 ล้านบาท
ด้วยกัน ส่วนเฟส 2 นำมาด้วยโครงการเราไม่ทิ้งกัน แจกเงินคนละ 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือนด้วยกันและจะแจก 3 ล้านคนดังนั้นใช้เงินทั้งสิ้น 45,000 ล้านบาท และยังมีวงเงินสินเชื่ออีก 40,000 ล้านบาทด้วยกัน สุดท้ายฮือฮาที่สุด เฟส 3 ที่เป็นการร่วมด้วยช่วยกันกับแบงก์ชาติมีวงเงินรวมถึง 1.9
ล้านล้านบาท รวมทั้งสิ้น 3 เฟส ตอนนี้อัดฉีดเงินไปแล้ว 2.165 ล้านล้านบาท คิดเป็น 12.8% ของ GDP โคตรเยอะเลยถ้าเทียบกับวิกฤตครั้งก่อนๆ ครั้งนี้
ชนะขาดลอย นี่ขนาดยังไม่รวมมาตรการทางภาษีอีกนะ เพราะจริงๆแล้ว
นโยบายการคลังเนี่ยนอกจากอัดฉีดเงินแล้วเราก็ลดการรั่วไหลของเงินผ่านทางภาษีได้ด้วย
โดยสรุปแล้ว แอดมินคิดว่ามาตรการทางการคลังในครั้งนี้มีค่ามหาศาลจริงๆ คิดแค่เม็ดเงินเท่ากับประมาณ 12.8% ของ GDP เลยมากกว่าในอดีตร่วม 10 เท่า แต่ยังไงก็ตามเราคงต้องมาดูกันว่าเงินลงทุนเหล่านั้นมันจะได้ผลหรือ
ไม่ เพราะก็มีนักวิชาการหลายคนเลยทีบอกว่าในช่วงที่เกิดวิกฤตแบบนี้
Fiscal Multiplier มันจะมีค่าน้อยมากๆ หรือพูดง่ายๆก็คือ จ่ายเงินไปคน
ไม่ค่อยเอาไปใช้เลยทำให้เห็นผลน้อยนั้นเอง และอีกประเด็นที่โอนันคุง
อยากชี้ให้ก็คือ มาตรการในครั้งนี้เน้นไปที่ SME ที่ได้รับผลกระทบซึ่งก็ไม่
แปลกอะไรเพราะ SME นับว่าเป็นแหล่งการกระจายเงินอย่างดีเลย หากเรา
รักษาธุรกิจไว้ได้เงินก็ยังจะหนุนเวียนต่อไป จึงไม่แปลกอะไรที่คนบางกลุ่ม
จะบอกว่าเงินไม่มาถึงตนเอง
สุดท้ายแอดมินอยากบอกว่า ข้อเท็จจริงมีเพียงหนึ่งเดียวในค่ำคืนนี้ก็คือ มาตรการเยียวยาในครั้งนี้ถือว่าโคตรเยอะเป็นประวัติการณ์
เกร็ดความรู้เสริมหากใครคุ้นชินกับ GDP อยู่แล้วข้ามได้เลย
ข้อมูล GDP บอกอะไรได้เยอะมากๆอย่างกราฟครั้งนี้แอดมินก็เอาข้อมูลมา
จากในเว็บของ NESDC หรือสภาพัฒน์นั้นเองแล้วก็โหลดไฟล์ GDP มาได้เลยจริงๆแล้ว ข้อมูล GDP นับว่าเป็นข้อมูลที่แอดมินดูบ่อยที่สุดเลยก็ว่า มันก็คือตัวเดียวกันกับ Y = C+I+G+X-M สมัยที่เราเรียนนั้นแหละ แอดมินเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยท่องกันอยู่ หากใครที่ไม่เคยเข้าไปดูอาจจะงงซักหน่อย เพราะในไฟล์ Excel ที่โหลดมามันมีหลายตารางมากๆ มี 22 ตารางด้วยกัน
ใช่แล้วฟังไม่ผิดหรอกครับ เพราะจริงๆแล้ว GDP มันมีวิธีการวัดได้หลายแบบเย อย่างตะกี่ที่แอดมินได้บอกไปมันคือการวัดฝั่งรายจ่ายนั้นเอง หรือจะมองว่าเป็น Demand side ก็ได้ไม่ผิดนักหรอก นอกจากนี้ยังมีฝั่งภาคการผลิตด้วยก็ จะเป็นการแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ ภาคบริการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม นั้นแหละไว้ว่างๆ แอดมินจะมาเล่าให้ฟังโดยละเอียดอีกทีนะ แต่ยังไงก็ตามไม่ว่าจะวัดแบบไหน ข้อเท็จจริงก็จะมีเพียงหนึ่งเดียว นั้นคือวัดแบบไหนก็จะได้เศรษฐกิจหน้าตาเหมือนกัน มันคล้ายๆกับว่าเราจะมองมุมไหนนั้นแหละ
ทีนี้ขอกลับมาที่ GDP กันต่อนะ กราฟด้านบน แอดมินอยากดูภาพเศรษฐกิจรวมๆ แอดมินจึงเลือกตารางที่ 2 ซึ่งเป็น Real term ของ GDP จะได้ไม่มีผลของราคามารวมด้วยในการวิเคราะห์ เนื่องจากว่าราคาส่วนใหญ่แล้วมันก็ขึ้นทุกปีนั้นแหละ บางทีถ้าไม่ขจัดผลของมันก่อนก็จะไม่รู้หรอกว่าเศรษฐกิจจริงๆเป็นยังไง อาจจะดีขึ้นจากราคาก็ได้ แล้วหลังจากนั้นก็ทำการหา Growth ด้วยจะได้รู้ไปเลยว่าดีขึ้นหรือแย่ลง บางทีดูเป็น level มันดูไม่ออกหรอก
โฆษณา