14 เม.ย. 2020 เวลา 11:38 • สุขภาพ
เรื่องแปลกประหลาดของ COVID - 19
ไวรัสโควิด - 19 เริ่มต้นจากซีกโลกตะวันออก ลุกลามไปซีกโลกตะวันตก
จนการแพร่ระบาดได้กระจายไปทั่วโลก
ถ้าหากเปรียบเทียบความรุนแรงของการระบาดของโรคระบาดครั้งนี้ จะสังเกตุได้ว่าความรุนแรงนั้น ไม่เท่ากับโรคระบาดครั้งก่อน ๆ จำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิตเองก็ไม่ได้เยอะเท่ากับครั้งก่อน ๆ อีกทั้งรูปแบบการแพร่เชื้อที่ยังสามารถป้องกันได้เ รวมถึงการแสดงอาการที่ต้องกินเวลาเป็นสัปดาห์
มีคนจำนวนไม่น้อยที่สามารถหายจากโรคเองได้ โดยไม่ต้องใช้ยารักษา
อาการป่วยไม่ต่างจากไข้หวัดธรรมดา แต่บางรายกลับรุนแรงโดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีเป็นทุนเดิม
จึงเกิดเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับโรคระบาด
มันจะแปลกยังไงเรามาดูกันครับ
ด้วยคำว่า "ป่วยแล้วหายเองได้"
อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคระบาดนี้
เพราะมันไม่ได้เเสดงอาการแบบเฉียบพลันเหมือนกับโรคระบาดเมื่อครั้งก่อน ๆ แต่มันมารูปแบบเดียวกันกับเอดส์ ที่เชื้อเข้าไปสู่คนในตอนแรกยังไม่แสดงอาการ ทุกอย่างดูปกติ ทำให้เราใช้ชีวิตตามปกติ ไม่มีไข้ ไม่ป่วย และถ้าไม่
ตรวจก็ไม่รู้ จึงเกิด"การละเลย" ไม่สนใจ ดังเช่นในบางประเทศที่ไม่ยอมใส่หน้ากาก ด้วยความเชื่อต่าง ๆ ที่ไม่ชอบใส่ คนป่วยใส่เท่านั้น ใส่แล้วดูแปลก
หาก COVID - 19 นี้มีความรุนแรงที่เมื่อติดแล้ว เเสดงอาการออกมาอย่างรวดเร็ว สามารถบอกว่าคนนี้ติดเชื้อ มีการตายแบบเฉียบพลัน จำนวนผู้ป่วยติด
เชื้อลุกลามอย่างรวดเร็วดั่งไฟลามทุ่ง แต่ COVID - 19 นั้นไม่ใช่
COVID - 19 จึงเป็นเหมือน"ภัยเงียบ"ที่ค่อย ๆ คืบคลานเข้ามา ที่เราต้องใช้
สติในการเฝ้าระวังมากขึ้น มีการวางแผนที่รอบคอบ เพราะมันแตกต่างจาก
โรคระบาดครั้งก่อน ๆ ที่ติดแล้วเห็นอาการชัดเจน แต่ต่างจากโรคอื่นชัดเจน
นอกจากนี้ภัยเงียบอย่าง COVID - 19 แล้ว ปัจจุบันเรายังมีภัยเงียบอีกมาก
มายที่แฝงเร้นซ่อนกายอยู่กับเรามาอย่างช้านาน จนเรามองว่ามันเป็นเรื่อง
ปกติไปเสียแล้ว (หรือเปล่า ???)
ไม่ว่าจะเป็น ภัยจากการกินอาหารทอด อาหารขยะ ไขมันที่ "ค่อย ๆ " สะสมอยู่ในเส้นเลือด ชั้นไขมันใต้พุงหนาของเรา จนวันหนึ่งส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ ที่คร่าชีวิตคนมานับไม่ถ้วน
ภัยจากการกินอาหารไหม้เกรียมอย่างหมูปิ้ง หมูกระทะที่ทำให้เป็นโรคมะเร็ง คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง
หรือภัยเงียบที่ร้ายแรงที่สุดตอนนี้ และหนักว่า COVID - 19 คือ
"ภัยจากภาวะโลกร้อน" อุณหภูมิที่สูงขึ้น ฤดูกาลเปลี่ยนเเปลง ฝุ่นควัน P.M 2.5 ปัญหาไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในทะเล สัตว์จำนวนมากล้มตาย
ไฟป่า ที่เรากำลังประสบพบเจออยู่ ณ ตอนนี้ แต่การพูดถึงกลับน้อยกว่า
ได้รับการสนใจไม่เท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่ความรุนแรงมากกว่าและส่งผลยาวนานกว่า กินวงกว้างไปทั่วทั้งโลก
มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่าการเพิ่มขึ้นของ PM 2.5 เพียง 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์
เมตร เกี่ยวข้องกับอัตราการเพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตจาก COVID - 19 ถึง 15%
ทำไมเราจึงละเลยปัญหาที่ใหญ่กว่าและอันตรายกว่า
เป็นเพราะ สมองของคนเรามักตอบสนองต่อ "อันตรายไว" ได้ไวกว่า"อันตรายช้า" หรือที่เราเรียกการตอบสนองอย่างฉับพลันนั้นว่า "สัญชาตญาณ"ซึ่งมันคือส่วนหนึ่ง DNA ของมนุษย์ที่ถูกถ่ายทอดมาอย่างยาวนานหลายหมื่นปี
สมองของเราถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน
ได้ดีกว่าแบบช้า ๆ ไม่ว่าอันตรายนั้นจะส่งผลร้ายแรงแค่ไหนก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น หากเรายืนดูบอลผ่านลูกกรงและ
มีลูกฟุตบอลพุ่งเข้ามายังหน้าคุณด้วยความเร็วสูงมาก
เราก็จะยกมือขึ้นมาป้องกันหรือเบือนหน้าหนี
เพื่อที่จะหลบลูกฟุตบอล แม้ในความเป็นจริงแล้วลูกบอล
อาจจะไม่โดนเราก็ตาม
หรือ การที่ผึ้งตัวหนึ่งบินเข้าใกล้ตัวเรา
เราก็จะเอาตัวออกห่างอย่างทันที
ทั้ง ๆ ที่บางที่มันอาจไม่ได้ทำร้ายเรา
แต่ความกลัวเหล่านั้นถูกฝังลงไปในจิตใต้สำนึกของเรา
ด้วยความที่สมัยก่อนคนกลัวเพราะอาจต้องไปตีผึ่้ง
เพื่อเอาน้ำหวานมากิน
นั้นก็เพราะว่าเมื่อก่อนภัยอันตรายต่าง ๆ ของมนุษย์ยุคเก่าไม่ได้เป็นเช่นนี้
สมัยก่อนมนุษย์จะได้รับอันตรายอย่างรวดเร็วจากไฟป่า ข้าศึกบุก สัตว์โจมตี
สมองเราจึงจดจำและเรียนรู้อันตรายในรูปแบบนั้นเสียมากกว่า
และเมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไปมาจนถึงปัจจุบันสมองเราก็ยังคงเป็นเช่นนั้น
ไวรัส COVID -19 เองก็ได้พัฒนาการมาเพื่อโจมตีจุดอ่อนของคนเราอย่างจัง ๆ เพราะถ้ามันมาในรูปแบบที่ติดเชื้อแล้วแสดงอาการอย่างรุนแรง
มีคนตายอย่างรวดเร็ว มนุษย์คงรับรู้และรับมือได้อย่างรวดเร็ว
การระบาดคงไม่กินวงกว้าง
อย่าลืมว่าไวรัสเองก็เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งซึ่งต้องมีการปรับตัว เพราะถ้าจะ
มาโจมตีซึ่ง ๆ หน้า คงโดนมนุษย์กำจัดอย่างรวดเร็ว มันจึงต้องวิวัฒนาการมาเเบบเงียบ ๆ แฝงอยู่ในตัวมนุษย์ให้ได้นานที่สุด และการกระจายพันธุ์ให้ได้
มากที่สุด
อันตรายที่มาในรูปแบบช้า ๆ นั้นไม่ได้มีแค่ในเรื่องภัยจาก COVID -19 และสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่หากเรานึกดี ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาครอบครัว สุขภาพที่หลายคนรู้ว่าออกกำลังกายแล้วสุขภาพดีแต่ทำไมไม่ออก ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ไม่ดีแต่ก็ยังทำ การเรียนที่ใคร ๆ ก็บอกว่าอ่านทบทวนตลอดถึงจะดีแต่ทำไมหลายคนชอบอ่านตอนไกลสอบต้องให้ไฟล้นก้นถึงจะรู้สึกตัว หรือแม้กระทั่งเรื่องยิ่งใหญ่อย่าง "เงิน" ที่ไม่ลงทุน ไม่กระจายความเสี่ยง เปลี่ยนเงินเป็นสินทรัพย์
สิ่งสำคัญที่จะมาหยุดยั้งอันตรายช้าเหล่านี้ก็คือ "การวางแผน" และ
"มองการณ์ไกล"
เพราะหากทุกเรื่องเรามีการวางแผน คาดการณ์อนาคตล่วงหน้าและเตรียมตัวรับมือได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อเวลานั้นมาถึงเราก็จะพร้อมรับมือกับมันได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่หากเราไม่วางแผนเตรียมตัวรับมือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และถึงแม้ว่าแผนที่เราวางไว้อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้หมด แต่เราก็จะรับมือมันได้ระดับหนึ่งเพราะเรามีการวางแผนมาแล้วจึงเจ็บน้อยกว่า
"กว่าจะรู้ตัว ก็สายไปเสียแล้ว"
โรคระบาดอย่าง COVID - 19 กว่าจะแพร่กว่าจะรู้ตัวก็ตั้ง 14 วัน มันช้าไปหากเราคิดไม่ทัน รู้ตัวอีกที อ้าว ติดแล้ว แต่เราสามารถหยุดเรื่องนี้ได้เพียงแค่คิดให้ไกลขึ้น มองรอบด้านให้มากขึ้น
แล้วเราจะพบว่าเจ้าเชื้อไวรัสตัวนี้ไม่ได้ร้ายแรง มันให้โอกาสเราป้องกันแล้วด้วยซ้ำ ถ้าติดแล้วเสียชีวิตอย่างรวดเร็วผมอาจไม่ได้ มาเล่าให้ทุกคนฟังแบบนี้
ข้อคิดจากคนเข้าป่า : ปัญหาที่ยากที่สุดคือการไม่เห็นถึงปัญหา
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า
ปล. ทุกอย่างเป็นเพียงสมมุติฐานที่ผมมองผ่านโรคระบาดนี้ไปในอีกมุมหนึ่ง
ไม่ได้หมายความว่าการที่มันไม่รุนแรงคนตายน้อยนั้นเป็นเรื่องที่ดี
หากผิดพลาดประการใดหรือไม่ถูกใจใครก็ตาม ขออภัยด้วยครับ
คอมเม้นแรกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เลยครับ "ด่าได้แต่อย่าแรง"
โฆษณา