10 เม.ย. 2020 เวลา 09:34
"หนี้สาธารณะคืออะไร?"
ท๊อฟฟี่เชื่อว่าหลายๆคนน่าจะเคยมีหนี้กันใช่มั้ยค้า? ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ หรือหนี้บัตรเครดิต ซึ่งเราก็ต้องผ่อนกันไปยาวๆเลย แต่ถ้าเรามองหนี้ใน scale ที่ใหญ่กว่าหนี้ส่วนบุคคล เราก็อาจจะมองไปจนถึงหนี้ระดับประเทศเลยน้าค้า ซึ่งท๊อฟฟี่จะบอกว่าประเทศไทยเราก็มีหนี้เหมือนกับคนทั่วไปนี่ละค่า~ (แน่นอนว่าประเทศอื่นๆก็มีหนี้ของเค้าด้วย) เราเลยอาจจะมองว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นอธิบายได้ด้วย Balance sheet ขนาดยักษ์ ซึ่งมีทั้งสินทรัพย์ระดับประเทศและหนี้สินระดับประเทศ คล้ายๆกับ Balance sheet ในระดับบริษัทหรือบุคคลเลย ซึ่งหนี้ระดับประเทศเรามักจะรู้จักกันในนามของ 'หนี้สาธารณะ' น้าค้า
"หนี้สาธารณะคืออะไร?"
หนี้สาธารณะ (Public debt) ก็คือหนี้ของประเทศนี่แหละค่า~ ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินของรัฐบาล โดยถ้ารัฐบาลเห็นว่า รายได้ของรัฐ (ซึ่งมักจะมาจากการเก็บภาษี หรือการทำกิจการของรัฐ) นั้นมีไม่เพียงพอต่อรายจ่ายของรัฐ (เช่น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนพัฒนาประเทศ) รัฐบาลก็อาจจะตัดสินใจสร้างหนี้โดยการกู้ยืมเงินจากหลายๆแหล่ง เพื่อหาเงินเข้าคลังเพื่อมาใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐน้าค้า อย่างล่าสุดในปี 2020 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ประมาณ 7 ล้านล้านบาทค่า~
ภาพที่ 1 สัดส่วนของหนี้สาธารณะในประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 จำแนกตามประเภท (ข้อมูลจาก https://www.pdmo.go.th/th/public-debt/debt-outstanding)
"การก่อหนี้สาธารณะก็มีความเสี่ยงเช่นกัน"
จริงๆมันก็ตาม sense เลยน้าค้า ยิ่งเรามีหนี้มากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเราเองมากเท่านั้น แต่ท๊อฟฟี่จะบอกว่าเราดูแค่ตัวเลขหนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ เราจะต้องดูตัวเลขอื่นๆประกอบด้วย ปกติเวลาเราสร้างหนี้นั้นเราก็ต้องดูศักยภาพในการสร้างรายได้ด้วยจริงมั้ยค้า? สมมติว่าเราสามารถหารายได้ได้ปีละ 1,000,0000 บาท ถ้าเราจะสร้างหนี้ขึ้นมาปีละ 500,000 บาท เราก็อาจจะไม่ต้องห่วงมาก เพราะว่าเรามีรายรับที่มากกว่ารายจ่ายนั่นเอง~ หรือเราจะหาอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับรายได้ของเรา (Debt-to-Income ratio) ก็จะเท่ากับ 500,000/1,000,000 = 0.5 หรือ 50% ซึ่งถ้าค่าดังกล่าวน้อยกว่า 1 หรือ 100% เราก็น่าจะสบายใจระดับนึงน้าค้า เพราะว่าหนี้ที่เรามีนั้นยังไม่เกินกว่ารายได้ของเรานั่นเองค่า~
ใน Scale ระดับประเทศก็เช่นกันน้าค้า หนี้สาธารณะนั้นจะเราจะมองว่าเยอะหรือน้อยนั้น เราอาจจะต้องดูศักยภาพการสร้างรายได้ของประเทศด้วย ซึ่งเรามักจะวัดจาก GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกว่าประชากรในประเทศ (ไม่ว่าจะคนท้องถิ่นหรือชาวต่างชาติ) สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศรวมกันเท่าไหร่ โดยเราจะมักจะวัดความเสี่ยงเป็นอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP หรือเรามักจะเรียกว่า Debt-to-GDP ratio ค่า~ และแน่นอนว่าค่า Debt-to-GDP ต่ำๆจะบ่งบอกถึงความเสี่ยงของประเทศที่น้อยกว่าน้าค้า
"Debt-to-GDP ratio ของประเทศไทยอยู่ที่เท่าไหร่?"
หลายคนน่าจะอยากรู้กันแล้วใช่มั้ยค้าว่า Debt-to-GDP ของประเทศไทยเราเป็นเท่าไหร่ จริงๆของเราก็ยังไม่ถึงขั้นอันตรายน้าค้า เพราะว่าค่า Debt-to-GDP เราอยู่ที่ประมาณ 40% เอง (ล่าสุดอยู่ที่ 41.44% ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563) และค่าที่ว่าก็ค่อนข้างนิ่งมาหลายปีแล้ว ซึ่งเดี๋ยวท๊อฟฟี่จะแสดงค่า Debt-to-GDP ย้อนหลังให้ดูกันน้าค้า
ภาพที่ 2 Debt-to-GDP ratio ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 1996 - 2018 (ขอบคุณข้อมูลจาก https://tradingeconomics.com/thailand/government-debt-to-gdp)
"แล้ว Debt-to-GDP ratio ของแต่ละประเทศเป็นยังไง?"
เพื่อให้เราเห็นภาพกว้างขึ้น ท๊อฟฟี่ก็จะโชว์ตัวอย่าง Debt-to-GDP ratio ของประเทศอื่นๆให้เห็นกันน้าค้าว่ามันแตกต่างจากประเทศไทยเราแค่ไหนกัน
ภาพที่ 3 ตารางแสดง Debt-to-GDP ratio ของแต่ละประเทศ (ขอบคุณข้อมูลจาก https://worldpopulationreview.com/countries/countries-by-national-debt/)
จะเห็นว่าอันดับหนึ่งก็คือประเทศญี่ปุ่นนั้นมี Debt-to-GDP ratio มากกว่า 200% เลยทีเดียว (เหตุผลมาจากนโยบายการคลังที่พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจภายในญี่ปุ่น) ซึ่งถ้าดูตัวเลขเรามองว่ามันอันตรายมากเลยทีเดียว แต่มันก็มีเหตุผลอยู่น้าค้าที่ญี่ปุ่นยังคงไม่มีปัญหาอะไรกับ Debt-to-GDP ratio ที่สูงขนาดนั้น (อย่างน้อยก็ในตอนนี้) เพราะว่าหนี้สาธารณะส่วนใหญ่กว่า 90% จะเป็นหนี้จากภายในประเทศญี่ปุ่นเอง ทำให้ญี่ปุ่นไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาจากเจ้าหนี้ต่างประเทศ และช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นก็ติดลบอยู่ ทำให้ภาระดอกเบี้ยนั้นค่อนข้างต่ำมาก ทำให้ประเทศญี่ปุ่นก็เลยดูเหมือนว่าจะสามารถยื้อค่า Debt-to-GDP ratio ที่สูงขนาดนี้อยู่ได้
แต่ในความเป็นจริงแล้วเนี่ยท๊อฟฟี่ว่าการก่อหนี้สาธารณะมันก็ไม่ได้อันตรายขนาดนั้นน้าค้า ถ้าเกิดเราสามารถนำเงินไปลงทุนแล้วสร้างรายได้ในอนาคตกลับมา เช่น นำไปลงทุนพัฒนาสาธารณูปโภค ระบบขนส่ง เป็นต้น และประเทศไทยก็มีนโยบายการคลังที่ว่าจะกำหนดกรอบ Debt-to-GDP ratio ว่าจะไม่ให้เกิน 60% อีกด้วย แปลว่า การก่อหนี้ของภาครัฐก็ยังมีการจำกัดอยู่ ดังนั้นเราก็อาจจะเบาใจได้ระดับนึงน้าค้าว่าประเทศไทยจะไม่แบกรับความเสี่ยงจากหนี้สาธารณะที่สูงเกินไปนั่นเองค่า~ (อย่างน้อยก็ในตอนนี้น้าค้า)
สุดท้ายท๊อฟฟี่ก็ต้องขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์เหล่านี้ด้วยค่า~
โฆษณา