11 เม.ย. 2020 เวลา 06:05 • ธุรกิจ
ขยะอัดแท่งดีกับโลก ?
TPI เล็งขยายโรงงานผลิตเพิ่มกลางปี 63
ขยะอัดแท่ง RDF คือ เชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel: RDF) เป็นขยะที่เผาไหม้ได้โดยการนําขยะมูลฝอยชุมชน มาผ่านกระบวนการบําบัดทางกายภาพ อาทิการคัดแยก การลดขานาด และการลดความชื้น เป็นต้น เพื่อให้ได้วัสดุที่มีค่า ความร้อน ขนาด
และคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน สะดวกต่อการขนส่ง เหมาะสมในการนําไปใช้เป็นเชื้อเพลิง หลัก หรือเชื้อเพลิงเสริมในภาคอุตสาหกรรม/ชุมชน หรือ โรงผลิตพลังงานจากขยะชุมชน หรือเตาเผาขยะ
มูลฝอยชุมชน
นายวรวิทย์ เลิศบุษศราคาม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายโรงงาน บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ (TPIPP) เปิดเผยว่า ปี 2563 บริษัทมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตเชื้อเพลิงขยะอัดแท่ง (RDF) อย่างน้อย 2 แห่ง จังหวัดนครปฐมและลพบุรี ใช้เงินลงทนประมาณ 200 ล้านบาท/แห่ง
คาดว่าจะเสร็จกลางปี 2563 ทำให้กำลังการผลิต RDF เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีอยู่เกือบ 4,000 ตัน/วัน โดยส่วนใหญ่ประมาณ 2,600 ตัน/วัน จะส่งให้กับโรงไฟฟ้าขยะของบริษัท และโรงปูนซีเมนต์ บมจ.ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) ประมาณ 1,200 ตัน/วัน จะสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทประมาณ 1,000 ล้านบาท/ปี
และในอนาคตมีโอกาสที่จะขาย RDF ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติม เพราะโรงงานหลายแห่งปรับเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงถ่านหินมาเป็น RDF เนื่องจากมีราคาถูกกว่าถ่านหินประมาณ 25% ที่ค่าความร้อนระดับเท่ากัน และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
ปัจจุบันTPIPP มีโรงงาน RDF มีทั้งหมด 6 แห่ง จังหวัดสระบุรี สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี นครราชสีมา และปทุมธานี เป็นเชื้อเพลิงป้อนโรงไฟฟ้าขยะ ทำให้ลดต้นทุนเชื้อเพลิงลงได้อย่างน้อย 20%
ในอนาคต ขยะอัดแท่ง RDF เป็นทางเลือกที่จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะชุมชน และทดแทนถ่านหิน ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีต่อสังคมโดยรวม
โฆษณา