ประวัติศาสตร์รำลึก,
#ตำหนักสมเด็จที่บน,
#ในความเรียบย่อมมีผ้าแอบยับลักษณะพิเศษ, (ตอนที่ 2)
สวัสดีครับ, วันนี้เรามาให้ “หมวกคัดสรร” ได้จัดสรรพระตำหนักที่เหมาะสมให้ข้าหลวงตัวน้อยของ BD กันต่อนะครับ, สำหรับคลิปเพลงในวันนี้ คือ เพลง “Close to You” ครับ,
1) #สำนักสมเด็จที่บน,
-คือ ตำหนักของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ พระมเหสีที่พระอิสริยยศสูงที่สุดในรัชกาลที่ 5,
-เหตุที่เรียกสำนักของพระองค์ว่า “ที่บน” อันเนื่องมาจากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ ประทับ ณ พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ที่บน” หรือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท,
-คุณลักษณะพิเศษที่ขึ้นชื่อของ สำนักสมเด็จที่บน นี้คือเรื่องการทำดอกไม้ มีฝีมือการทำงานดอกไม้อย่างปราณีต สวยงาม และแปลกใหม่ อย่างเช่น พวงมาลัยโซ่ที่ใช้คล้องคอม้าในวันเปิดพระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 โดยสำนักนี้,
รวมถึงการจัดดอกไม้บนโต๊ะอาหาร และประดับห้องเสวยเมื่อมีพระราชพิธีสำคัญ หรืองานเลี้ยงต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ จะทรงเป็นผู้ตกแต่งด้วยดอกไม้สดอย่างสวยงาม ซึ่งข้าหลวงประจำสำนักนี้มักจะเป็นลูกผู้ดีชั้นหนึ่ง มีความรู้การงานสูง การศึกษาสูง และมีลักษณะมักไว้เนื้อไว้ตัว แต่งตัวอย่างภูมิฐาน โก้และเก๋,
-เมื่อกราบทูลลาออกไปมีครอบครัวมักออกไปเป็นคุณหญิงหรือท่านผู้หญิง
โดยข้าหลวงประจำสำนักนี้มักมาจากราชนิกูลและตระกูลขุนนางสำคัญ เช่น ราชสกุลสุทัศน์, ตระกูลสุจริต, ตระกูล ณ นคร, ตระกูล ณ ระนอง, ตระกูลบุณยรัตพันธุ์ หรือ ตระกูลโชติกเสถียร เป็นต้น,
2)#ในความเรียบร้อยย่อมมีผ้าที่รีดไม่เรียบอันมีเอกลักษณ์เฉพาะ,
-เป็นที่ทราบกันดีว่า การซักรีดของราชสำนัก ขึ้นชื่อด้านการทำให้ผ้ายับสกปรก กลับมาสะอาดกลายเป็นผ้าพับเรียบร้อย ที่ส่งกลิ่นหอม ความงามและความดี ประเภทที่เรียกกันว่า “หอมติดกระดาน” ,
-แต่กระนั้นแล้ว ผ้าที่ทรงคุณค่าที่สุด อันได้แก่ “ผ้ายกทองหรือเงิน” กลับไม่สามารถรีดและพับแบบปกติได้, เวลาเก็บต้องวางลงบนผ้าขาว แล้วเอาผ้าขาววางปิดทับอีกชั้นหนึ่งแล้วนำมาม้วนกับแกนกระดาษ กลมโตแบบท่อน้ำ วางไว้ในตู้อบด้วยเครื่องหอม แยกไว้จาก “ผ้าที่พับและรีดได้ แบบทั่วไป”,
-ดังนั้น ราชสำนักจึงทำความเข้าใจในรายละเอียดของผ้าแต่ละชนิด ก่อนที่จะรังสรรค์ อุปกรณ์และวิธีการทำความสะอาด จัดเก็บ ของแต่ละผ้าแต่ละชนิด โดยไม่ฝืน ที่จะบังคับทำให้ผ้าเรียบแต่ในลักษณะเดียว,
-เช่นเดียวกัน กับคุณลักษณะพิเศษของข้าหลวงตัวน้อยหลายๆคน ที่ต้องใช้วิธีดูแล สั่งสอนด้วยความเอาใจใส่ อย่างเข้าใจ และมองผ่านความไม่เรียบร้อย แก่นกะโหลกเข้าไปถึงแก่นอันบริสุทธิ์กลางใจ เพื่อจะเจียระไนให้ข้าหลวงน้อยเหล่านั้นเติบโต มาแข็งแกร่ง และส่องสว่างอย่างเพชร แห่ง ”ตำหนักสมเด็จที่บน”,
3)#เกร็ดเพิ่มเติม,
-ถึงแม้จะเป็นสำนักที่ขึ้นชื่อในความเนี้ยบ ดุและเป็นระเบียบอย่างที่สุด, แต่วีรกรรมเด็ดๆของเด็กๆในสำนักนี้ กลับถูกบันทึกอย่างสนุกสนาน ดังเช่น,
“...การละเล่นซนของบรรดาเด็กๆที่อยู่ในอุปการะ อย่างหนึ่ง คือ เล่นเขาวงกต ซึ่งเลียนแบบจากงานในวัดเบญจมบพิตร เล่าโดยหม่อมศรีพรหมา ว่า ในคืนหนึ่งเมื่อเกิดไฟดับ เด็กก็เริ่มดำริเล่นเขาวงกต โดยเอาผ้าห่มมาผูกต่อกันเป็นผืนยาว แล้วผูกวกไปวนมาตามแบบเขาวงกต,
จากนั้น เด็กๆก็ทยอยเข้าไปในโปงผ้าที่สมมุตินั้น วิ่งวนชนกันหาทางออก พลางร้องกู่กันวู้วู้ เอ็ดตะโรดังลั่น พอเจอกันก็สนุกร้อง กรี๊ดๆ พร้อมเสียงหัวเราะสนุกสนานดังสนั่นไปทั่วพระที่นั่ง ด้วยความลืมตัว,
จนสมเด็จฯท่านสงสัย ใช้ให้ข้าหลวงลงมาดูว่าเด็กๆเป็นอะไรกัน, พอข้าหลวงมา เด็กทั้งหลาย ก็เงียบกริบอยู่ในโปง แลไม่เห็นเด็กๆ พอคล้อยหลังเด็กก็เริ่มเล่นกันอีก, คราวนี้คนที่ลงมาดูจึงล้อมจับตลบผ้าห่มหุ้มตัวเด็กได้หลายคน..”
-เพื่อนๆคิดว่า จะจับเด็กคนไหนได้มั่งครับ แน่นอนที่สุดครับ จับ”คุณบี น้องบั๊ค” ได้ทันเพราะความเป็นสุภาพบุรุษตัวน้อยที่ปล่อยให้เพื่อนๆสาวๆวิ่งหนีไป ซึ่งคุณพา และคุณหมอหนอนน๊อยซ์ วิ่งจู๊ด จับโจงกระเบนขึ้นไปนอนคลุมโปงบนที่นอนอย่างสนุกสนาน..สบอารมณ์ที่สุด, เหตุการณ์การเล่นเขาวงกตในครั้งนี้ ในบันทึกของหม่อมศรีพรหมา เล่าว่า ...สมเด็จฯทรงเพียงแต่ดุ และคาดโทษเอาไว้เพียงเท่านั้น,(อาจเพราะสายตาคู่นั้นของคุณบี ก็เป็นได้ โทษจึงทุเลาเบาบางลงขนาดนี้),
เหตุการณ์ในคืนนั้น โจษจันไปทั่วทุกตำหนัก จนข้าหลวงตัวน้อยในตำหนักฟากโน้น อย่างกู๊ดตั้งท่าจะปีนเข้ามาร่วมวงในตอนหน้า :)
สวัสดี และขอจบเพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ,
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
13/4/2020,
ภาพและข้อมูลสนับสนุนส่วนหนึ่ง: ฉัตรดาว ลีเชวงวงศ์. (2561). การเมืองในราชสำนักฝ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: มติชน, หอมติดกระดาน ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย, พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระราชนิเวศน์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, สำนักพิมพ์มติชน, 2549, เรื่องเล่าชีวิตสาวชาววัง, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ,พระราชปฏิพัทธ์ในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง-พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ,