13 เม.ย. 2020 เวลา 06:17 • การศึกษา
เคยได้ยินคำว่า มุขปาฐะ กันบ้างรึเปล่าครับ?
เชื่อว่าน่าจะไม่คุ้นหูกัน แต่ เชื่อเถอะว่าพอรู้ความหมาย แล้วจะร้องอ๋อกันทีเดียว
คำว่า มุขปาฐะ (อ่านว่า มุกขะปาถะ มีการเขียนอีกแบบว่า มุขบาฐ อ่านว่า มุกขะบาด) แปลว่า การต่อปากกันมา การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
“มุข” หมายถึงอวัยวะ 2 อย่าง คือ “ปาก” และ “หน้า” จะหมายถึงอะไรต้องสังเกตที่บริบท
“ปาฐ” แปลว่า การอ่าน, การสวด, บทสวด, ข้อความในตัวบท, ถ้อยคำในคัมภีร์
“มุขปาฐ” จึงแปลว่า “ถ้อยคำที่จำมาจากปาก”
ถ้าจะพูดว่าสังคมบ้านเราเป็นแบบ มุขปาฐะ ก็ไม่ผิดนัก
เรามีเรื่องเล่าที่ เล่าต่อกันมา ตั้งแต่อดีตกาล โดยไม่ได้มีลายลักษณ์อักษรบันทึกไว้มากมาย ที่ถูกเล่ากันจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละพื้นถิ่น ก็มีเรื่องเล่าที่แตกต่างกันไป แต่ล้วนแล้วแต่ เป็นตัวที่เชื่อมโยงความคิดและความเชื่อของคนในพื้นถิ่นนั้น
ด้วยความที่เรื่องราวเหล่านี้ ถูกส่งต่อมาตั้งแต่สมัย บรรพกาล มันจึงเปรียบเสมือนรากฐานของคนในปัจจุบันไปด้วย
คนส่วนใหญ่จึงชอบอะไรที่เป็น มุขปาฐะ
จะเห็นได้ว่าคนส่วนมากชอบรายการในลักษณะที่มีการเล่าเรื่องราว เช่น การเล่าข่าวในตอนเช้า
หรือ รายการที่ตีแผ่ความจริง รวมไปถึงนำเรื่องราวของชีวิตใครสักคนมาร้อยเรียงให้ดูให้ฟัง
หรือจะเอาให้คุ้นกันแบบจริง ๆ จัง ๆ เลยก็คือ คำว่า "เค้าบอกว่า" นี่แหละ
คือ มุขปาฐะ ที่แท้จริง
เพราะมันคือการเล่าปากต่อปาก โดยไม่ได้มีการจดบันทึกใด ๆ เป็นเพียงการเล่าจากคนหนึ่ง สู่อีกคนหนึ่งเท่านั้น
ไอ้คำว่า "เค้าบอกว่านี่" ไม่มีใครรู้หรอกนะ ว่า เค้านี่เป็นใคร ส่วนมากมา เป็นสรรพนามนี้ตลอดเลย
แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ คนส่วนมากดันเชื่อ เค้า ซะเยอะด้วยสิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร
แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าพูดกันในแง่ของจิตวิทยา มันคือเรื่องปกติ เลยก็ว่าได้ ที่คนจะชอบอะไรก็ตาม ที่เป็นการเล่าเรื่อง หรือเรื่องเล่า เพราะเราสามารถจดจำ เรื่องราวในลักษณะนี้ ได้นานกว่า การเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ นี่คงเป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่ไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ยุค กี่สมัย เรื่องราว และเรื่องเล่า ก็ยังคงเป็นที่น่าสนใจสำหรับคนเราอยู่เสมอนั่นเอง
โฆษณา