13 เม.ย. 2020 เวลา 11:29
ผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์สหรัฐ ระบายความรู้สึกเมื่อผู้ป่วยโควิดที่ใกล้สิ้นใจ ถามว่าใครจะจ่ายค่ารักษา?
มันคงเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดของ Derrick Smith ผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ (CRNA) ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องเผชิญกับประสบการณ์ที่กระทบต่อจิตใจของบุคลากรทางการแพทย์หนุ่มคนนี้ ที่เขาพยายามช่วยชีวิตผู้ป่วยจากการติดเชื้อด้วยไวรัส Covid – 19 แต่สิ่งที่คนไข้ที่ใกล้จะสิ้นลมได้พูดกับเขามันช่างสร้างความสะเทือนต่อใจไม่น้อย จนเขาต้องเขียนระบายลงเฟสบุ๊กส่วนตัว
“ ใครจะจ่ายเงินให้บ้าง”
คำพูดสุดท้ายที่ฉันจะไม่มีวันลืม // คำพูดที่ผู้ป่วยของฉันอ้าปากค้าง (ระหว่างที่พยายามหายใจอย่างหนัก) หลังจากที่ฉันและทีมของฉันอธิบายว่าเขาจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจเพื่อยื้อชีวิต จากนั้นเราก็โทรหาภรรยาของเขา เพื่อให้เขาได้พูดคุยกับเธอเป็นครั้งโอกาสสุดท้าย นั้นคือสิ่งที่เขาจะได้รับเนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากรักษาไม่หายจากโรคนี้
สถานการณ์นี้เป็นสิ่งที่แย่ที่สุดที่ฉันเคยพบเห็นในการดูแลและดมยาสลบตลอด 12 ปีของฉัน ความปวดร้าวที่ต้องได้ยินผู้ป่วยที่กำลังจะตายใช้คำพูดสุดท้ายของเขาที่กำลังกังวลเรื่องเงินค่ารักษา
ประเทศนี้ (สหรัฐ) เป็นรัฐที่ล้มเหลวอย่างแท้จริงและมันช่างน่ารังเกียจที่จะได้เห็นกับตา แย่ยิ่งกว่าสิ่งไหนๆ
“เนื่องจาก COVID-19 แพร่กระจายไปทั่วโลกขณะนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 700,000 คนใน 194 ประเทศและดินแดนจึงมีความแตกต่างที่ชัดเจนว่าประเทศต่าง ๆ มีการระบาดใหญ่ของโรคนี้ได้อย่างไร ประเทศที่มีระบบการดูแลสุขภาพที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินทั่วโลกนั้น สามารถประสานต่อการตอบสนองและการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น มันเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการชะลอการแพร่กระจายของไวรัส”
ขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนอย่างท่วมท้น / คำขอของเพื่อน ฉันสามารถเข้าถึงหรือรับรู้ได้เป็นอย่างดี
Derrick Smith, CRNA
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะให้สิทธิประชาชนสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสได้ฟรี แต่หากพบว่าต้องเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง โดยเฉพาะชาวอเมริกันที่ไม่ได้มีการทำประกันสุขภาพเอาไว้ ถือเป็นเรื่องหนัก เพราะค่ารักษาพยาบาลตลอดช่วงเวลารักษาอาการป่วยจากโควิด - 19 อาจสูงถึง 74,310 เหรียญฯ หรือราว 2,377,000 บาท และแม้ว่าจะมีการทำประกันสุขภาพและต้องการเคลม ก็อาจเคลมได้แค่ครึ่งเดียวของค่ารักษา หรือราว 1 ล้านกว่าบาท ซึ่งยังถือว่ามากเกินไปอยู่ดี เงื่อนไขนี้ยังมีวงเงินการรักษาที่แตกต่างกันไปตามแต่วงเงินคุ้มครองในกรมธรรม์อีกด้วย
ในขณะที่ประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน หากตรวจพบว่าติดเชื้อ ให้สิทธิรักษาได้ฟรีจนกระทั่งหายป่วย ซึ่งในกรณีโรงพยาบาลเอกชนก็แค่ทำตามเงื่อนไขที่กำหนด
อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกายังไม่สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้ และได้ขึ้นแท่นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 สูงสุดในโลกกว่า 5.3 แสนราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตก็แซงประเทศอิตาลีมาอยู่อันดับ 1 ด้วยจำนวนทะลุ 2 หมื่นราย โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 12 เม.ย. ที่ผ่านมามีรายงานผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ วันเดียวเกือบ 2,000 ราย
Independent, Time, CNBC
โฆษณา