13 เม.ย. 2020 เวลา 12:48 • บันเทิง
นโปเลียนโบนาปาร์ตจักรพรรดิฝรั่งเศส 10
ความพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1814 สหราชอาณาจักร รัสเซีย และออสเตรีย ได้ร่วมเป็นพันธมิตร แม้ว่านโปเลียนจะมีชัยอย่างไม่น่าเชื่อในการรบที่ ชอมโปแบร์ และ มงต์มิไรล์ ด้วยการนำทัพทหารใหม่ขาดประสบการณ์ (กองทัพมารี-หลุยส์ ที่ตั้งชื่อตามมารี-หลุยส์ แห่งออสเตรียจักรพรรดินีของนโปเลียน) กรุงปารีสถูกตีแตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และเหล่าจอมพลได้บังคับให้
นโปเลียนสละราชบัลลังก์
นโปเลียน
นโปเลียนคิดว่าฝ่ายพันธมิตรจะแยกเขาออกจากจักรพรรดินีมารี-หลุยส์ และนโปเลียนที่ 2 กษัตริย์แห่งโรม พระโอรสของพระองค์
ดังนั้น ในคืนวันที่ 12 และเช้าวันที่ 13 เมษายน นโปเลียนได้กินยาพิษไปในปริมาณที่จะปลิดชีพพระองค์เองได้ นั่นคือฝิ่นผสมกับน้ำเล็กน้อย มีคนบอกพระองค์ว่าส่วนผสมดังกล่าวมีพิษมากพอที่จะฆ่าคนได้ถึงสองคน
พระองค์เลือกที่จะฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้เพราะเชื่อว่าศพของพระองค์จะต้องถูกประจานให้คนฝรั่งเศสดู พระองค์ต้องการให้ข้าราชบริพารของพระองค์จำพระพักตร์ที่เรียบเฉยได้ เช่นเดียวกับที่เคยเห็นพระองค์ในสมรภูมิ
หลังจากผ่านพ้นเวลาเที่ยงคืนมาอย่างทุกข์ทรมาน จักรพรรดิก็บ่นว่าส่วนผสมฝิ่นของพระองค์ออกฤทธิ์ช้าเกินไป
พระองค์ได้ประกาศต่ออาร์มองด์ ออกุสตัง หลุยส์ เดอ โคลังกูร์ ว่า
"เราตายด้วยความทุกข์ทรมาน เราทุกข์ที่มีรัฐธรรมนูญที่ยืดชีวิตออกไปและทำให้ข้าจบชีพลงช้ากว่าเดิม!"
อาการคลื่นเหียนอาเจียนของนโปเลียนรุนแรงขึ้นทุกทีจนไม่อาจกลั้นอาเจียนไว้ได้อีกต่อมา จนกระทั่งอาเจียนออกมาอย่างรุนแรง พระองค์ทรงทุกข์ทรมานอย่างไม่สิ้นสุดจนกระทั่งนายแพทย์อีวองมาถึง นโปเลียนได้ขอให้แพทย์ให้ยาพิษอีกขนานเพื่อจะได้สวรรคตเสียที แต่นายแพทย์ปฏิเสธโดยกราบทูลว่าเขาไม่ใช่ฆาตรกรและเขาจะไม่ยอมทำในสิ่งที่ขัดต่อสามัญสำนึกของตนอย่างเด็ดขาด
ความทรมานของจักรพรรดิยังคงดำเนินต่อไป โคลังกูร์ ออกจากห้องและบอกให้ข้ารับใช้ส่วนพระองค์และข้าราชบริพารฝ่ายในเงียบเสียง นโปเลียนเรียกโคลังกูร์และบอกว่าพระองค์ยอมตายเสียดีกว่ายอมลงนามในสนธิสัญญา
1
ยาพิษได้คลายฤทธิ์ลง และพระองค์ก็สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ในที่สุด
ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเหตุใดองค์จักรพรรดิจึงรอดชีวิตมาได้จากการกลืนฝิ่นเข้าไปในปริมาณขนาดนั้น
ไม่กระเพาะของพระองค์ขย้อนออกมา ไม่ก็ยาพิษได้เสื่อมฤทธิ์ลงไปเอง พระองค์ต้องไปลี้ภัยที่เกาะอัลบา
ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาฟงเตนโบล ยังทรงดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิ แต่ทรงปกครองได้เฉพาะบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้เท่านั้น
สิ้นชีพตักษัย โดยไม่เห็นหน้ากัน
2
ขณะที่จักรพรรดินโปเลียนทรงโลดแล่นไปตามกระแสวิบากแห่งชีวิต หลังจากครองราชย์มาสิบปี ช่วง ค.ศ. 1814 ที่พระองค์พ่ายแพ้ต่อกองกำลังพันธมิตร แล้วถูกจับเทรเทศไปอยู่ที่เกาะเอลบา ทางตอนใต้ใกล้อิตาลี พระนางโฌเซฟีนยังคงใช้ชีวิตตามปรกติที่ตำหนักมาเมลซอง ชีวิตแต่ละวันพระนางมีความสุขอยู่กับมวลดอกกุหลาบ ดอกไม้ที่พระนางรักตามชื่อเดิมคือโรซ ปราสาทมาเมลซองกลายเป็นสวนกุหลาบที่สวยที่สุด เป็นสถานที่รวมพันธุ์กุหลาบที่ดีที่สุดในยุโรป มีคณะนักพฤกษศาสตร์ที่ดีที่สุดของยุโรป ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากพระนางโฌเซฟีน พัฒนาพันธุ์กุหลาบอย่างยอดเยี่ยม พระนางเองก็ทรงมีความรู้ในเรื่องนี้ถึงกับเขียนตำรากุหลาบหลายเล่ม
ในวันหนึ่ง พระนางโฌเซฟีนทรงพาพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ แห่งรัสเซียเดินชมสวนดอกกุหลาบเป็นเวลานาน อาจเพราะทรงสวมอาภรณ์ที่บางท่ามกลางอากาศหนาวเย็นชื้นของฤดูฝน ทำให้พระองค์ล้มป่วยเป็นโรคปอดบวม เพียง 4 วันที่อาการทรุดลงไปเรื่อย ในวันที่ 29 มิ.ย. ค.ศ. 1814 พระนางโฌเซฟีนก็สิ้นชีพตักษัย ด้วยพระชนม์ 51 พรรษา ผู้ที่อยู่เคียงข้างพระนางตลอดคือ ออร์ด็องส์ บุตรชายคนโต
จักรพรรดินโปเลียนทรงทราบข่าวการจากไปของพระนางโฌเซฟีน จากหนังสือพิมพ์ที่เกาะเอลบา ทรงโศกสลดคร่ำครวญถึงหญิงผู้เป็นยอดรัก ปิดห้องโดยไม่เสวยอะไร ไม่ให้ใครเจอหน้าอยู่สองวัน พระองค์ได้ทรงกล่าวกับคนสนิทในครั้งนั้นว่า ''ข้ารักโฌเซฟีนอย่างสุดหัวใจ หากไม่อาจยกย่องนางเท่ากับที่ข้ารักนางได้''
กล่าวกันว่า เมื่อครั้งจักรพรรดิ
นโปเลียนหนีออกมาจากเกาะเอลบา สถานที่ที่พระองค์มุ่งมาเมื่อถึงแผ่นดินฝรั่งเศส คือตำหนักมาเมลซอง ด้วยพระองค์ทรงคิดถึงพระนางโฌเซฟีนอย่างที่สุด สิ่งที่พระองค์ถวิลหาก็ได้แต่เพียงกลิ่นอบร่ำของดอกไวโอเล็ตในห้องบรรทม ที่เป็นกลิ่นโปรดประจำตัวของพระนางโฌเซฟีน ที่จะพรมพระองค์ด้วยกลิ่นหอมนี้ตลอด จักรพรรดินโปเลียนได้เก็บดอกไวโอเล็ตที่ตำหนักมาเมลซองใส่ไว้ในตลับล็อกเก็ต และสิ่งนั้นก็อยู่แนบพระอุระตราบจนวันสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ
ร่างของพระนางโฌเซฟีนฝังในสุสานโบสต์แซงต์ ปิแอร์ แซงต์ ปอล แต่ผู้คนภายหลังมักคิดว่า อยู่ที่ตำหนักมาเมลซอง เพราะมีอนุสาวรีย์ของพระองค์ใกล้สวนกุหลาบอันงดงามอยู่ที่นั่น ประวัติชีวิตของพระนางโฌเซฟีนมีประมาณนี้ แต่วิถีชีวิตอันเข้มข้น และโรแมนติของจักรพรรดินโปเลียนยังมีต่ออีกบทหนึ่ง
1
ความพ่ายแพ้แห่งชีวิต
วิถีชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าคนธรรมดาหรือจอมจักรพรรดิ ไม่อาจจะอยู่บนจุดสูงสุดได้ตลอดกาล ต้องมีวันที่พบวิบากกรรม ดั่งกงล้อชะตากรรมที่หมุนขึ้นสูงสุดก็ต้องหมุนต่ำลงมา พระจักรพรรดินโปเลียน ที่ 1 ก็อยู่ในกฎชะตากรรมนี้เช่นกัน
หลังจากปกครองฝรั่งเศสมานานสิบปี และได้สร้างประโยชน์คุณูปการให้กับประเทศ กระนั้นนโยบายของพระองค์ที่ส่งเสริมการทำสงครามอยู่ตลอดเวลา เพื่อขยายอาณาจักรและแสดงความเกรียงไกรที่จะยึดครองยุโรปเป็นหนึ่งเดียว และการปราบอังกฤษให้ราบคาบ ทำให้ยิ่งนานวันกับกลายเป็นการบีบคั้นพระองค์เอง จากชัยชนะในยุคแรกๆ กองทัพฝรั่งเศสก็พ่ายแพ้มาเรื่อยๆ
1
ที่มาของข้อมูล http://th.wikipedia.org
Cr.บันทึกประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หอสมุดแห่งชาติ
โฆษณา