14 เม.ย. 2020 เวลา 02:09 • ความคิดเห็น
ประเทศจีนก็มี IO เหมือนกันนะจ๊ะ 💻🇨🇳
ที่ไทยแลนด์ มีสิ่งที่เรียกว่า Information Operation (IO) หรือ ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร ที่มีจุดประสงค์เพื่อโจมตีและทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งก็มีทั้งการทำโฆษณาชวนเชื่อที่แยบยล รวมไปถึงการบิดเบือนข้อมูลเพื่อยุยงปลุกปั่น
แน่นอนว่าฝ่ายที่จะสามารถทำ IO ได้เหนือกว่า ก็คือฝ่ายที่เป็นรัฐบาล เพราะมีงบประมาณที่มากกว่า อีกทั้งยังคุมสื่ออยู่ในมือ
ปฏิบัติการ IO ที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุดในไทย ก็คือการทำสงครามข่าวสารในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่นเว็บไซต์ Pulony.blogspot.com ที่จัดตั้งขึ้นโดยกอ.รมน.
จีนแผ่นดินใหญ่ 🇨🇳 มีสิ่งที่เรียกว่า ปฏิบัติการ 五毛 [อู่เหมา] ที่แปลว่า 50 เซนต์💰
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือแอคเคาท์อวตารในเน็ตที่ถูกจ้างมาด้วยเงิน 0.5 หยวน/โพสต์ โดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อปกป้องพรรคคอมมิวนิสต์ และคอยรบรากับฝ่ายตรงข้ามในโลกโซเชียล
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด พบว่าในทุก ๆ ปี ไอโอจีนจะโพสต์ข้อความลงในโซเชียลมีเดียวประมาณ 448 ล้านโพสต์ โดย 52.7% พบได้ตามเว็บไซต์ของรัฐ
ในทุก ๆ 178 โพสต์ในโลกออนไลน์ จะมี 1 โพสต์ที่ถูกชักใยโดยรัฐบาลจีน
เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทุกอย่าง นักวิจัยเชื่อว่าไอโอจีนน่าจะมีตัวตนจริง ๆ มากกว่าจะเป็นแค่บ็อทอัตโนมัติ เนื่องจากทุก ๆ ข้อความที่พวกเขาเขียนลงในโซเชียลมีเดีย ล้วนมีจุดประสงค์เฉพาะเจาะจง ชัดเจนว่ามาจากการชี้นำของรัฐบาล
🌪 ไอโอจีนจะขยันโพสต์เป็นพิเศษในช่วงวันสำคัญ 🌪
▪️ วันเชงเม้ง
มีมากกว่า 18,000 โพสต์เกี่ยวกับความเสียสละของเหล่าบรรดาทหารผ่านศึก
▪️ เหตุการณ์จลาจล ณ เขตช่านช่าน 26 มิถุนายน 2013
มี 1,100 โพสต์ที่ตามมาหลังเกิดเหตุการณ์ซึ่งมีพลเมืองเสียชีวิต 22 ราย
ช่วงเวลา 18.30 นาฬิกา เขตจางก้งได้ส่งอีเมลล์ถึงตัวเอง (และอาจจะ bcc ถึงหลายหน่วยงาน) ระบุเกี่ยวกับข้อความที่ไอโอจีนโพสต์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น พยายามชี้นำให้ทุกคนมองว่าเป็นเหตุการณ์ก่อการร้าย
เวลา 20.00 นาฬิกาในวันเดียวกัน เขตจางก้งส่งอีเมลถึงเมืองก้านโจวเพื่อรายงานเกี่ยวกับการสร้างโพสต์ของไอโอจีนนับร้อยเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจต่อเหตุจราจลที่เกิดขึ้น เช่น โพสต์ถึง “แนวคิดความฝันจีน” ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง หรือโพสต์เกี่ยวกับการพัฒนาของเศรษฐกิจท้องถิ่น
ไอโอจีนจะแอคทิฟเป็นพิเศษในช่วงวันสำคัญ
อ่านหมวดหมู่หลัก ๆ ในการทำงานของไอโอจีน
ที่หน้า 34 : Appendix A
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการดิสเครดิตต่างชาติ, แก้ต่างให้รัฐบาล, สรรเสริญพรรคคอมฯ
ตัวอย่างการคอมเม้นต์ของไอโอจีนที่พบเห็นได้บ่อย
ถ้าอยากเห็นไอโอจีนแบบง่ายที่สุด ลองเข้าไปดูเฟซบุ๊ก/ทวิตเตอร์ ของประธานาธิบดีไต้หวันไช่อิงเหวิน
แม้ว่าเธอจะโพสต์ข้อความหรือวิดีโออะไรลงไป ก็มักจะมีแอคเคาท์ชาวจีนที่แหก VPN มาถล่มเธอด้วยข้อความหมิ่นเกียรติเหยียดหยาม ทั้ง ๆ ที่ไช่อิงเหวินไม่เคยใช้ถ้อยคำหยาบคายเลย
ลองดูโพสต์นี้ 👉🏻 https://bit.ly/2wBiiCb
ขนาดไช่อิงเหวินพูดดีมาก ๆ เกี่ยวกับการเรียกร้องให้นานาชาติร่วมมือกันเพื่อต่อกรกับโรคระบาด แต่มันยังก็มีแอคเคาท์อวตารที่มีคนติดตามหลักสิบ มาโพสต์ด่าและโพสต์ภาพตัดต่อของเธอในบริบทที่ดูไม่ดีเต็มไปหมด 😒😒
ทั้งนี้ก็เพราะไช่อิงเหวินมีจุดยืนชัดเจนในการต่อต้าน "นโยบายจีนเดียว” นั่นเอง
โฆษณา