13 เม.ย. 2020 เวลา 16:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การตรวจหาสารเสพติดมีวิธีอะไรบ้าง??
ทุกๆคนเคยสงสัยกันมั้ยคะว่าการตรวจหาสารเสพติดพวกยาอี ยาบ้า เฮโรอีน โคเคน หรือสารเสพติดทั้งหลายแหล่ สามารถตรวจหาได้อย่างไร เรื่องเล่าของปลาวาฬขอนำเสนอ 2 วิธีค่ะ
1.การตรวจหาสารเสพติดจากปัสสาวะ
วิธีนี้เป็นวิธียอดฮิต ติดเทรนของพวกคุณตำรวจเลยค่ะ เพราะเป็นวิธีที่ง่าย รู้ผลไว โดยเมื่อสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง และจะถูกขับออกทางปัสสาวะ สารเสพติดที่อยู่ในปัสสาวะจะอยู่นานหรือไม่ จะขึ้นกับประเภทของยา น้ำหนักของผู้เสพ ปริมาณที่เสพ ความถี่ของการใช้งาน ความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะ
ขอขอบคุณที่มาของภาพค่ะ
การตรวจหาสารเสพติดมีอยู่ 2 ขั้นตอนค่ะ
1.การตรวจคัดกรองขั้นต้น ขั้นนี้จะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสารชนิดใด สามารถตรวจได้แค่ว่ามีสารเสพติดในร่างกายรึป่าว โดยการตรวจคัดตอนขั้นต้นมี 2 หลักการด้วยกันค่ะ
- หลักการทางคัลเลอร์เทสต์ (Color test) เป็นการตรวจแบบแสดงผลเป็นสี อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า "ฉี่ม่วงๆๆ" นั่นเองค่า
ขอบคุณภาพจาก https://e-org.e-tech.ac.th/e-org/depart/addictive_substance/index.php?option=com_content&view=article&id=63:-color-test&catid=2004:-color-test&Itemid=65
- หลักการทางอิมมูโนแอสเสย์ (Immunoassay) แบ่งเป็นที่ต้องใช้เครื่องอัตโนมัติในการตรวจ และใช้ชุดตรวจสำเร็จรูป (Test kits) ซึ่งจะแสดงผลเป็น บวก (positive) และ ลบ(Negative)
2.การตรวจยืนยัน (Confirmation Test) โดยใช้หลักการโครมาโตรกราฟฟี (Chromatography) ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจขั้นสูง สามารถตรวจพบสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยได้และสามารถแยกชนิด ระบุประเภทของสารเสพติดได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ทั้งนี้หลักการโครมาโตรกราฟฟี (Chromatography) ยังสามารถแบ่งได้อีก 6 ประเภทดังนี้ค่ะ
1.Thin Layer Chomotogrophy (TLC Technique) เป็นการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารระหว่างกระบวนการแยกสารในขั้นตอนต่างๆ ใช้ในการยืนยันชนิดของสาร
2.Gas Chromatography(GC Technique) เป็นการตรวจสอบหาองค์ประกอบของสารอินทรีย์ 2 ประเภท คือ สารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย และ สารอินทรีย์ที่ระเหยได้บางส่วน โดยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะวิเคราะห์ได้รวดเร็วและมีความจำเพาะต่อสาร ใช้ได้กับตัวอย่างที่เป็นทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
3.Gas Chromatographic-Mass spectrometry (GC-MS Technique: GC-MS, GC-MS/MS) ใช้วิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของสารในสภาวะแก๊ส มีความแม่นยำสูงมาก
4. Liquid Chromatography (LC Technique) เป็นการแยกสารและตรวจวิเคราะห์เชิงปริมาณ ใช้ได้กับตัวอย่างที่เป็นของเหลวค่ะ
5. Liquid Chromatographic-Mass spectrometry (LC-MS Technique: LC-MS, LC-MS/MS) เป็นเทคนิคชั้นสูงที่มีการแยกสารที่ซับซ้อน โดยจะถูกทำให้บริสุทธิ์ก่อนค่ะ
6. LC-QTOF
2.การตรวจหาสารเสพติดจากเส้นผม
เป็นวิธีการตรวจหาสารเสพติดวิธีใหม่ ที่ให้ความแม่นยำสูง วิธีนี้มีข้อดีอย่างมากเลยคือ สามารถตรวจสอบการใช้สารเสพติดย้อนหลับได้หลายเดือน ขึ้นกับความยาวของเส้นผม โดยเส้นผมของคนเรายาวเดือนประมาณ 1 เซนติเมตร แต่มีข้อเสียคือ ต้นทุนในการตรวจสูง ใช้เวลาในการตรวจหานาน และไม่สามารถตรวจพบสารเสพติดในผู้ที่เพิ่งเริ่มเสพได้
ที่มาของภาพ : http://www.ragina-thailand.com/article/3/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A1
โฆษณา