14 เม.ย. 2020 เวลา 04:00
รู้หรือไม่? โรมันก็มีตำแหน่ง Dictator ที่แปลว่า “เผด็จการ” (ละติน : Magister populi) ในปัจจุบันซึ่งมักมีความหมายเป็นการปกครองในแง่ลบ แต่ในยุคนั้นไม่ได้มีความหมายในเชิงติดลบ และเป็นตำแหน่งที่ชอบธรรมด้วยกฎหมาย และถือว่ามีเกียรติ เพราะได้รับการแต่งตั้งจากวุฒิสมาชิก โดยให้วุฒิสมาชิกเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมให้เข้ามาคัดเลือกแต่งตั้งเข้ามา
ในสมัยโรมันยุคสาธารณรัฐ (Roman Republic) 509–27 BC ซึ่งปกครองโดยรัฐสภา ที่แต่งตั้งกงสุลมาดำเนินงานฝ่ายบริหารเป็นประจำทุก 1 ปี เพื่อไม่ให้กงสุลกุมอำนาจเด็ดขาด โดยมีสภา Senate และสภา Tribune คอยคานอำนาจด้วยการออกเสียงขัดค้าน (Veto) นโยบายของกงสุลได้ เพราะฉะนั้นอำนาจในมือของผู้ปกครองสาธารณรัฐไม่ได้มีอย่างเด็ดขาด (Absolute power) เสมอไป แต่ครั้นถ้าหากเกิดสงคราม หรือสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นมานั้น จะปกครองรัฐในภาวะนั้นด้วยระบบคานอำนาจแบบนี้คงเป็นไปได้ไม่สะดวก จึงแต่งตั้งตำแหน่งพิเศษด้วยอำนาจของวุฒิสมาชิก หรือที่ชื่อว่า “Dictator”
Dictator เป็นตำแหน่งทางการเมืองที่เป็นการมอบอำนาจสูงสุดในการบริหาร และอำนาจสั่งการกองทัพสาธารณรัฐ ซึ่งภาวะปกติจะมีกงศุล 2 คน คอยคานอำนาจด้วยกันอยู่ จึงยากที่จะรวมอำนาจทั้งการเมือง และการทหารมาอยู่ในมือบุคคลเดียวกัน แต่ในภาวะฉุกเฉิน สภาจะแต่งตั้งตำแหน่ง Dictator หรือก็คือ “ผู้ชี้ขาด” ขึ้นมารวบอำนาจกงสุล หรือก็คือลดกงศุลเหลือคนเดียวแล้วมอบอำนาจสูงสุด (Imperium magnum) แก่ Dictator เพียงผู้เดียว แต่ระบบสาธารณรัฐก็จะไม่ให้เกิดเสียการคานอำนาจได้เด็จขาด เลยตั้งกฎให้อำนาจของ Dictator อยู่ได้เพียงแค่ 6 เดือน เท่านั้น
แต่ถึงกระนั้น หลักการคานอำนาจของโรมันก็เสื่อมลง เมื่อเกิดเหตุการณ์สงครามอนารยชนครั้งแรก หลังจากที่โรมันพิชิตดินแดนรอบเมดิเตอร์เรเนียนหมดแล้วในปีที่ 113 BC ทำให้โรมต้องเผชิญกับศัตรูใหม่ๆ มากขึ้น เช่นอนารยชนชาวเยอรมัน ในสงครามครั้งแรกกับชาวอารยชนทำให้โรมต้องพลาดท่าหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้สภาซีเนทต้องวุ่นวายในการหาคนขึ้นมารับตำแหน่งกงศูลและคุมกองทัพ ในระยะเวลานั้นได้มีแม่ทัพโรมันนายหนึ่งนามว่า Gaius Marius (157 – 86 BC.) โดดเด่นขึ้นมาจากการปราบคนเถื่อนที่กำลังรุกเข้าเทือกเขา Alps จึงได้รับการถูกเสนอชื่อเข้ามาเป็นกงสุลในปีที่ 107 BC จากนั้นถึงได้รับการเสนอชื่อจากวุฒิสมาชิกให้ได้รับตำแหน่งของ Dictator ในเวลาต่อมาเพื่อปราบคนเถื่อน
แต่หลังจากจบสงครามกับอนารยชน Marius ทำให้ชาวโรมันนั้นนิยมชมชอบกับผู้ชี้ขาดคนนี้มาก และทำให้สภาโรมันนั้นได้แก้กฎใหม่ให้ตำแหน่งกงศุลอยู่ต่อได้ติดต่อกันหลายวาระ ซึ่งเมื่อก่อนห้ามมีดำรงตำแหน่งติดต่อกัน ทำให้ Marius ได้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันหลายวาระ ซึ่งนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากลายเป็นว่า Marius ได้วางรากฐานอำนาจนิยมแบบเผด็จการแก่สาธารณะโรมันขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งภายหลังยุคนี้ก็ค่อยๆ เข้าจุดเสื่อมคอยของระบบสาธารณรัฐขึ้นเรื่อยๆ จนถึงยุคของ จูเลียส ซีซาร์ ที่แทบจะกลายเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง Dictator ตลอดชีวิต
@แอดแมน
โฆษณา