19 เม.ย. 2020 เวลา 01:27 • ปรัชญา
“คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย”
📖 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
ได้ให้ความหมายของสุภาษิตไทยนี้ว่า
📖 คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย
หมายถึง คนเดียวทำอะไรอาจเป็นอันตรายได้
ถ้ามีเพื่อนร่วมคิด ร่วมปรึกษาจะดีขึ้น
สำนวนนี้ใช้ในการเปรียบเทียบถึงการทำในสิ่งใด
หากมีเพื่อนช่วยคิด ช่วยทำ จะเกิดความหลากหลายมากกว่าการคิดและทำเพียงคนเดียว
คนเดียว หมายถึง ตัวเราเพียงลำพัง
แล้วสองคน หมายถึงใคร...
คน ๆ นั้น สามารถเป็นใครก็ได้ จำนวนกี่คนก็ได้
ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว คนรัก เพื่อน พี่ น้อง อาจารย์
ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา หรือแม้กระทั่งคนที่ไม่รู้จักก็ตาม
ชายที่ประสบความสำเร็จในชีวิตหลายคน
มักมีผู้หญิงซึ่งก็คือ ภรรยา คอยให้กำลังใจ
และสนับสนุนอยู่เบื้องหลังเสมอ
หลายชีวิตผ่านนาทีวิกฤติการฆ่าตัวตาย
ด้วยการเปิดใจยอมรับการช่วยเหลือจากคนที่ไม่รู้จัก ให้โอกาสคนอื่นได้ช่วยเหลือเขา โดยการโทรเข้าไปเล่าถึงเรื่องราวและปัญหาของตนเองที่สายด่วนคลายทุกข์ “สะมาริตันส์” ทำให้เขาเหล่านั้นสามารถผ่านช่วงเวลาแย่ๆ นั้นไปได้
💡🧠 ปัญหาในชีวิตของคนเราส่วนใหญ่แก้ไขได้เพราะมีคนอื่นหรือมีเหตุการณ์อื่น เป็นปัจจัยสำคัญที่
เข้ามาเปลี่ยนแปลงความคิดหรือวิธีการในการ
แก้ปัญหาของเรา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมด้วยกันทั้งสิ้น
💡🧠 ความคิดของคนเราจะเติบโตและพัฒนายิ่งขึ้น
หากมีการเชื่อมโยงกับความคิดของผู้อื่น
เรื่องราวของชายหนุ่มพเนจร กับ สามพี่น้องนี้
จะทำให้คุณเข้าใจถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงความคิดกับผู้อื่นและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาก
ยิ่งขึ้น
👨‍🦱 ชายผู้หนึ่งขี่หลังอูฐ พเนจรข้ามทะเลทรายมาทั้งวัน
ตกเย็นขณะดวงอาทิตย์กำลังลับเหลี่ยมเขา
เมื่อมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หยุดพักอูฐ
แล้วเอ่ยปากขอน้ำดื่มจากชาวบ้านแถวนั้น
...
...
👦🏻 “ด้วยความยินดีครับ” ชายหนุ่มในหมู่บ้านคนหนึ่ง ยืนแก้วน้ำให้
...
...
👨‍🦱 ชายหนุ่มดื่มน้ำจนหมดแล้วพูดว่า “ต้องขอบคุณท่านเป็นอย่างมาก มีอะไรที่ข้าพอจะตอบแทนได้บ้างก่อนที่ข้าจะไปต่อ”
...
...
👦🏻 “มีครับ ที่บ้านข้ากำลังมีเรื่องทะเลาะกัน
ข้าเป็นคนอายุน้อยที่สุด ในจำนวน 3 คนพี่น้อง
พ่อของเราเพิ่งตายไปเมื่อเร็วๆ นี้ ทิ้งไว้แต่อูฐ
ฝูงเล็กๆ จำนวน 17 ตัว พ่อระบุพินัยกรรมว่า
🐫 อูฐครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดเป็นของพี่ชายคนโต
🐫 หนึ่งในสามเป็นของพี่ชายคนรอง
🐫 และหนึ่งในเก้าเป็นของข้า
ทำยังไงเราจึงจะสามารถแบ่งอูฐให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ พวกเราไม่อาจตัดใจแล่เนื้อมาแบ่งกัน หากมันยังเป็นๆ จะมีประโยชน์ต่อพวกเรามากกว่า”
...
...
👨‍🦱 “พาข้าไปยังบ้านของท่าน” ชายหนุ่มบอก
เมื่อไปถึงบ้าน ชายหนุ่มก็มองเห็นพี่ชายสองคนและแม่กำลังนั่งโต้เถียงกัน น้องคนสุดท้องเข้าไปขัดจังหวะพร้อมกับแนะนำชายแปลกหน้าให้รู้จัก
👨‍🦱 “ข้าคิดว่า ข้าสามารถช่วยท่านได้ ข้าขอมอบอูฐให้ท่านเป็นของขวัญจากข้า”
...
...
ทุกคนในครอบครัวแสดงการขอบคุณ
👨‍🦱 “คราวนี้พวกท่านมีอูฐอยู่ 18 ตัวแล้ว
🐫 ครึ่งหนึ่งของทั้งหมดคือ 9 ตัว
ให้เป็นของพี่ชายคนโต
🐫 หนึ่งในสามของอูฐคือ 6 ตัว
ให้เป็นของพี่ชายคนรอง
🐫 และหนึ่งในเก้า ก็เป็นของท่านลูกชายคนเล็ก
นี่ไงของท่าน 2 ตัว”
...
...
👦🏻 “รวมแล้วยังไงก็ได้ 17 ตัวอยู่ดี จะเป็นครึ่งหนึ่ง
หนึ่งในสามหรือหนึ่งในเก้าได้ยังไง ชายหนุ่มคนสุดท้องแย้ง
...
...
👨‍🦱 “ใช่ ถูกต้อง แต่อูฐอีกตัวหนึ่ง ก็ที่ข้ามอบให้ท่านไง มันก็เป็นอูฐ 18 ตัวแล้ว แต่หากไม่ลำบากเกินไป
ข้าขอคืนแล้วกัน เพื่อจะใช้เดินทางต่อ”
...
...
👨‍🦱🐫 ชายหนุ่มพเนจร ได้ออกเดินทางต่อพร้อมกับอูฐตัวเดิมและสามพี่น้องสามารถแบ่งอูฐตามที่พินัยกรรมของพ่อระบุไว้ได้สำเร็จ
ชายหนุ่มพเนจรได้รับน้ำดื่ม จากการช่วยเหลือของลูกชายคนเล็กของครอบครัวนั้น ครอบครัวนั้นได้รับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเรื่องอูฐจากชายหนุ่มพเนจร
เป็นการตอบแทน ต่างคนก็ต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ปัญหาที่สามพี่น้อง แก้ไขไม่ได้ กล้บแก้ได้ง่าย
เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากชายแปลกหน้า
🌟 ปัญหาบางปัญหาที่หาวิธีแก้ไขด้วยตัวเองไม่ได้
กลับแก้ได้ง่ายขึ้นเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
🌟 หากพิจารณาเรื่องนี้เป็นคติธรรมสอนใจ
“อูฐ” ที่ชายพเนจรยกให้ครอบครัวสามพี่น้องนั้น
ก็เปรียบเสมือนกับ การให้ “สิ่งดีงามทั้งหลาย” แก่ผู้อื่น
เป็นการให้ที่ต่างฝ่ายก็ต่างได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่
คนรับได้รับสิ่งดีงามนั้น ผู้ให้ก็ยังคงมีสิ่งดีงามนั้นอยู่
บางสิ่ง . . . ให้แล้ว . . . ก็หมดไป
บางสิ่ง . . . ให้แล้ว . . . ไม่เคยหมด
บางสิ่ง . . . ยิ่งให้ . . . กลับยิ่งได้รับ
แต่จงอย่าเพลิดเพลินไปกับการได้รับ จากผู้อื่นอยู่เสมอ
จนหลงลืมที่จะพึ่งพาตนเองเป็นพื้นฐานเสียก่อน
. . . . . . . . หากตนไม่เป็นที่พึ่งแห่งตนเสียก่อน . . . . . . .
. . . . . . . . . . .ใครไหนเล่าจะช่วยท่านได้ . . . . . . . . . .
✍️ ปล. ความรู้เพิ่มเติมนอกบทความ
จากเรื่องหนุ่มพเนจรกับสามพี่น้อง เกี่ยวกับข้องกับระบบการทำงานสมองและภาษาในด้านการพัฒนาศักยภาพบุคคล
...
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนมีสามารถในการสร้างแผนที่ให้กับระบบความคิดและการทำงานของระบบประสาทใหม่ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
...
ระบบความคิด จิตใจ ร่างกาย และอารมณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการใช้เครื่องมือด้านภาษาและถ้อยคำ และส่งผลให้ร่างกายสามารถสร้างความจริงที่แตกต่างให้ปรากฏขึ้นจนกลายเป็นคนใหม่ได้ไม่ยาก
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ❤️💚
#กระเรียนน้อย
Reference:
- หนังสือ Neuro Linguistic Programming
ดร. วิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์
- ขอบคุณภาพจาก pexels

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา