14 เม.ย. 2020 เวลา 13:16 • สุขภาพ
.. 👩🏻⚕️ใครที่สงสัยว่าแพทย์โรงพยาบาลรัฐ ได้ค่าตรวจเยี่ยมเคสต่อการตรวจ 1 ครั้งเท่าไร..?
💢คำตอบคือ.. ไม่ได้ค่ะ !!!
DF หรือ Doctor Fee = Doctor Free ค่ะ 😱
[ ปล. บทความนี้ไม่ได้ดราม่าว่าคุณหมอมีรายได้น้อยนะคะ เนิ้ตแค่อยากให้ทุกคนรับรู้ว่าคุณหมอหลายท่านมีจิตใจที่ดีงามกว่าที่หลายคนเคยรู้ค่ะ ]
เพิ่งถ่ายมาวันนี้ค่ะ ขอปิดรายละเอียดที่ไม่ควรเปิดเผยนะคะ 😊
.. เนิ้ตเคยสงสัยมากค่ะว่า เวลาคุณหมอมาตรวจคนไข้ในแต่ละวัน และวันละหลายๆครั้งเนี่ย คุณหมอได้ค่าตรวจต่อครั้งหรือเปล่า แล้วได้เท่าไร
.. ยิ่งโรงพยาบาลที่เนิ้ตทำงานอยู่ตอนนี้เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับตติยภูมิ ขึ้นชื่อว่าโรงพยาบาลที่เตียงไม่เคยเต็ม (เต็มแล้วก็จัดเปลแทรก เปลเสริม ล้นออกมาจนถึงหน้าลิฟต์ ยาวไปตลอดทางเดินหน้าวอร์ด) และมีแพทย์เฉพาะทางเกือบทุกด้าน (Excellence center) อีกด้วย
.. คนไข้ที่มีโรคประจำตัวไม่ว่าจะชุดใหญ่หรือชุดเล็ก และคนไข้ multiple trauma คือคนไข้ที่ใช้บริการคุณหมอคุ้มมากๆค่ะ เพราะจะมีการ consult แพทย์เฉพาะทางแต่ละด้านมาดูแลร่วมกัน เรียกว่า ใน 1 วันจะมีแพทย์เฉพาะทางแวะเวียนกันมาเยี่ยมเคสมากกว่าวันละ 2-3 ครั้ง บางวันก็เวียนกันมาทั้งวันค่ะ
😊✨
.. มันทำให้เนิ้ตได้คิดขึ้นมาว่า ทำงานกันหนักขนาดนี้ คุณหมอเขาได้ค่าตอบแทนต่อการเยี่ยมเคสแต่ละครั้งเท่าไรน้า.. ถ้าคูณจำนวนต่อการตรวจแต่ละครั้งเข้าไปคงเป็นมหาเศรษฐีกันทุกคน
ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย ไม่กล้าถามหรอกค่ะ 5555
.. และแล้ววันนี้ความสงสัยของเนิ้ตก็ได้รับความกระจ่างสักที 😁✨
... เนิ้ตเคยทำบทความเกี่ยวกับบัตรทองไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วนะคะว่า คนไข้ที่มาด้วยเหตุอื่นๆนอกเหนือจากอุบัติเหตุจราจรจะสามารถใช้สิทธิการรักษาบัตรทองได้ค่ะ นั่นคือจ่ายค่ารักษาแค่ 30 บาท จะสามารถเข้ารับการรักษาแบบครอบจักรวาลมาก (วัยรุ่นอย่างเนิ้ตเรียกว่า Everything jingle bell 😆)
... ส่วนในกรณีที่มาด้วยอุบัติเหตุจราจร ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนหรือแม้แต่ข้าราชการก็ต้องใช้สิทธิการรักษา พ.ร.บ.เท่านั้นค่ะ ยกเว้นแต่คนไข้รายนั้นมีประกันสังคมของโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาอยู่จึงจะสามารถทดแทน พ.ร.บ.ได้ แต่เมื่อครบวงเงิน พ.ร.บ. แล้ว ก็จะตัดไปใช้สิทธิ์บัตรทองเหมือนกรณีทั่วๆไปค่ะ
และนี่คือความ(โคตร)โชคดีของคนไทย ที่หลายๆคนด่าหมอและพยาบาลกันหนักหนา
(แหม.. ขออภัยค่ะ แอบมีอารมณ์บางอย่างขึ้นมา 😂)
แล้วคนที่ไม่ต่อ พ.ร.บ. แต่นำรถมาใช้ล่ะคะ?
✔️ถูกต้องนะคร้าบบบ.. ชำระเงินเองค่าาา (เรื่องนี้จะโทษใครก็ไม่ได้ เพราะคุณไม่ทำตามกฎเองก็ต้องยอมรับในผลที่จะตามมานะคะ 😊)
.. วกกลับมาว่าวันนี้ความจริงถูกเปิดเผยอย่างไร ?
.. คนไข้รายหนึ่งมาด้วยอุบัติเหตุจราจรค่ะ แต่ไม่ได้ทำการต่อ พ.ร.บ. จึงต้องทำการชำระค่ารักษาเพื่อนำผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
.. เนิ้ตได้ประสานงานให้ญาติ ติดต่อชำระค่ารักษา ที่แผนกการเงินของโรงพยาบาลค่ะ ปรากฏว่า ยอดที่ญาติได้ไปชำระค่ารักษานั้น ไม่ตรงตามยอดค่ารักษาที่คิดไว้ คือถูกกว่ายอดจริง 50 บาทค่ะ
.. เนื้อรู้สึกสงสัยจึงได้โทรถามแผนกการเงิน เขาจึงได้แจ้งว่ายอดที่หายไป 50 บาทนั้น เป็นยอดของ Doctor Fee ค่ะ
✨✨✨✨
.. และเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เนิ้ตได้รู้ความจริง 2 ข้อคือ
💉1. การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยนับครั้งไม่ถ้วนและให้การรักษาแบบ Everything jingle bell ที่เนิ้ตชอบเรียกนั้น คุณหมอได้ค่า Doctor Fee แบบเหมาจ่ายเพียง 50 บาทต่อเคสค่ะ (ได้ข้าว 1 จานพอดี แค่นี้หมอก็รอดแล้วเนอะ 555555)
💉2. และค่า Doctor Fee จำนวน 50 บาทนั้น คุณหมอสามารถทำให้เป็นค่า Doctor Free ได้ค่ะ และคุณหมอก็มักจะทำแบบนั้นเสมอ
🙏🏻 ขอบคุณแทนคนไข้ทุกคนด้วยนะคะหมอ หมอโคตรเท่เลยค่ะ ใจหมอหล่อและสวยมากจริงๆ
💗 นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราควรรักหมอ และทำไมเราควรรู้สึกโชคดีมากๆที่ได้เกิดเป็นคนไทยค่ะ
เพราะคนไทยไม่เคยทิ้งกัน
#เนิ้ต #พยาบาลวิชาชีพอิสระ💉
💢หมายเหตุท้ายบทความ
💉ค่ารักษาที่ดูจะราคาสูงหน่อยก็คือ..
- การตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา
ในที่นี้ เช่น การทำ CT scan MRI การเอกซเรย์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการค่ะ ซึ่งบางส่วนเป็นของเอกชน และบางส่วนต้องใช้งบประมาณในการตรวจรักษาค่ะ เนิ้ตว่าราคาสมเหตุสมผลนะไม่แพงแน่นอนเมื่อเทียบกับสิ่งที่คนไข้ได้รับค่ะ
✨✨✨✨
- ค่าบริการการพยาบาลทั่วไป(IPD)
นี่คือ Everything jingle bell อย่างแท้จริงค่ะ ส่วนนี้รวมค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอะไรต่อมิอะไรที่คนไข้ได้รับตั้งแต่ตื่นนอนจนนอนหลับไปในแต่ละวันค่ะ ดังนั้นเนิ้ตลงความเห็นว่า(โคตร)ถูกแล้วแน่นอน
💉และที่ยังไม่ได้กล่าวถึงคือ....
ค่า Nurse Fee ค่ะ ที่ไม่ได้กล่าวถึงเพราะไม่มีแน่นอนนั่นเอง 5555555
คำว่าเงินเดือนหมื่นห้า ทำงานห้าหมื่นนั้นมีจริง
💗💗💗💗💗
เป็นทุกอย่างให้คุณแล้ว ยกเว้นแฟนนะคะ 😜
ฝันดีค่ะทุกคนนนนนนน 💤
โฆษณา