16 เม.ย. 2020 เวลา 05:34 • ธุรกิจ
แจ๊คผู้ให้กำเนิด Twitter แอพที่สร้างรายได้หลักแสนล้าน
แจ็ค แพทริก ดอร์ซี่ (Jack Patrick Dorsey)
อัจฉริยะผู้ให้กำเนิด Twitter
แจ็คชื่นชอบเว็บไซต์ ซึ่งแสดงแผนที่ของเมืองมาก เขาจึงเริ่มเรียนเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง
เมื่ออายุ 14 ปี เขาก็เริ่มฝึกเขียนโปรแกรม และตอนอายุ 15 ปี เขาก็สามารถเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ สำหรับธุรกิจแท็กซี่ได้สำเร็จ
หลังจากนั้น แจ็คมีโอกาสไปฝึกงานกับบริษัท Mira Smart Conferencing
ซึ่งทําให้เขาได้พบกับคนเขียนโปรแกรมเก่งๆ หลายคน
ช่วงที่ Jack ฝึกงานกับบริษัทนี้ เขาได้พูดคุยกับ จิม แมคเคลวีย์ หัวหน้างาน
เป็นเหตุให้จิมเห็นพลังแฝงบางอย่างในตัว Jack ที่เต็มไปด้วยความสามารถทางด้านโปรแกรมมิ่ง
หลังจบการศึกษาระดับมัธยม แจ็คเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก แต่สุดท้าย เขาก็ตัดสินใจลาออก
เหตุผลเพราะแจ็คเชื่อว่า “การทํางานจริงๆ น่าจะมีประโยชน์มากกว่า การนั่งเรียนจากตํารา”
1
นั่นคือก้าวแรกของแจ็ค ที่เข้าสู่โลกแห่งการทำงานจริงๆ
แจ็คจึงเดินหน้าไปสมัครงาน ที่บริษัท Dispatch Management Services
แต่…..แจ็คฉลาดกว่าคนทั่วไปมาก เขาไม่ได้ไปยื่นเอกสารสมัครงานแบบธรรมดาทั่วไป แต่วิธีของเขาเจ๋งนั้นกว่าเยอะ
แจ็คสมัครงานด้วยการแฮกฐานข้อมูลบริษัทนี้ และร่างวิธีการอุดรอยรั่ว แล้วส่งอีเมลตรงไปหาผู้จัดการของบริษัทนี้
ทำให้ผู้จัดการของบริษัท ทึ่งในความสามารถเขา จึงได้เข้าทำงานที่บริษัท DMSC
แต่แล้วเมื่อเข้าสู่ยุคฟองสบู่ดอทคอม บริษัทได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จนทำให้ Jack ตกงานในที่สุด
เขากลายเป็นฟรีแลนซ์ที่ได้แต่รับงานเล็กๆ น้อยๆ ถึง 5 ปี
ครั้งหนึ่งแจ็คเคยเปิดบริษัทชื่อว่า ดีเน็ต ซึ่งเป็นเว็บไซต์สําหรับสั่งซื้อของออนไลน์ แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอดอยู่ดี ความจริงแล้วไอเดียนี้เป็นแนวคิดที่ดี เพียงแต่มันเกิดขึ้นเร็วไป ถ้าบริษัทดีเน็ตเกิดช้ากว่านี้ อะมาซอนคงมีคู่แข่งที่น่ากลัว
จุดเริ่มต้นของการสร้าง Twitter
Jack ถูกว่าจ้างให้เข้าทำงานที่บริษัท Odeo ซึ่งเป็นธุรกิจด้าน Podcast เป็นคอนเทนส์ในรูปแบบของเสียงไม่มีภาพ
บริษัทนี้ถูกก่อตั้งโดย อีแวน วิลเลียมส์ อดีตเจ้าของ Blogger แพลตฟอร์มบทความออนไลน์ ปัจจุบัน Blogger ถูกซื้อกิจการโดย Google แล้ว
แจ็คได้งานประจําใหม่อีกครั้ง แต่แนวคิดการทําพอดแคสต์กลับไม่ฮิต แถมคนใช้งานก็น้อย แม้กระทั้งพนักงานในบริษัทยังไม่อยากใช้งานเสียด้วยซ้ำ
ทุกอย่างยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ เมื่อบริษัทแอปเปิลของสตีฟ จอบส์ เปิดตัวไอพอดรุ่นใหม่และยังเพิ่มบริการพอดแคสต์ลงในไอทูนส์ด้วย เมื่อยักษ์ใหญ่เดิมเกมแล้ว มันจึงเหมือนจุดจบของ Odeo ทันที
อีแวน วิลเลียมส์ ผู้ก่อตั้ง Odeo ถึงกลับถอดใจแล้ว เขาจึง “จัดประลองไอเดีย” ในหมู่พนักงานขึ้นมา เพื่อเป็นการต่อสู้เฮือกสุดท้าย
ก่อนที่บริษัทจะปิดตัวลง
เมื่ออีแวนจัดการประลองไอเดียขึ้น แจ็คจึงนําแนวคิดที่มีมาปัดฝุ่นทันที
มันคือสุดยอดไอเดียเกี่ยวกับการอัพเดทสเตตัสบนโลกออนไลน์ แน่นอนผู้ชนะก็คือ ทวิตเตอร์ (Twitter) ของแจ็คนั่นเอง
กําเนิดเจ้านกสีฟ้า Twitter ทีมผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 4 คน นั่นคือ
1)แจ็ค ดอร์ซี่
2) อีแวน วิลเลี่ยม,
3) บิซ สโตน
4) โนอาห์ กลาส
โดยเริ่มแรก ทวิตเตอร์คือบริการส่งข้อความ เป็นตัวอักษรไม่เกิน 140 ตัว ให้กับเพื่อนๆที่ติดตามเรา
และอัพเดทเรื่องราวต่างๆ ไปพร้อมกัน
ซึ่งการทวีตครั้งแรกของโลกก็เกิดขึ้นในปี 2006 จากฝีมือของแจ็คเอง
หลังจาก Twitter เปิดตัวไม่ถึงหนึ่งเดือน
1
Jack ได้รับจดหมายเชิญ ไปทานข้าวกับผู้ใช้งานTwitterรายหนึ่ง
เขามีชื่อว่าชื่อ เฟร็ด วิลสัน (Fred Wilson) ซึ่งเป็นนักลงทุนที่เคยลงทุนในเว็บไซต์ชื่อดังมาแล้วมากมาย
เขามอบเงินลงทุนราวกว่า 500,000 ดอลลาร์ ให้ทวิตเตอร์ตั้งเป็นบริษัท โดยเขาจะเข้ามาช่วยเหลือด้านการบริหาร
เจ้านกสีฟ้าติดปีกโบยบินแล้ว โดยมีแจ็ค ดอร์ซี่ รับหน้าที่เป็น CEO
ร่วงหล่นจากบัลลังก์
เมื่อกระแสนิยมของสมาร์ทโฟนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งช่วยติดปีกให้บินสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทวิตเตอร์ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว
ทวิตเตอร์ กลายเป็นช่องทางในการสื่อสารของตัวเองกับแฟนคลับ ไม่ว่าจะเป็นดารานักร้อง และสื่อต่างๆ
สถานการณ์ภายนอกทุกอย่างดูดี แต่ภายในกลับมีปัญหา ในด้านบริหารแล้ว แจ็คยังเป็นได้แค่ CEO อ่อนหัด
เขาบริหารทวิตเตอร์ได้ไม่ค่อยดีนัก
แจ็คก็ถูกกดดันจากบอร์ดบริหาร ด้วยการปลดเขาออกจากตําแหน่ง CEO
เหตุผล Jack ถูกมองว่ายังเป็นเด็ก และขาดประสบการ์ในการเป็นผู้นำ และคนที่เข้ามารับหน้าที่แทนแจ็คก็คือ อีแวน วิลเลียม 1 ใน 4 ผู้ก่อตั้งทวีตเตอร์
แจ็คได้กลับไปบ้านเกิด ซึ่งเขาก็ได้เจอกับหัวหน้าเก่าสมัยยังเป็นเด็กฝึกงานอย่างจิม แมคเคลวีย์ ระหว่างที่แจ็คและจิม แลกเปลี่ยนเรื่องราวระหว่างกัน จู่ๆ แจ็คก็เกิดไอเดีย ในการสร้างแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Square ขึ้นมา
แรงบันดาลใจ ในการสร้างบริษัท Square ของ Jack ก็เพราะ…. Jim เล่าว่าไม่สามารถขายก๊อกน้ำ และอุปกรณ์ในราคา 2,000 ดอลลาร์ได้
เพียงเพราะ ไม่สามารถรับบัตรเครดิตจากลูกค้าได้ สแควร์เปิดตัวครั้งแรกในปี 2010 และถือเป็นอีกไอเดียหนึ่ง ซึ่งปฏิวัติวงการการเงินของโลก ช่วยแก้ปัญหาโดยการรับชําระเงิน ด้วยบัตรเครดิตผ่านสมาร์ทโฟน
สแควร์เป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วมาก ถึงขั้น CEO ของสตาร์บัคส์ก็เข้ามาร่วมลงทุนด้วย การได้จับมือกับร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ยิ่งช่วยให้สแควร์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นไปอีก
หลังจากอีแวน วิลเลียม ก้าวขึ้นมาเป็น CEO ของทวิตเตอร์แทนแจ็ค บริษัทก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนเขาเริ่มรับมือกับความใหญ่ของมันไม่ไหว เลยขอลาออกจากตําแหน่ง และแต่งตั้งคนอื่นเข้ามารับหน้าที่แทนและสุดท้ายก็ขาดผู้นำ
แจ็คจึงถูกแต่งตั้งให้กลับมารับตําแหน่งเป็น CEO ชั่วคราว เพื่อรอสรรหาตัว CEO ที่เหมาะสมต่อไป
แต่คราวนี้ แจ็คไม่ใช่คนไร้ประสบการณ์หรือ CEO อ่อนหัดอีกแล้ว แม้เขาต้องบริหารสแควร์ควบคู่ไปด้วย
แต่เขาก็ทําหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยม
สุดท้ายแล้ว ก็ไม่มีใครเหมาะสมกับตําแหน่ง CEO ของทวิตเตอร์มากกว่าแจ็คอยู่ดี
1
จากนั้นเจ้านกสีฟ้าก็โบยบินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ในปี 2018 บริษัทได้ทํากําไรเป็นครั้งแรก หลังจากก่อตั้งมานานถึง 11 ปี และแนวโน้มตัวเลขกําไรก็มีแต่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ทุกวันนี้แจ็ค เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลก
การบริหาร Twitter ของ Jack เขาไม่ได้เลือกที่จะเข้าซื้อกิจการต่างๆ เหมือนกับ Facebook ที่ซื้อ Whatsapp และ Instagram มาเป็นของตัวเอง
แต่ Jack ตัดสินใจหันกลับมาพัฒนาแพลตฟอร์ม Twitter อย่างจริงจัง โดยเน้นไปที่ การถ่ายทอดสดกิจกรรม หรือ Live Event โดยแบ่งเป็นหมวดอย่างชัดเจน
และนี่เป็นหนึ่งตัวอย่างของบทเรียน เราสามารถเรียนรู้ได้ ตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงก้าวที่ยิ่งใหญ่ของเขาได้
แจ๊ค ผู้ให้กำเนิด Twitter
9richer ก้าวที่ดีขึ้น
อย่าลืมเข้าไปติดตาม
ช่อง 9richer Officail
Page :9richer
โฆษณา