17 เม.ย. 2020 เวลา 07:37 • ประวัติศาสตร์
ทำไม จีวร ไม่ใช้ผ้าผืนเดียว ทำไมต้องเย็บต่อกันเป็น ตาราง จีวรเรียกได้ทั้ง ผ้าเหลือง ผ้าจีวร หรือ ผ้า กาสาวพัสตร์ (แปลว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด)
ไตรจีวร คือ ผ้าจีวร ๓ ผืน คนไทยเรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร
ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อ ๆ กัน ไม่เป็น
ระเบียบ หรือบางครั้งภิกษุบางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูก
ลักขโมยบ่อยครั้ง เนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาล
จนต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตร นาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่ เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา
ลายคันนา ที่มีมาตั้งแต่ สมัย พุทธกาล
การตัดเย็บ แบบนี้ ออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัย ปิฎก ว่า
"อานนท์ เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง 4 แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่? ... เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?"
พระอานนท์ตอบว่า "สามารถ พระพุทธเจ้าข้า."
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ กลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า
"ขอพระผู้มีพระภาคจงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า."
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่ง ถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง ...จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ"
บางวัดได้ผ้า สีสันสดใสเกินไป ก็ทำการ ย้อมเอง
สีที่ใช้ย้อม แบบ สำเร็จรูป ที่นิยมคือ สีมังคุด และ แก่นขนุน
หรือ จะทำสี จากเปลือกมังคุดเอง ก็ทำได้ โดยการ ตำ และ กรองน้ำออก
อุปกรณ์ และ เครื่องมือ ในการย้อมผ้าจีวร
บางวัด ก็สาธิต วิธีการ ย้อมผ้า ให้สามเณรชม
บางวัด ก็พร้อมใจ ร่วมกัน ย้อมจีวร และ เครื่องนุ่งห่ม โดยสามัคคี
ย้อมเสร็จ ก็นำมาตากให้แห้ง แล้ว ใช้ได้เลย
โฆษณา